ไม้สูง ( ไม้ป่า – ไม้ใช้สอย )

ไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamina)

ปลูกเป็นไม้ประธานในสวน ริมทางเดิน ในสวนสาธารณะ หรือปลูกลงกระถางก็ได้ ทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี แต่ถ้าปลูกในที่แห้งแล้ง ใบจะร่วงมาก

วิธีการปลูกไม้ป่าและการดูแลหลังการปลูก

ข้อคำนึงถึงเบื้องต้นในกรณีที่พื้นที่เตรียมการปลูกเป็นดินเหนียวจัดควรเอาน้ำรดให้ชุ่มเสียก่อนเพื่อให้ขุดง่ายเบาแรงขึ้นดินที่ขุดขึ้นควรใช้ปูนขาวหรือสารเคมีปรับปรุงดินบางชนิด

ประดู่แดง (Phyllocarpus septentrionalis Donn. Smith)

ไม้ต้น สูง 10-20 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างกิ่งลู่ลง ผลัดใบ เปลือกสีน้ำตาลอ่อน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีเรือน ยอดแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปกว้าง ออกดอกราวๆ เดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม แต่ดอกจะอยู่ไม่ทนนัก

ไผ่นางฟ้า (dendrocalamus ninor amoenus)

ลำต้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.25 นิ้ว ใบ ใบใหญ่สีเขียวเข้มเป็นมันเงา ความสูงเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สูงได้ถึง 10 เมตร ความกว้างทรงพุ่มเมื่อโตเต็มที่ 4-6 เมตร

พฤกษ์ (Albizia lebbeck (L.) Benth.)

ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 10 – 25 เมตร เรือนยอดรูปร่มแผ่กว้าง
เปลือก สีเทาเข้มหรือน้ำตาลอม เหลืองขรุขระ และแตกเป็นร่องตามยาว

บาก หรือ กระบาก,ตะบาก,กระบากขาว,กระบากโคก,กระบากช่อ,กระบากด้าง,กระบากดำ,กระบากแดง,ชอวาตาผ่อ,ประดิก,พนอง,หมีดังว่า (Anisoptera Costata)

ลำต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบระยะสั้น ลำต้นเปลาตรง มีพูพอนต่ำๆเปลือกสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดหนา
ใบ เดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปรี รูปไข่กลับถึงรูปขอบขนาน กว้าง 6-8 ซม. ยาว 6-16 ซม. ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งสั้นๆ

โพ, โพธิ์ สลี (Ficus religiosa Linn)

เปลือกต้น ทำยาชงหรือยาต้ม แก้โรคหนองใน ใบและยอดอ่อนแก้โรคผิวหนัง ผลเป็นยาระบาย ไม้ต้น สูง 20 – 30 เมตร เปลือก ต้นสีน้ำตาลเทา มียางสีขาว ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจกว้าง 8 – 15 เซนติเมตร ยาว 12 – 24 เซนติเมตร

ยมหอม (Toona ciliata M. Roem)

ต้น ไม้ต้นสูงได้ถึง 35 เมตร โตเร็ว ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ เปลือกหนา สีเทาปนดำ แตกเป็นร่องลึก ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ช่อใบยาว 25-70 เซนติเมตร ใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก

สะเดา สะเดาบ้าน (Azadirachta indica A. Juss.)

ใบ มีสีเขียวเข้มหนาทึบ ออกเป็นช่อแบบขนนก ยาว 15-40 เซนติเมตรมีใบย่อย 4-7 คู่ ขอบใบหยักเล็กน้อยหรือเกือบเรียบการเรียงตัวของใบแบบสลับ ใบย่อยเรียงตัวแบบตรงกันข้าม ในพื้นที่ที่แล้งจัด จะทิ้งใบเฉพาะส่วนล่างๆ ประมาณเดือนมกราคม

มะริด ( Diospyros blancoi)

ต้นมะริดที่โตเต็มที่จะสูงได้ถึง 20 เมตร เนื้อไม้เหนียวมาก แต่มีลวดลายสวยมาก เปลือกไม้เป็นสีน้ำตาลปนดำ แต่ส่วนของเนื้อด้านในจะดำผสมชมพู ผิวหน้าใบมีความมันเงา เป็นสีเขียวอมเหลืองเล็กน้อย

เทพทาโร (Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kostern)

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม เรียงเวียนสลับ รูปรีแกมรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยง ท้องใบมีนวลขาวอมเทา ใบแก่อายุมากมีสีแดง เส้นใบหลัก 1 เส้น เส้นใบข้างโค้ง 3-7 คู่ นูนขึ้นทั้งสองด้าน ปลายใบแหลม

ส้มป่อย (Acacia concinna (Willd.) DC.)

