บทที่ 6 : การดูแลมารดาและทารกในระยะหลังคลอด
1. ในระยะ 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
เมื่อกระบวนการคลอดสิ้นสุดลง รกและถุงน้ำคร่ำได้เกิดออกมาเสร็จแล้ว ในระยะ 1-2 ชั่วโมงแรกของการคลอดนี้ อาจมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นผลเนื่องมาจากการคลอดเกิดขึ้นอย่างกะทันหันได้ เพราะผู้คลอดย่อมเหน็ดเหนื่อยและเสียกำลังเป็นอย่างมากในการคลอด ส่วนมดลูกก็ทำงานหนักเป็นเวลานานอาจหมดแรงหรือไม่สามารถทำงานต่อไปตามปกติได้ หรืออาจมีการฉีกขาดของช่องคลอดอีกด้วย
- มดลูกระยะนี้หมดสิ่งที่กีดขวางแล้วจึงหดรัดตัวเล็กลงเป็นก้อนแข็ง คลำดูที่หน้าท้องจะพบได้ง่ายการหดรัดตัวลงนี้จะดำเนินไปเป็นพักๆ อีก แต่ระยะนี้การพักจะสั้นกว่าเดิม ผู้คลอดจึงรู้สึกเจ็บท้องเป็นพักๆ โดยเฉพาะรายที่เคยคลอดมาแล้ว แต่ผู้ที่คลอดเป็นครั้งแรกอาจรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยหรือไม่รู้สึกเลย
- การเจ็บท้องในระยะนี้เป็นการแสดงออกที่ดี เพราะมดลูกทำงานอยู่เสมอ การหดรัดตัวของมดลูกในระยะนี้ทำให้หลอดเลือดที่ผนังมดลูกตรงที่รกเคยเกาะอยู่นั้น ซึ่งมื่อรกหลุดไปหลอดเลือดจึงขาดและเปิดอยู่กลับถูกบีบให้ตีบและแฟบลงหลอดเลือดจึงตันโดยเลือดที่ค้างอยู่ในหลอดเลือดแข็งตัวเป็นก้อน เป็นลิ่มจุกอยู่ กับที่มดลูกคลายตัวกลับหดรัดตัวเล็กลง ผลักดันให้เลือดที่ไหลซึมออกจากกผนังตรงที่รกเคยเกาะ และค้างอยู่ในโพรงมดลูกให้ออกมาจากโพรงมดลูก และในไม่ช้าเลือดที่ไหลซึมออกก็จะหยุดได้และกลายเป็นน้ำคาวปลาต่อไป
การช่วยมารดาเมื่อคลอดบุตรแล้ว
- เมื่อทารกคลอดแล้วรกยังไม่ออกมา เวลานั้นควรให้มารดารับประทานยาควินินกับแอสไพรินอย่างละ 1 เม็ด
- แล้วจึงคลึงมดลูก โดยเอามือกุมหน้าท้องมารดา แล้วคลึงให้มดลูกหดตัวจนแข็ง แล้วให้มารดานอนหงายตั้งขางอเข่า ให้เอาหมอนหนุนตรงเอวพอสบาย แล้วให้นอนเฉยๆ เพื่อให้รกหลุดออกมาเอง และเพื่อให้มารดาได้พักผ่อนด้วย พักอยู่ประมาณ 25 นาที ( ถ้ารกยังไม่ออกต้องนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน )
- เมื่อรกออกมาแล้วรีบให้มารดารับประทานยาประสะไพล เพื่อขับน้ำคาวปลา แล้วคลึงมดลูกดังกล่าวข้างต้น แล้วให้มารดาเหยียดขาออกไปทั้งสองข้างคลึงเร่งมดลูกให้เหี่ยวเล็กลงจนแข็ง
- แล้วจัดการเอาน้ำยาฆ่าเชื้อโรคล้างปากช่องคลอดและระหว่างขาให้เลือดที่เปื้อนอยู่หมดไป จึงผลัดผ้านุ่งใหม่
- ขณะนี้ห้ามมารดาลุกขึ้นนั่งเป็นอันขาด อาจจะเป็นลมล้มสลบหรืออาจตายได้ และอาจเป็นเหตุให้มดลูกเคลื่อนออกมาภายนอกได้เพราะเส้นเอ็นที่เหนี่ยวรั้งมดลูกหย่อนยานมาก
- เมื่อผลัดผ้านุ่งมารดาแล้ว จึงใช้ผ้าพันท้องมารดา และให้รับประทานยาขับน้ำคาวปลาแล้ววางกระเป๋าน้ำร้อนที่หน้าท้องให้อุ่นพอสมควร
- ส่วนบาดแผลนั้น ถ้ามีขาดประมาณ 2 ซม.ขึ้นไปควรนำส่งโรงพยาบาล
- ถ้ามีน้อยกว่า 1 ซม.ไม่ต้องเย็บ ใช้วิธีชำระล้างวันละ 2 หน ต้องใช้ด่างทับทิมละลายน้ำอุ่นล้างทุกจุด แล้วซับให้แห้งใช้ยาผงโรยจนกว่าแผลจะหาย
การปฎิบัติตัวระหว่างอยู่ไฟ
- คลอดบุตรวันแรกแล้ว ให้รับประทานยาขับน้ำคาวปลาทุก 3 ชม. / ครั้ง
- วันที่ 2 ให้รับประทาน 3 ครั้ง / วัน
- วันที่ 3-4 ให้รับประทานเช้าและเย็น
- วันที่ 5 ให้รับประทาน 1 ครั้ง / วัน
- เมื่อหยุดรับประทานยาขับน้ำคาวปลาแล้ว ให้รับประทานน้ำเกลือที่ชื่อ โซดาไฮซัลเฟต ต่อไปอีก 6 สัปดาห์ วันละ 2 ครั้ง
- ส่วนยาควินินนั้น ให้รับประทานมื้อละ 1 เม็ด ตั้งแต่วันแรกคลอดตอนเช้าและกลางคืนจนครบ 5 วัน
- ถ้าวันใดน้ำคาวปลาไม่เดิน คนไข้มีอากการไม่สบาย หนักคิ้ว ปวดศีรษะ ควรให้รับประทานยาควินินอีกตามความเห็นของผู้เขียน เห็นว่า ควรจะให้ยาขับน้ำคาวปลาตั้งแต่แรกคลอด วันละ 3 ครั้ง เพื่อขับน้ำคาวปลาและแก้ไข้ แก้อักเสบไปในตัว พร้อมกับยาประสะน้ำนมไปพร้อมกัน
- ในการรับประทานยาเพื่อขับน้ำคาวปลาออกแล้วใส่ความร้อนที่หน้าท้องน้อย น้ำคาวปลาก็จะออกมา ช่วยทำให้สบาย ถ้าน้ำคาวปลาออกแล้วรู้สึกรำคราญไม่สบายก็ควรล้างช่องคลอดด้วยน้ำอุ่นผสมด่างทับทิม เช้า – เย็น
- เมื่อคลอดบุตรได้ 3 วันแล้วยังไม่ถ่ายอุจจาระ ให้รับประทานน้ำมันละหุ่ง 1 ช้อนโต๊ะ การรัดท้องคนอยู่ไฟนั้น ให้ทำสักสิบวันแล้วจึงเลิก ใช้ความร้อนอุ่นๆ ทับตรงมดลูกเสมอ
การช่วยทารกคลอดแล้ว
- เมื่อทารกคลอดแล้ว ให้ควักเลือดที่ในจมูกและในปากออกโดยใช้ผ้าพันนิ้ว
- ถ้าทารกไม่หายใจให้เอามือกดที่หน้าท้องทารกเบาๆ และกระตุ้นให้แรงๆ สัก 2-3 ครั้ง
- ถ้ายังไม่หายใจให้เอามือวักน้ำร้อน ( พอทน ) ประที่หน้าอกทารก แล้วเอามือกระตุ้นให้แรงๆ สัก 2-3 ครั้ง
