ชื่อ – ชนิด พันธุ์
ไทรย้อยใบแหลม
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ficus benjamina
ประวัติ
มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย อินเดีย และภูมิภาคมาเลเซีย จัดเป็นไม้ยืนต้นหรือพุ่มไม้ผลัดใบขนาดกลาง
รูปร่าง รูปทรง ( ต้น ราก ใบ ดอก ผล )
- ลำต้น: สูง 5-10 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว มีทรงพุ่มแผ่กว้าง
- ใบ: ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบหนาเป็นมัน
- ดอก: ช่อดอกออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศ ขนาดเล็ก
- ผล: ผลกลม เมื่อแก่เป็นสีแดงเข้ม
ความสูงเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่
- สูง 5-10 เมตร
ความกว้างทรงพุ่มเมื่อโตเต็มที่
- 8-10 เมตร
ความต้องการแสง
- ชอบแสงแดด 75%
ความต้องการน้ำ
- ปานกลาง ทนน้ำท่วม ทุกๆ 1-2 สัปดาห์
ชอบดินประเภท
- ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี
ประโยชน์การใช้สอย
- ปลูกเป็นไม้ประธานในสวน ริมทางเดิน ในสวนสาธารณะ หรือปลูกลงกระถางก็ได้ ทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี แต่ถ้าปลูกในที่แห้งแล้ง ใบจะร่วงมาก ต้นที่ได้จากการปักชำกิ่งหรือเสียบยอดจะแตกพุ่มใหม่ได้แน่น ไทรย้อยใบแหลมมีประสิทธิภาพสูงในการดูดซับมลพิษในอากาศ โดยเฉพาะสารพิษประเภทฟอร์มาลดีไฮด์
สรรพคุณของไทรย้อย
- รากไทรย้อยมีสรรพคุณเป็นยาแก้กาฬโลหิต (รากอากาศ)
- รากอากาศมีสรรพคุณบำรุงโลหิต แก้ตกโลหิต (รากอากาศ)
- รากใช้เป็นยาแก้กระษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม ปวดเมื่อย โลหิตจาง) (รากอากาศ)
- รากนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาบำรุงน้ำนมให้สมบูรณ์ (รากอากาศ)
- ช่วยแก้อาการท้องเสีย (รากอากาศ)
- ใช้เป็นยาขับพยาธิ (รากอากาศ)
- ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ขับปัสสาวะให้คล่อง แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะมีสีต่าง ๆ (รากอากาศ)
- ช่วยแก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะที่มีปัสสาวะขุ่นข้นเป็นสีเหลืองหรือแดง และมักมีอาการแน่นท้อง รับประทานไม่ได้ร่วมด้วย) (รากอากาศ)
- ช่วยแก้อาการอักเสบหรือลดการติดเชื้อ เช่น ฝีหรือรอยฟกช้ำ (รากอากาศ)
- ตำรายาไทยจะใช้รากไทรย้อยใน “พิกัดตรีธารทิพย์” (ประกอบไปด้วยรากไทรย้อย รากราชพฤกษ์ และรากมะขามเทศ) มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงน้ำนม แก้กษัย แก้ท้องร่วง ช่วยฆ่าเชื้อคุดทะราด (รากอากาศ)
การขยายพันธุ์
- ขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือปักช้า
คลิกเพิ่มเพื่อน! แจ้งเตือนบทความใหม่ก่อนใคร ฟรี!!
ดูข้อมูลเพิ่มเติม