“ส้มป่อย” เป็นพืชยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่ม ลักษณะลำต้นเลื้อยหาที่ยึดเกาะขึ้นไปตามกิ่งไม้ แต่ไม่มีมือจับ เถาของส้มป่อยจะแข็งแรงมาก สามารถเลื้อยไปตามต้นไม้อื่นได้สูงถึง 6-7 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล เถาอ่อนสีน้ำตาลแดงมีขนกำมะหยี่หรือขนสั้นหนานุ่มอยู่ทั่วต้นกิ่งก้านมีหนามแหลมสั้นๆ

ไม้จันทน์หอม (Mansonia gagei J.R. Drummond)

เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลเข้ม เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว แม้จะเป็นไม้สด

ทองหลาง (Erythrina variegata Linn.)

ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง
ใบ เป็นใบประกอบแบบรูปขนนก มี 3 ใบย่อย ใบกลางจะโตกว่า 2 ใบข้าง เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบสีเหลือง

รายชื่อไม้มงคลพระราชทาน ไม้ประจำจังหวัดในประเทศไทยทั้ง 77 จังหวัด

1 กระบี่ ทุ้งฟ้า 2 กรุงเทพมหานคร ไทรย้อยใบแหลม 3 กาญจนบุรี ขานาง 4 กาฬสินธุ์ มะหาด 5 กำแพงเพชร สีเสียดแก่น 6 ขอนแก่น กัลปพฤกษ์ 7 จันทบุรี จัน 8 ฉะเชิงเทรา อะราง 9 ชลบุรี ประดู่ป่า 10 ชัยนาท มะตูม

ตาเสือ หรือ เลาหาง , ขมิ้นดง , เซ่ , เย็นดง , ตาปู่ , มะยมหางถ่าน , ตุ้มดง , มะฮังถ่าน ( Aphanamixis polystachya (Wall.) R.Parker )

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร ไม่ผลัดใบ เปลือกเรียบ สีชมพูอมเทา มีรากหายใจรูปคล้ายหมุด ยาว 30-50 ซม. จากผิวดิน หนาแน่นบริเวณโคนต้น กิ่งอ่อนมีขนสีเทา

ต้นผึ้ง หรือ ต้นยวนผึ้ง (Koompassia Excelsa Taub.)

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นชลูด เปลาตรง สูงถึง 50 เมตร โคนต้นเป็นพูพอน สูง เปลือกเรียบ
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว หูใบเล็กมาก ยาว 2-4 มิลลิเมตร ใบย่อยมี 7-11 ใบ

มะค่าแต้ หรือ มะค่าหยุมมะค่าหนาม,แต้,มะค่าหนามมะค่าแต้มะค่าลิง,กอกก้อ,กอเก๊าะก้าเกาะ,กรอก๊อส,แต้หนาม (Sindora Siamensis)

ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ เปลือกเรียบสีเทาคล้ำกิ่งอ่อนมีขนคลุมบาง ๆ เรือนยอดแผ่ทรงเจดีย์ต่ำ

เทียม หรือ สะเดาเทียม, สะเดาช้าง (Azadirachta Excelsa.)

ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 20-30 ม. ขนาดทรงพุ่ม 10-15 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มกลม ค่อนข้างแน่น เปลือกต้นสีนํ้าตาลอมแดงหรือเทา

ไผ่ยักษ์น่าน (Dendrocalamus Giganteus)

ลำไผ่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีผิวเรียบเป็นมันและไม่มีขนโดยขนาดของลำไผ่ยักษ์น่านที่โตเต็มวัยสามารถโตได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12-16 นิ้ว

ประ หรือ กระ (Pterocarpus Macrocarpus)

เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ สูง 20-40 เมตร เปลือกมียางเหนียว
ใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ใบเป็นรูปรี ฐานใบมน กิ่งแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย เมื่อแตกใบอ่อนจะมีสีชมพูแดง

กระพี้นางนวล หรือ กระพี้,กระพี้จั่น,กระพี้นางนวล,กระพี้เหลือง,กระพี้พูน,กระพี้เหลือบ,กระลิงปิงป่า,เค็ด ขาว,จักจั่น,บี้พง,ปิ้จั่น,อิเม็งใบเล็ก,ประดู่ตาเหลน (Dalbergia Cana Graham Ex Kurz Var. Cana.)

ชื่อ – ชนิด พันธุ์ กระพี้นางนวล หรือ กระพี้,กระพี้จั่น,กระพี้นางนวล,กระพี้เหลือง,กระพี้พูน,กระพี้เหลือบ,กระลิงปิงป่า,เค็ด ขาว,จักจั่น,บี้พง,ปิ้จั่น,อิเม็งใบเล็ก,ประดู่ตาเหลน   ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia Cana Graham Ex Kurz Var. Cana.   ประวัติ พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,000 เมตร   รูปร่าง รูปทรง ( ต้น   ใบ ดอก ผล ) ไม้ต้น สูง 10-30 เมตร  ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงแบบสลับ ก้านใบยาว 2-3.5 เซนติเมตร มีขนกำมะหยี่หนาแน่น ใบย่อย 17-27 ใบ เรียงสลับ รูปหอกแกมรี ยาว 3-7 เซนติเมตร กว้าง 1.5-2.5…