- ถ้ายังไม่หายใจให้เอามือวักน้ำเย็นสลับกันประลงที่ท้องทารกแล้วกระตุ้นท้อง
- ถ้ายังไม่หายใจ ให้หิ้วตัวทารกขึ้นโดยจับรอบข้อเท้าทารกทั้งสองข้างยกขึ้นให้หัวทารกห้อยลง แล้วเอามือเขย่าหน้าอกให้หายใจ
- ถ้ายังไม่หายใน ให้ทำการสูดลมหายใจโดยจับแขนของทารกทั้งสองข้างเหยียดตรงขึ้นทางเหนือศรีษะ แล้วหกกลับลงมากอดอกไว้ เอามือกดแขนแนบกับสีข้างบีบลมออกจากปอดและเหยียดตรงไปตามเดิมอีกเพื่อให้ลมเข้าปอด ในเวลาทำการสูดลมหายใจเช่นนี้ ควรเอาน้ำอุ่นราดตัวทารกบ่อยๆ เพื่อให้ทารกเกิดความอบอุ่น ควรใช้น้ำอุ่นจัดๆ จึงจะดี
- ในที่สุดถ้าทารกยังไม่ฟื้น ให้เอาปากจุ๊บลงที่จมูกและปากของทารกโดยแรงเพื่อให้ก้อนเมือกที่อุดหลอดลมของทารกจะได้หลุดออกมาหรือบางทีเยื่อบางๆ ที่ปิดปากและหลอดลมของทารกยังไม่ขาด
- ถ้าจุ๊บไม่ออกจงเป่าลมลงไปให้แรงๆ จนกว่าจะหายใจได้ เพราะถ้าหัวใจทารกหยุดเต้นเสียแล้วจะแก้ไม่ฟื้น
- โดยมากทารกที่ออกมาแล้วจะร้องทันที หรือพอควักเมือกในปากออกแล้วทารกก็จะร้อง แต่บางคนก็หายในได้เป็นปกติมิได้ร้องเลย อยู่ต่อมา 3-4 ชม. หรือบางคนถึง 12 ชม. จึงร้องก็มี
- ถ้าทารกหายใจได้แล้ว ถึงทารกจะไม่ร้องก็ไม่เป็นไร การร้องของทารกก็เท่ากับทารกหายใจเป็นครั้งแรก
การหายใจครั้งแรกของทารกเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายประการ
- เมื่อศรีษะออกแต่ตัวทารกยังไม่ออก มดลูกหดรัดตัวอย่างแรง การเดินของเลือดในตัวทารกไปสู่ศรีษะทารกติดขัด สมองขาดออกซิเจน ศูนย์กลางประสาทที่บังคับการหายใจจึงถูกกระตุ้น ทารกจึงถอนหายใจเข้าแรงและหายใจออกอีก จึงเกิดเสียงร้องดังขึ้น
- เมื่อทารกกำลังผ่านช่องคลอดถูกบีบรัดอยู่ตลอดเวลา เมื่อเกิดออกมาไม่มีอะไรบีบรัดอยู่ร่างกายของทารกผายออกมาเต็มที่ ช่วยกระตุ้นทำให้ทารกเกิดการหายใจจึงมีเสียงร้องดังขึ้น
- เมื่อทารกเกิดออกมาผิวหนังได้รับอากาศภายนอกท้องของมารดา ซึ่งมีความเย็นมากกว่าในท้องเป็นเครื่องกระตุ้นระบบการหายใจเริ่มทำงานจึงมีเสียงร้อง
- เมื่อร่างกายของทารกออกมาแล้ว เลือดในร่างกายของทารกไหลผ่านสู่สมองโดยรวดเร็วกระตุ้นเตือนประสาททั่วไป ทำให้ทารกร้องได้

2. การดูแลมารดาระยะ 2 เดือนแรกหลังคลอด
ระยะหลังคลอด เป็นระยะซึ่งอวัยวะในช่องเชิงกรานของผู้คลอดกลับคืนสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนตั้งครรภ์กินเวลา 6-8 สัปดาห์
- เต้านม ยังทำงานต่อไปจนเด็กหย่านม ซึ่งตามธรรมชาติกินเวลาราว 10 เดือน
- รังไข่ ซึ่งตามธรรมชาติจะไม่มีไข่สุกและไม่มีระดูตลอดเวลาที่เด็กยังกินนมอยู่ แต่ไม่แน่เสมอไปทุกคน
- การเปลี่ยนแปลงทั่วๆ ไป ของมารดาหลังคลอดทันทีทันใด คนไข้รู้สึกอ่อนเพลียมากเนื่องจากการคลอด คนไข้ต้องการความสงบและต้องการพักเอาแรง
การเปลี่ยนแปลงทั่วๆ ไป ของมาารดาหลังคลอดทันที
- ชีพจร ปกติหรือช้าเล็กน้อย
- ความร้อนของร่างกาย หลังจากการคลอดแล้ว ความร้อนของแม่ขึ้นประมาณ 99 องศาฟาเรนไฮต์ แต่ในระยะ 2-3 ชม.หลังคลอดใหม่ๆ ยังคงสูงเล็กน้อยอาจถึง 100 องศาฟาเรนไฮต์ เพราะออกกำลังมากนั่นเอง
- ถ้าหากคลอดกินเวลานาน เมื่อคลอดเสร็จแล้ว ความร้อนอาจสูงถึง 101 องศาฟาเรนไฮต์
- ในระหว่างเวลานอนพักในระยะหลังคลอดนี้ ความร้อนอาจขึ้นได้อีกแต่ไม่สูงนัก เนื่องจากนมคัด ซึ่งมักปรากฎหลังคลอดแล้ว 3 วัน อาการท้องผูกและความตื่นเต้น ทำให้ความร้อนของร่างกายขึ้นได้เหมือนกัน
- ถ้าหากความร้อนขึ้นสูงกว่าปกติมาก เราต้องหาต้นเหตุซึ่งมักเกิดจากความสกปรกในช่องคลอดและมดลูก
ความดันโลหิตจะลดลงทันทีเมื่อเด็กคลอด
- จะต่ำสุดเมื่อรกออกแล้ว และจะค่อยๆ คืนสู่ปกติในราววันที่ 5 หลังคลอด
การถ่ายเทของเสียออกจากร่างกาย
- การถ่ายปัสสาวะ 3 วันแรกจะถ่ายมากกว่าปกติ ต่อไปภายใน 7 วันหลังคลอดจะคืนสู่สภาพปกติ น้ำปัสสาวะตรวจพบน้ำตาลได้ในราววันที่ 3 หลังคลอด และเมื่อทารกดูดนมแล้ว น้ำตาลในปัสสาวะก็น้อยลง และถ้ามารดากินน้ำนมเพิ่ม น้ำตาลจะออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ( แต่ไม่ใช่โรคอย่างใด ) ธาตุไข่ขาวมีนิดหน่อยหลังคลอด บางคนก็มี บางคนไม่มี ธาตุเบ็บโตน มีปรากฎในปัสสาวะในระหว่างเวลาที่มดลูกเข้าอู่ ธาตุยูเรีย มีสูงมาก
- การถ่ายปัสสาวะ ถ่ายยากและปวดเจ็บเวลาถ่ายใน 2-3 วันแรก เนื่องจากความระบมอักเสบของช่องเชิงกราน
- การถ่ายของเสียทางผิวหนัง มีเหงื่อออกมาก
- การถ่ายอุจจาระ ท้องผูกเสมอ
การเปลี่ยนแปลงของโลหิต
เม็ดโลหิตขาวที่เพิ่มขึ้นถึง 10,000 เซลส์/ลูกบาศก์เดซิลิตร ในระหว่างเวลาคลอด จะลดลงสู่สภาพปกติหลังคลอดแล้ว 2 วัน แต่ในวันที่ 3 เม็ดโลหิตขาวจะสูงขึ้นอีกเล็กน้อย เนื่องจากเลี้ยงทารกด้วยน้ำนมมารดา เม็ดโลหิตแดงและความเข้มข้นของโลหิตจะลดน้อยลงใน 3 วันแรกของการคลอด แต่ต่อไปจะคืนสู่สภาพปกติ
การเปลี่ยนแปลงเฉพาะอวัยวะบางส่วนของร่างกายมารดา
การเข้าอู่ของมดลูก มดลูกค่อยๆ เปลี่ยนแปลงกลับคืนเหมือนก่อนตั้งครรภ์ ขนาดมดลูกหดตัวลง การเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อและเส้นโลหิตของมดลูก การเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุพื้นมดลูก
- ขนาดของมดลูกจะหดตัวลงทันที หลังจากรกออกแล้ว มดลูกจะรัดตัวแน่น แล้วค่อยๆ คลายตัวสลับกันอยู่เช่นนี้ ตำแหน่งและรูปร่างของมดลูกจะเปลี่ยนแปลงไป มดลูกจะอยู่เต็มในช่องเชิงกราน มีลักษณะพลิกตัวไปทางด้านหน้าเล็กน้อย และเป็นรูปเรียว ส่วนยอดของมดลูกหนามาก ส่วนล่างของมดลูกบางและอ่อน ปากมดลูกหนาอย่างปกติ ยอดของมดลูกสูงกว่าระดับหัวเหน่าประมาณ 5 นิ้ว
- แต่คนเคยมีลูกแล้ว ยอดมดลูกจะสูงกว่าระดับนี้เล็กน้อย หรือถ้าปัสสาวะมีเต็มกระเพาะปัสสาวะ ยอดมดลูกจะสูงกว่านี้ ต่อจากนี้ 10 วัน แล้วต่อไปจะค่อยๆ หดตัวลงวันละน้อยจนถึงสัปดาห์ที่ 6 จะกลับเข้าาสู่ภาวะปกติ
- การลดขนาดของมดลูกตามปกติ ปลายสัปดาห์แรกยอดมดลูกจะลดลงเหลือกึ่งกลางระหว่างหัวเหน่ากับสะดือ ปลายสัปดาห์ที่ 3 ยอดมดลูกจะรู้สึกว่าคลำพบอยู่เหนือหัวเหน่าเท่านั้น
การหดตัวของมดลูกจะช้ามากในกรณีต่อไปนี้
- มีโลหิตก้อนยังตกค้างในมดลูก
- มีเศษรกตกค้างในมดลูก
- มีเนื้องอกที่ตัวมดลูก
- ทารกไม่ได้ดูดนมมารดา เช่น ในรายที่ทารกเกิดก่อนกำหนดคลอด เด็กจะไม่มีกำลังดูดนมหรือเกิดแล้วเด็กตาย
- มดลูกอักเสบทั่วไป
การเปลี่ยนแปลงของเส้นโลหิตของมดลูก
- เส้นโลหิตแดง ขนาดของเส้นโลหิตแดงเล็กลงโดยกล้ามเนื้อของเส้นโลหิตหดตัวและเยื่อภายในหลอดโลหิตและเส้นโลหิตถูกทำลาย
- เส้นโลหิตดำจะสูญหายไปและกลายเป็นเนื้อพังผืดเกิดขึ้นแทน
- การเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุพื้นมดลูก หลังคลอดแล้วเยื่อบุพื้นมดลูกส่วนบนจะหลุดไปภายใน 10 วัน ปนออกมากับน้ำคาวปลาและเยื่อพื้นส่วนลึกของมดลูกจะตั้งต้นเจริญเติบโตใหญ่ตั้งแต่วันที่ 15 หลังคลอดเป็นต้นไป และเรียบร้อยภายใน 2 เดือน
- ในบริเวณแผลที่รกเกาะของมดลูกหลังคลอดแล้ว แผลที่รกเกาะจะกลายเป็นเนื้อที่ประมาณ 4 นิ้ว นูนสูงกว่าระดับอื่นในพื้นที่มดลูกแผลนี้มีโลหิตก้อนเล็กๆ ปิดอยู่ และแผลนี้ ถ้ามีเชื้อสกปรกอยู่ในมดลูกกระทำให้เกิดอักเสบเป็นสันนิบาตหน้าเพลิงขึ้นในเวลาต่อมา
- ส่วนอื่นๆ ของพื้นมดลูกก็มีโอกาสอักเสบจากเชื้อโรคได้เหมือนกัน แต่มีโอกาสน้อยกว่า
- ภายหลังการคลอดใต้แผลที่รกเกาะนี้ จะมีเม็ดโลหิตขาวจำนวนมากล้อมรอบแผลไว้เพื่อคอยฆ่าเชื้อโรคที่เกิดขึ้นในแผลและจะกระจายต่อไป ฉะนั้นหลังคลอดแล้ว 3 วัน ไม่ควรขูดมดลูกเลย เพราะจะทำให้กำแพงเม็ดเลือดขาวนี้เสียไป จนกว่า 2 สัปดาห์แล้วจึงจะขูดมดลูกได้
- แผลนี้เมื่อปลายสัปดาห์ที่ 2 จะเหลือโตเพียง 3 ซม.เท่านั้น ปลายสัปดาห์ที่ 6 แผลจะเหลือโตเพียง 1.5 ซม. และเมื่อถึงปลายเดือนที่ 6 จะเหลือเป็นจุดแดงๆ เล็กๆ เท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงของคอมดลูก
- หลังคลอดแล้วปากมดลูกมีลักษณะอ่อนมาก และรูปร่างไม่ชัดเจนเหมือนเก่า ปลายสัปดาห์แรกยังเปิดอยู่ขนาด 2 นิ้ว มือลอดเข้าไปได้ คอมดลูกกลับเข้าที่ช้ามากและจะเรียบร้อยเหมือนเดิมเมื่อครบ 1 เดือน
การเปลี่ยนแปลงช่องคลอด
กว่าจะกลับคืนสู่สภาพเดิมกินเวลา 3 สัปดาห์ แต่ถึงอย่างไรก็ไม่เหมือนเดิม เนื่องจากการฉีกขาดจากการคลอด ปากช่องคลอดจะกว้างกว่าเมื่อยังไม่มีบุตรแผลที่เคยฉีกขาด เมื่อหายแล้วจะกลายเป็นแผลเป็นเล็กๆ เยื่อพรหมจารีย์ขาดหมดเหลือแต่ตุ่มๆ ของเยื่อติดอยู่ข้างๆ ปากช่องคลอดเท่านั้น
น้ำคาวปลา
จะไหลออกมาเป็นปกติ ในระยะสัปดาห์แรกออกจากแผลที่รกเกาะพื้นมดลูก แผลที่คอและปากมดลูกและช่องคลอดฉีกขาดก่อนใน 2-3 ชั่วโมงแรก น้ำคาวปลามีลักษณะเป็นโลหิตใส และโลหิตก้อนๆ น้ำคาวปลาแบ่งออกเป็น 3 ชนิด
- สีแดง ใน 3 วันแรก ประกอบด้วยเม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว เยื่อพื้นมดลูกและเมือก เรียกว่า น้ำคาวปลาแดง
- วันที่ 4-7 สีของน้ำคาวปลาเป็นสีน้ำตาลซีดๆ มีเม็ดโลหิตแดงและเม็ดโลหิตขาวมาก เรียกว่า น้ำคาวปลาเหลือง
- หลังวันที่ 7 สีของน้ำคาวปลาจะเป็นสีเหลือง และกลายเป็นสีเขียวอ่อนๆ และในที่สุดกลายเป็นสีขาว ประกอบด้วยไขมันและเยื่อบุพื้นมดลูก และเม็ดโลหิตขาวเรียกว่า น้ำคาวปลาขาว
- จำนวนน้ำคาวปลาที่ออกมาทั้งหมดประมาณ 500-1,000 ซีซี. และค่อยๆ น้อยลงทุกทีจนหมด ทีแรกน้ำคาวปลามีคุณภาพเป็นด่าง และจะค่อยๆ กลายเป็นกรดเมื่อเกือบหมดแล้ว
- เชื้อโรคที่มีในน้ำคาวปลาเป็นเชื้อโรคธรรมดาไม่ใช่เชื้อโรคร้ายแรงอะไร ถ้าคนไข้เป็นหนองในก็มีเชื้อหนองในออกมาด้วย
- จำนวนน้ำคาวปลาจะออกมากในพวกผู้หญิงผิวดำ ถ้าหลังคลอดแล้วล้างมดลูก หรือมดลูกเกิดอักเสบขึ้น น้ำคาวปลาจะออกน้อย
- การรักษาช่องคลอด ให้ใช้ผ้าขาวที่สะอาดซ้อนทับพับหลายๆ ชั้น โตประมาณเท่าฝ่ามือหรือใช้ผ้าขาวห่อสำลีปิดปะไว้ที่ช่องคลอด แต่ต้องล้างช่องคลอดให้สะอาดเสียก่อนด้วยน้ำด่างทับทิมหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เพื่อให้ดูดน้ำเหลืองภายในแล้วผูกโยงติดไว้กับเอว ต้องคอยเปลี่ยนวันละ 2-3 ครั้ง หรือจะใช้ผ้าอนามัยก็ได้ ที่นอนของมารดาใช้แผ่นพลาสติกหรือกระดาษฟางรองรับทับข้างบนได้ สำหรับรองรับน้ำเหลืองหรือน้ำคาวปลา
ความรู้สึกเจ็บท้องหลังคลอด เนื่องจากมดลูกกบีบตัว
- มักเกิดในหญิงที่เคยมีบุตรแล้วหลายคน
- เกิดเมื่อเด็กดูดนม
- ในเมื่อยังมีก้อนโลหิตตกค้างอยู่ในมดลูก
- มีในพวกมดลูกบีบตัวไม่ดี หรือที่เอารกออกไม่ดี แต่อาการเหล่านี้มักจะหายไปหลังคลอดแล้ว 4 วัน
การเปลี่ยนแปลงของเต้านม
เมื่อคลอดแล้ว นมยังคงคัดเต่งอยู่ตามเดิมจนคลอดแล้ว 2 วัน ในระหว่างวันที่ 2 นี้ ถ้าบีบเต้านมจะมีน้ำขุ่นๆ เหลือง ขาวๆ ไหลออกมาอย่างเดียวกับเมื่อจวนคลอด น้ำใสๆ นี้เรียกว่า โคลอสตัม ( Colostum ) ซึ่งประกอบด้วยน้ำเหลืองมีไขมัน และส่วนประกอบอื่นๆ อีกเล็กน้อย มีคุณภาพเป็นยาระบายอ่อนๆ ให้แก่เด็กคลอดใหม่ๆ เพราะฉะนั้นเมื่อเด็กคลอดใหม่ๆ รับประทานนมมารดา ท้องจึงไม่ผูก
- ส่วนนมที่แท้จริงนั้นจะปรากฎในวันที่ 3 น้ำนมจะเริ่ม เต้านมจะคัดแข็งตึง และเจ็บปวดเล็กน้อยน้ำนมขุ่นข้น มีลักษณะสีขาว ในระยะนี้มารดาาจะรู้สึกครั่นตัวเล็กน้อย เนื่องจากเต้านมคัด
- สำหรับผู้มีบุตรคนแรกใน 24 ชม.แรก น้ำนมทั้งหมดมีราาว 15 ซีซี เท่านั้น ในวันที่ 2 มีน้ำนมประมาณ 60 ซีซี ในวันที่ 3 มีน้ำนม 150 ซีซี
- ในคนเคยมีบุตรแล้ว น้ำนมจะมาราววันที่ 2 และตั้งแต่วันที่ 4 เป็นต้นไป น้ำนมที่ออกมานี้จะมีราว 500 ซีซี ประกอบด้วยน้ำนม 12% ( ธาตุโปรตีน 2% ธาาตุไขมัน 4% ธาตุคาร์โบไฮเดรท 6% ) มีน้ำ 88%
- ในน้ำนมนอกจาากจะมีส่วนประกอบข้างบนนี้แล้วยังมีเกลือ หินปูน เกลือฟอสเฟต น้ำหล่อเลี้ยงจากต่อมต่างๆ ในร่างกายมารดา วิตามิน และสิ่งป้องกันโรค ( Antibodies ) อีกหลายอย่าง เด็กที่กินนมมารดาจะฉลาดแข็งแรง จำนวนน้ำนมและคุณสมบัติผิดกันแล้วแต่ชนชาติ ( ยิว จีน แขก และญี่หุ่น มีน้ำนมมากกว่าและดีกว่า )
- อายุ ( อายุระหว่าง 18-40 ปี มีน้ำนมมาก อายุต่ำกว่านั้นน้ำนมไม่ดีและนมน้อย )
- ระดู ( ถ้าระดูไม่ดี นมไม่ดี เด็กมักปวดท้องและท้องเสียในเวลานี้ ) มารดาที่รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาถ่าย เหล้า ฝิ่นปรอท ผ่านน้ำนมได้ เพราะฉะนั้นแม่กินยาถ่าย ต้องคิดถึงลูกเสมอ เพราะทำให้ลูกท้องเดินได้
- อาหารที่แม่กินทำให้น้ำนมเปลี่ยนแปลงไปได้บ้างอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ถ้าแม่กินอาจทำให้เด็กท้องเสียได้

การปฎิบัติตัวของมารดาในระยะหลังคลอด
- ภายหลังคลอดทันที ต้องสังเกตุว่ามดลูกรัดตัวแน่นหรือเปล่า และต้องแต่งปากมดลูกและช่องคลอด
- อุจจาระและปัสสาวะ ภายหลังถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะทุกครั้ง ต้องล้างปากช่องคลอดให้สะอาดด้วยด่างทับทิมอ่อนๆ หรือแช่น้ำยาเชฟลอน 1 ซีซี / น้ำ 1,000 ซีซี เสมอ แล้วเช็ดให้แห้ง
- หน้าท้อง ต้องใช้ผ้ารัดท้องให้แน่นภายหลังคลอดแล้ว เพื่อช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น และไม่ให้หน้าท้องหย่อนยาน นอกจากนั้นยังทำให้หญิงหลังคลอดถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะได้สะดวกอีกด้วย ต้องนวดหน้าท้องบ่อยๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องทำงานดี หลังคลอดแล้ว 10 วัน ควรหาหมอนวดที่ชำนาญนวดหน้าท้องทุกวันให้ครบ 3 สัปดาห์
- การพักผ่อน หลังคลอดแล้วต้องให้คนไข้นอนหลับพักผ่อนให้มาก ใน 2-3 วันแรก อย่าให้มีกังวลและตื่นตกใจอย่างใด ควรให้นอนอยู่กับเตียงสัก 10 วัน หรืออย่างน้อยก็ควรเป็น 4 วัน ( และหลังคลอดแล้ว 3 วัน ควรให้คนไข้นอนคว่ำ ใช้หมอนรองบริเวณท้องน้อย ( เพื่อยกให้บริเวณสะโพกสูงขึ้น ) นานครั้งละ 10 นาาที เช้าและเย็นทุกๆ วัน เพื่อให้ยอดมดลูกพลิกกลับไปอยู่ด้านหน้า เมื่อมดลูกเข้าอู่แล้วจะได้อยู่ในลักษณะเดิมก่อนตั้งครรภ์ เวลามีระดูต่อไปความเจ็บปวดจากการมีระดูจะได้น้อยลง หลังจากอยู่กับเตียงได้ 10 วันแล้ว คนไข้จะลุกเดินได้วันละ 1-2 ชม. ทุกๆ วัน จนถึงทำงานได้ตามปกติ
- การนอน สำคัญมาก ต้องให้คนไข้นอนให้มากๆ ถ้านอนไม่หลับให้ยาระงับประสาทเล็กน้อย เช่น ยาโปแตสเซียมโบรไมด์ ( Mixt Potassium Bromide ) 30 ซีซี ก่อนนอน การนอนไม่หลับอาาจทำให้คนไข้เป็นโรคประสาทได้ในระยะหลังคลอด
- อาหาร หลังคลอดแล้ว 24 ชม. ควรให้อาหารธรรมดาคุณภาพดี เช่น นม ไข่ไก่ ไม่ต้องงดอาหาร เพราะต้องเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา
- การคลอดแบบโบราณ หมอตำแยหรือผู้ทำการคลอดโดยมากให้หญิงหลังคลอดอดอาหารซึ่งเป็นการเข้าใจผิด คนคลอดบุตรจึงเป็นโรคเหน็บชากันมากเพราะเหตุนี้ และเมื่อมารดาเป็นโรคเหน็บชาทารกที่ดูดนมมารดาก็เป็นเหน็บชา ส่วนมากมักตาย
- ลำไส้ หลังคลอดแล้วคนไข้มักท้องผูกเสมอ ควรให้ยาระบายอ่อนๆ เช่นน้ำมันละหุ่ง 30 ซีซี ในวันที่ 2 หลังคลอด
- หัวนม ควรให้ทำความสะอาดเต้านมและหัวนมเวลาที่ชำระร่างกายทุกครั้ง โดยใช้สบู่กับน้ำอุ่นๆ ล้างหัวนมเพื่อชำระล้างเหงื่อไคลให้สะอาด น้ำนมจะได้เดินได้สะดวก ไม่เกิดนมหลง ( นมคัด ) หรือเป็นพิษ มารดาควรใช้ฟองน้ำชุบน้ำอุ่นเช็ดให้ทั่วตัว ถ้าเป็นผดก็โรยด้วยแป้งบอริคสัก 7-8 วัน ควรรักษาความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มให้ดี และก่อนที่จะไปอุ้มหรือดูแลเด็กควรจะล้างมือให้สะอาดก่อนทุกครั้ง
- คำว่า อดอาหาร ซึ่งผู้เขียนเป็นแม่มาแล้วด้วยการคลอดลูกหลายคน และเคยดูแลคนคลอดลูกตลอดจนดูแลเรื่องอาหารและกาารปฎิบัติตัวของแม่หลังคลอด ก็เลยอยากจะทำความเข้าใจในคำว่าอดอาหารที่จริงน่าจะใช้ว่าเลี่ยงอาหารบางอย่างระหว่างที่พักผ่อนในระยะหลังคลอดบุตร
- อาหารของมารดาระยะนี้ ( คลอดบุตรใหม่ ) ควรรับประทานมื้อละน้อยๆ ก่อน แต่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และย่อยง่าย ขณะทำเสร็จใหม่ๆ ร้อนๆ และนมสดมากๆ และเป็นอาหารที่บำรุงน้ำนมเพื่อลูกด้วย ควรเว้นอาหารย่อยยาก และของหมักดอง และรสเผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด ฯลฯ
- วัฒนธรรมทางภาคเหนือ จะให้รับประทานข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวที่นึ่งแล้วปั้นเสียบไม้ไผ่จี่ คือ ย่างให้เหลืองหอมน่ากิน กินกับน้ำพริกก็ต้องเป็นพริกแห้ง ย่างให้เกรียมตำกับข่าเกลือ ( เกลือก็ต้องคั่วจนเหลืองสำหรับคนอยู่กรรมหลังคลอดบุตร ) ผักต้ม ได้แก่ พวกผักกาดเขียว ( ผักโสภณ ) หน่อข่า กะหล่ำปลี ยอดผักต่างๆ กินกับน้ำพริก
- พวกปลาจะเป็นปลาช่อนย่าง ปลาช่อนเผาเกลือ หรือ ปลาช่อนย่างแห้ง แกงต่างๆ และจะใส่พริกหอมทั้งชูรส ชูกลิ่น และขับลม หมูจะย่าง จะต้ม หรือผัด ก็ได้ อาหารที่ต้องหลีกเลี่ยงได้แก่ แตงกวา ฟักเขียว ฟักทอง หน่อไม้ หรือของที่มีรสเย็นต่างๆ น้ำดื่ม จะใช้ไพลสดหรือไพลแห้งต้มดื่มต่างน้ำเปล่า
- การแปรงฟัน อาบน้ำก็จะให้ใช้น้ำอุ่น แต่ส่วนใหญ่ภาคเหนือ จะมีใบไม้สำหรับต้มอาบ ได้แก่ ใบเปล้าหลวง หมากผู้หมากเมีย ใบไพล ตะไคร้แกงทั้งต้น ใบมะขาม ใบละหุ่ง ผักบุ้งแดง ใบหนาด ฯลฯ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นแตกต่างไป
- ถ้าตามหลักคนจีน ก็ต้องมีการตุ๋นกระเพาะหมูใส่ซีอิ้วขาวและพริกไทย ให้กินระหว่างอยู่ไฟ อย่างน้อยให้รับประทานสัปดาห์ละ 1 วัน นอกจากนี้ยังมีไก่ผัดขิง หรือมีขายเป็นเหล้าให้มารดาหลังคลอดดื่ม
- ถ้าอยู่ไฟ จะไม่ให้ผู้หญิงหลังคลอดออกมาถูกฝน ถูกลม ให้อยู่ในห้องพัก และให้นอนพักผ่อนมากๆ การทำงาน จะต้องหยุด สำหรับลูกหัวปีหรือท้องแรก 40 วัน ยกของหนักและเดินมากไม่ได้ห้ามเด็ดขาด ห้ามอาบน้ำเย็น เพราะช่วงหลังคลอดสุขภาพของคนคลอดขาดภูมิคุ้มกัน หลังคลอดเรียบร้อยแล้ว ก่อนให้คนไข้พักผ่อนควรให้คนไข้กินยาขับน้ำคาวปลาตามกำหนดของยาแต่ละขนาน มีการกำหนดของเจ้าของผู้ปรุง

การปฎิบัติสำหรับผู้ทำคลอด
- ใน 5 วันแรก ควรเยี่ยมหญิงหลังคลอดทุกๆ วัน เพราะในวันที่ 3-5 เป็นระยะที่เกิดโรคแทรกได้ ต่อไปเยี่ยมวันเว้นวันจนครบ 2 สัปดาห์จึงหยุดการเยี่ยมได้
- ในกาารเยี่ยมครั้งหนึ่ง ต้องสังเกตุอาการทั่วๆ ไปของมารดาว่า สบายดีหรือไม่ และวัดอุณหภูมิของร่างกาย จับชีพจรดูด้วยว่าปกติดีหรือไม่ ถ้าาผิดปกติมาก เช่น หญิงหลังคลอดมีอาการไข้สูงและชีพจรเต้นเร็วต้องนึกถึงสิ่งต่อไปนี้
- สันนิบาตหน้าเพลิง ( Puerperium Infection )
- น้ำคาวปลาเดินไม่สะดวก
- นมคัดมากและอักเสบแดง
- ไข้จากสิ่งอื่น เช่น ไข้จับสั่น หวัด เป็นต้น
- แล้วต้องตรวจหาสาเหตุของสิ่งที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ และปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป
- หลังคลอดแล้ว 48 ชม. ควรให้ยาถ่ายน้ำมันละหุ่ง 30 ซีซี แก่คนไข้ 1 ครั้ง ถึงคนไข้จะท้องผูกหรือไม่ผูกก็ตาม ซึ่งโดยมากมักท้องผูก ประโยชน์เนื่องจากการถ่ายยานี้ คือ ช่วยทำให้น้ำคาวปลาเดินสะดวก ทำให้น้ำนมออกได้มาก ทำให้กาารไหลเวียนของโลหิตของอวัยวะเชิงกรานดีขึ้น ถ้าคนไข้ไม่ถ่ายอุจจาระเลยถึง 2 วัน ก็ควรสวนอุจจาระด้วยสัก 1 ครั้ง ก่อนให้ยาถ่ายน้ำมันละหุ่ง
- ความดันโลหิต ถ้าคนไข้มีอาการบวม หรือเมื่อตั้งครรภ์ ปรากฎว่ามีอาการเป็นพิษจากการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ต้องวัดความดันโลหิตเสมอ วันละครั้ง หรือทุกๆ ครั้งที่ไปเยี่ยม ตรวจไข้ ถ้าความดันโลหิตสูงมากควรให้ยาระบายด้วยน้ำมันละหุ่งทุกๆ วัน
- การถ่ายปัสสาวะ เนื่องจากขณะทำคลอดอาาจได้รับความกระทบกระเทือนบริเวณกระเพาะปัสสาวะและหลอดปัสสาวะ เมื่อคลอดแล้วบางคนถ่ายปัสสาวะไม่ออก ถ้าคนไข้ถ่ายปัสสาวะไม่ได้เองภายในเวลา 8-10 ชม. ต้องสวนปัสสาวะ การสวยปัสสาวะต้องระวังความสะอาดให้มากที่สุด
- ทุกครั้งที่เยี่ยมหญิงหลังคลอด ต้องตรวจดูมดลูกทุกๆ ครั้งว่า อยู่สูงเท่าใด โดยคลำหน้าท้องเปรียบเทียบระดับของมดลูกทุกๆ วัน เพื่อจะได้รู้ว่า มดลูกเข้าอู่ได้ดีหรือไม่เพียงใด และควรดูสีน้ำคาวปลาซึ่งติดผ้าอยู่ ดูจำนวนที่ไหลออกมา และกลิ่นของน้ำคาวปลาว่า เหม็นหรือไม่ ถ้ามีกลิ่นเหม็นมักเกิดจากพวกสันนิบาทหน้าเพลิงอย่างแรง
ให้คำแนะนำการปฎิบัติตัวแก่มารดาในระหว่าง 10 วันแรกหลังคลอด
- 6 ชั่วโมงหลังคลอด คนไข้นอนตะแคงได้บ้าง
- วันที่ 2 เวลารับประทานอาหาาร ใช้หมอนพิงหลังได้บ้าง
- วันที่ 3-4 ให้ลุกขึ้นนั่งเวลารับประทานอาาหารได้บ้าง แต่เสร็จแล้วต้องนอนพักอย่าลุกไปจากเตียง
- วันที่ 5-7 เดินได้บ้างเล็กน้อย
- ต่อจากนั้นค่อยๆ ลุกเดินได้มากขึ้นทุกๆ วัน จนถึงวันที่ 16 จึงทำงานเบาๆ ได้
- แต่ถ้าทำงานหนัก เช่น ชาวสวน ชาวนา ควรพักงานหนัก 6 สัปดาห์ขึ้นไป จึงทำงานเป็นปกติได้

การปฎิบัติตัวของมารดาเวลาให้ทารกดูดนม
- ต้องล้างหัวนมให้สะอาด คือ ฟอกสบู่ทุกครั้งเมื่ออาบน้ำเช้า – เย็น ตลอดทั้งมือมารดาก็ต้องทำความสะอาดทุกครั้งก่อนให้ทารกดูดนม
- ในเวลาที่ให้ทารกดูดนมต้องปลุกทารกให้ตื่นอยู่เสมอ อย่าให้หลับ
- ต้องสลับเปลี่ยนเต้านมให้ทารกดูดทั้งสองข้าง เพื่อน้ำนมจะได้ไหลเท่าๆ กัน อย่าาให้ทารกดูดข้างใดนาานเกินไป จะทำให้นมทั้งสองข้างไม่เท่ากัน และทำให้หัวนมแตกได้
- ในขณะที่มารดายังลุกจากเตียงไม่ได้ เวลาทารกดูดนมให้มารดานอนตะแคงให้ทารกดูดนม เมื่อมารดานั่งได้แล้ว ควรนั่งและวางทารกที่หน้าขาาทั้งสองข้างในท่าที่สบายที่สุด
- อย่าให้ลูกดูดนมเร็วเกินไป เพราะจะทำให้ทารกสำรอกน้ำนมออกมาได้
- หลังจากที่ให้ทารกดูดนมแล้ว อุ้มทารกไว้ในแขนให้หัวทารกสูงกว่าระดับลำตัว ลูบหลังเบาๆ ให้ทารกเรอเสียก่อน หรือกล่อมให้ทารกหลับก่อนแล้วจึงให้ทารกนอนเปล
การให้นำ้ทารก
- ใน 3 วันแรกเนื่องจากน้ำนมมารดายังออกไม่พอ จึงควรให้ทารกดื่มน้ำอุ่นๆ ให้มากๆ มิฉะนั้นน้ำหนักของทารกจะลดลงมากกว่าธรรมดา และทารกมีอาการดีซ่านเพราะเม็ดโลหิตแดงแตกมาก ตัวเหลืองและตาเหลือง
- หลังจาก 3 วันแรก ควรให้ทารกดื่มน้ำอุ่นๆ ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ หลังจาากให้นมแล้วราว 1 ชม. โดยใส่ขวดมีหัวนมให้ดูดหรือหยอดใส่ปากก็ได้ แต่อย่าให้ใกล้ระยะให้นมเกินไป เพราะจะทำให้ทารกอิ่มเสียก่อน และอย่าให้หลังจากให้นมเพราะจะทำให้ทารกสำรอก ควรให้ 1 ชม.หลังจากให้นมทารกแล้ว การให้น้ำอุ่นทารก ก็เพื่อเพิ่มจำนวนน้ำในตัวทารกให้มาก เพื่อป้องกันท้องผูกและกันร่างกายทารกทรุดโทรม
ลักษณะของทารกที่เจริญเติบโตได้ดี
- น้ำหนักทารกขึ้นทุกๆ วัน วันละประมาณ 150 – 200 กรัม
- ควรถ่ายอุจจาระวันละ 3-4 ครั้ง มีลักษณะสีเหลืองเหลว ไม่มีมูกนมปน
- ผิวหนังทารกแดง เปล่งปลั่ง และร้องเสียงดัง แข็งแรงเล่นหัวดี ดูดนมได้ดี นอนหลับเป็นปกติ
การเลี้ยงทารกด้วยนมผสม
- ต้องล้างขวดนมให้สะอาด และต้มให้เรียบร้อยก่อนใส่นมทุกครั้ง
- เลือกนมชนิดที่ทดลองให้ทารกว่า จะมีความพอดี เหมาะสมตามที่ฉลากของนมชนิดนั้นๆ ถ้าทารกมีอาการผิดปกติอื่นใด ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
การรัดท้องในระยะหลังคลอด
- เป็นการกระทำเพื่อป้องกันมิให้มดลูกเคลื่อนเอี้ยวไปจาากที่ของมดลูกและเพื่อมิให้ผนังหน้าาท้องหย่อนยาน และยังทำให้อวัยวะทุกส่วนที่หย่อนยานกลับเข้าที่เดิม จึงจะต้องรัดท้องและรับประทานยา
- ผ้าสำหรับรัดหน้าท้องนั้น ใช้ผ้าขาวขนาดกว้างพอดีกับหน้าท้องประมาณ 8 นิ้ว ยาว 2 เมตร
- ใช้เป็นผ้ารัดท้องปูขวางที่นอนด้านหลังตรงเอว หรือสอดเข้าไปใต้เอว แล้วเอาผ้าอีกผืนหนึ่งทำเป็นวงกลมหนาๆ ขนาดโตเท่าฝ่ามือวางทับที่หน้าท้อง ตรงบริเวณมดลูก ก่อนจะพันผ้าทับหน้าท้อง ต้องคลึงมดลูกให้แข็งตัวเสียก่อนแล้ววางผ้าวงกลมตรงมดลูก แล้วจึงนำผ้าผืนที่ใช้รัดท้องพันทับขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง รัดพอสบายอย่าให้แน่นเกินไปหรือหลวมเกินไป แล้วใช้เข็มซ่อนปลายกลัดไว้
- ควรพันรัดหน้าท้องไว้สัก 15 วัน ( ต้องพันใหม่ทุกวันหลังเช็ดตัวหรือเปลี่ยนผ้า )
- ถ้าน้ำคาวปลาไม่เดินต้องแก้ผ้าพันออกตรวจดู อย่าให้ผ้าพันนั้นกดตรงมดลูกเกินไปจนโลหิตไม่เดินพันไว้แต่พอดีๆ เท่านั้น
การทับหม้อเกลือหลังคลอดบุตร
- ถ้าคลอดธรรมดา หลังคลอดไม่เกิน 10-12 วัน ทับหม้อเกลือได้
- ถ้าผ่าคลอดต้องรอให้ครบ 1 เดือนถึงทำได้
อุปกรณ์ทับหม้อเกลือ
- เตาถ่าน 1 เตา
- เกลือเม็ด
- หม้อดินใบเล็ก 2 ใบ
- ผ้าขาวขนาด 50×50 ซม. จำนวน 1 ผืน
- เครื่องยา ไพล ว่านนางดำ การบูร ใบพลับพลึง
- เครื่องยาเข้ากระโจม ใบมะกรูด ใบมะนาว ใบส้มโอ ใบข่า ตะไคร้ทั้ง 5 ใบมะขาม ใบพลับหลึง ใบส้มป่อย ใบว่านน้ำ ผักบุ้งแดงทั้ง 5 อย่างละ 1 กำมือ การบูร
วิธีทำเข้ากระโจม
- ก่อนเข้ากระโจม อย่าเพิ่งรับประทานอาหาร ถ้าจะประคบเปียก อาจทำให้อาเจียน
- นำเครื่องยาทุกชนิดใส่หม้อต้ม ใส่น้ำให้เต็มหม้อ ( ต้องใช้เตาถ่าน ) ปิดฝาหม้อจนกว่าจะใช้เพราะถ้าเปิดหม้อก่อนกลิ่นยาจะหนี
- เวลาเข้ากระโจม ใช้เวลาเข้ากระโจมไม่เกิน 15-20 นาที ค่อยแย้มฝาหม้อรมไอให้ทั่ว ลืมตารวมควัน รมทั้งตัว เวลาออกจากกระโจมแล้วต้องรอให้ตัวแห้งก่อน แล้วจึงเอาน้ำที่ต้มยาผสมอาบ
- หมายเหตุ ถ้ามารดาเป็นไข้ ห้ามทำเด็ดขาด
อาการที่อาจเกิดกับสตรีในระหว่างอยู่ไฟ
- สตรีที่คลอดใหม่ๆ บางคนปวดท้องแทบจะทนไม่ไหว มดลูกบีบรัดตัวแข็งแรงเข้า
- การดูแลช่วยเหลือ ให้รับประทานยาทิงเจอร์ฝิ่นการบูร หรือจันทลีลา ก็ได้ ใช้ความร้อนทับหน้าท้องอุ่นจัดๆ อยู่เสมอ อาจหายได้แน่นอน ถ้าไม่หายสงสัยตกเลือดคั่งภายใน ให้ส่งแพทย์ทันที
- ภาวะเต้านมคัด น้ำนมไหลออกไม่ได้ หัวนมแข็งทำให้ช้องที่น้ำนมจะไหลออกมาาตีบตัน
- การดูแลช่วยเหลือ ให้ใช้วาสลิน หรือขี้ผึ้งทาปาก ทาที่หัวนมแล้วเอาน้ำอุ่นๆ ประคบ หรือใช้ที่ดูดนมที่เป็นหลอดแก้วก้นยางปั๊ม
- ภาวะนมคัดมาแต่กำเนิด โรคนี้ไม่มีช่องทางน้ำนม ทำให้น้ำนมไหลออกมาไม่ได้ หรือเกิดบุตรแล้วตาย 2-3 วัน นมจะคัดมาก ถ้าทิ้งไว้อาจเป็นฝี
- การดูแลช่วยเหลือ ให้เอาการบูร 2 ออนซ์ และแอลกอฮอล์ 12 ออนซ์ ละลายเข้าด้วยกัน ใช้ทาหัวนมวันละหลายๆ ครั้ง เมื่อน้ำนมแห้ง นมที่คัดก็จะเล็กลงไป
- ภาวะน้ำคาวปลาไม่ออก เป็นเพราะมดลูกหย่อนยานต่ำลงมา และไปติดปิดปากช่องคลอด ทำให้น้ำคาวปลาเดินไม่ได้
- การดูแลช่วยเหลือ ให้ฝืนมดลูกขึ้นข้างบนหรือผลักมดลูกไปมา อาจทำให้น้ำคาวปลาออกได้กับทั้งให้ล้างมดลูกเช้า – เย็น ด้วยน้ำผสมด่างทับทิมหรือน้ำยาปรอทคลอไรด์ หรือ แชฟลอนให้รักษาความสะอาดช่องคลอดให้เรียบร้อย เครื่องมือ เครื่องใช้ หม้อสวน ต้องลวกน้ำร้อน หรือล้างให้สะอาด

โลหิตเป็นพิษ
- หญิงใดคลอดบุตรได้ 1, 2, 3 วันก็ดี จนถึงเดือนหนึ่งก็ดี กำหนดโลหิตร้ายนั้นยังอยู่ ถ้าถึง 2 เดือนแล้วจึงพ้นกำหนดโลหิตเน่าร้าย
- ถ้าว่ากำลังโลหิตกล้านักไม่สมปฤดี สลบ ชัก มือกำ เท้ากำ อ้าปากมิออก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง ทำให้คนทั้งหลายกลัว อันนี้ชื่อว่า โลหิตเน่าเป็นใหญ่กว่าลมทั้งหลาย ( มียารักษาในตำราเวชกรรม )
สันนิบาตหน้าเพลิงหรือกากรติดเชื้อโรคของมารดาระยะหลังคลอด
ในระหว่างเวลาทำคลอด ถ้าผู้ทำคลอดไม่ระวังรักษาควาามสะอาดให้เพียงพอ หรือการคลอดกินเวลานานหลาายชั่วโมงหลังจากน้ำทูนหัวแตกแล้ว คนไข้อาจได้รับเชื้อโรคจากภายนอกได้ ทำให้เกิดกาารอักเสบแก่มดลูกและอวัยวะภายในช่องเชิงกราน หรือตามภาษาชาวบ้านเรียกว่า สันนิบาตหน้าเพลิง ซึ่งทำให้ผู้คลอดบุตรเสียชีวิตเป็นจำนวนไม่น้อย อาการของสันนิบาตหน้าเพลิงจะเกิดภายใน 2 สัปดาห์ หลังคลอด
เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคสันนิบาตหน้าเพลิง
- เชื้อสเตร็พโตคอคคัส ( Streptococcus ) เป็นเชื้อที่พบบ่อยที่สุดและอันตรายมากที่สุด โดยมากเป็นพวกที่สาามารถทำให้เม็ดโลหิตแดงแตกได้
- เชื้อสแตฟไฟโลคอคคัส ออเรียส ( Staphylococcus Aureus ) อาจทำให้เกิดอาการได้มากแต่พิษษร้านแรงน้อยกว่าพวกสเตร็พโตคอคคัส
- เชื้อเอสเชอลิเชียโคไล ( Escherichia Coli ) อาจพบอยู่ชนิดเดียวหรือมีปนอยู่กับเชื้ออื่น และทำให้เชื้ออื่นมีพิษรุนแรงขึ้นอีกก เมื่อมีอยู่ในมดลูกทำให้เกิดมีลมขึ้น เชื้อนี้มาาจาากอุจจาระ เมื่อถ่ายอุจจาาระแล้วล้างปากช่องคลอดไม่ถูกวิธี หรือไม่สะอาดพอ
- เชื้อหนองใน กล่าวกันว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้มีอาการไข้ในระยะหลังคลอดบ่อยๆ แต่อาการไข้ไม่สูงมากนัก มักปรากฎอาากาารในวันที่ 5 หญิงหลังคลอดไม่ใคร่ตายเพราะพิษของมัน
- เชื้อโรคคอตีบ เคยปรากฎพบในรายที่มดลูกอักเสบหลังคลอด ถ้าเกิดจากเชื้อนี้ พื้นมดลูกจะมีอาการอักเสบหลุดลอยตัวออกมาเป็นแผ่นๆ
สาเหตุที่ทำให้เกิดสันนิบาตหน้าเพลิง
หญิงหลังคลอดมีร่างกายอ่อนแอลง เป็นโอกาสให้เกิดโรคนี้ได้ง่ายมีสาเหตุมาจาก
- ในระยะตั้งครรภ์
- ป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น บิด ไข้จับสั่น กามโรค มีพิษเกิดจากการตั้งครรภ์
- ขาดอาหาร คือ ได้รับอาหารไม่เพียงพอในช่วงเวลาตั้งครรภ์
- ร่วมเพศกับสามีในระยะ 3 เดือนแรก และในเดือนหลังของการตั้งครรภ์
- ในระยะคลอด
- ตกโลหิตมาก หรือได้รับบาดเจ็บจากการคลอดมาก
- ความสกปรกจากผู้ทำคลอด เช่น ผู้ทำคลอดไม่รักษาความสะอาดให้เพียงพอเวลาทำคลอด
- ถุงน้ำทูนหัวทารกแตกอยู่นานตั้งแต่ 4 ชั่วโมงขึ้นไปก่อนทารกคลอด
- ในระยะหลังคลอด
- ทำการล้างช่องคลอดหรือตรวจทางช่องคลอดในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด
- น้ำคาวปลาเดินไม่สะดวกหรือเดินน้อยกว่าปกติ
- ทารกตายและเน่าอยู่ในครรภ์ หรือมีเศษรกค้างในครรภ์
ที่มาแห่งเชื้อโรคที่ทำให้เกิดสันนิบาตหน้าเพลิง
จากภายนอกร่างกายของผู้ทำคลอด
- ความสกปรกของผู้ทำคลอดนำไปโดย
- ฝอยน้ำลายของผู้ทำคลอด เวลาทำคลอดไม่ระวังน้ำลายกระเด็นลงไปในบริเวณปากช่องคลอด โดยผู้ทำการคลอด ไอ จาม พูด หรือ หัวเราะ เพราะฉะนั้นคนทำคลอดต้องปิดปากและจมูกด้วยผ้าก๊อซอย่างน้อย 4 ชั้น
- จากนิ้วมือของผู้ทำคลอด ซึ่งล้างไม่สะอาด
- จากเครื่องมือที่ใช้ ต้มไม่สะอาดเพียงพอ หรือไม่ได้ต้ม และไม่ทำความสะอาดให้เพียงพอ
เพราะฉะนั้นเวลาทำคลอดต้องระวังความสะอาดมากที่สุด มือก็ต้องล้างฟอกสบู่ให้สะอาดแล้วใส่ถุงมือ เครื่องมือเครื่องใช้ทุกอย่างต้องสะอาดหมด
- จากสามี โดยเกี่ยวข้อกกับสามีใน 1 เดือนแรกของการตั้งครรภ์เพราะว่าอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้ชายมีเชื้อสเตร็พโตค๊อคคัสชนิดทำลายเม็ดโลหิต เมื่อคลอดแล้วเชื้อซึ่งอยู่ในช่องคลอดจะเข้าไปในมดลูก ทำให้เกิดสันนิบาตหน้าเพลิงขึ้น
- จากผงในอากาศ ในสถานที่สกปรก เช่น คลอดในห้องที่เคยมีผู้ป่วยมีเชื้อโรคนี้อยู่ก่อนและสถานที่ๆ ไม่ได้ทำความสะอาด
จากภายในร่างกายของผู้คลอดเอง เช่น คนไข้มีฟันผุอยู่ก่อนเข้าทำคลอด คนไข้เคยทอนซิลอักเสบบ่อยๆ หรือมีอาการอักเสบในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ถ้าเชื้อพวกนี้เข้าสู่กระแสโลหิตของผู้ป่วยแล้ว มีผลทำให้เยื่อบุพื้นมดลูกอักเสบ
ลักษณะการอักเสบของพื้นมดลูก
- การอักเสบจะปรากฎแผลที่รกเกาะ เพราะเป็นแผลมีโลหิตก้อนเล็กๆ ติดอยู่มาก และจะต้องเน่าหลุดลงมาภายหลัง ซึ่งเป็นที่เจริญเติบโตของเชื้อโรคได้อย่างดี
- การอักเสบจะเริ่มเกิดขึ้นแล้วแผ่ไปทั่วบริเวณแผลที่รกเกาะ และต่อไปกกก็ทั่วเยื้อพื้นภายในมดลูก
- อีกประการหนึ่งเชื้ออาจลามมาจากแผลที่คอมดลูกได้เพราะเวลาคลอดปากมดลูกจะต้องมีการฉีกขาดเสมอ ถ้าแผลที่ปากมดลูกได้รับเชื้อโรคดังกล่าวแล้ว เชื้อจะลุกลามอักเสบเข้าถึงแผลที่รกเกาะ เยื่อมดลูกก็จะอักเสบทั่วไป จะทำให้พื้นมดลูกมีลักษณะหนาหยาบและมีโลหิตมาเลี้ยงมากขึ้น และมีน้ำคาวปลาออกน้อยลง ซึ่งเป็นการอักเสบอย่างรุนแรง
- ถ้ารักษาไม่ถูกต้องทำให้ผู้ป่วยตาย ถ้าหากว่าพื้นมดลูกอักเสบจากเชื้อที่ทำให้เนื้อเน่า ทำให้เยื่อมดลูกเน่ามากขึ้น ซึ่งเป็นของธรรมดา น้ำคาวปลาที่ออกมาจะเหม็นเน่า แต่ไม่มีความร้ายแรงแต่อย่างใด
อาการของสันนิบาตหน้าเพลิง
- อาการมักปรากฎในวันที่ 2-4 หลังคลอด ถ้าปรากฎอาการเร็ว แสดงว่าอาการของโรครุนแรงมาก ถ้าเกิดจากเชื้อหนองในยิ่งมีอันตรายมาก เพราะลุกลามไปได้รวดเร็ว
- มีอาการไข้ตลอดเวลา และถ้าเป็นไข้สูงทันทีทันใดพร้อมด้วยมีอาการหนาวสั่น แสดงว่าพิษของเชื้อโรคเข้าโลหิตมากแล้ว อาการไข้จะสูงกว่าธรรมดา ซึ่งควรมีในระยะหลังคลอด ( ความร้อนอาาจขึ้นสูงถึง 102-104 องศาฟาเรนไฮต์ )
- ชีพจรเร็ว เนื่องจากพิษของเชื้อโรคทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมาก ชีพจรอาจมากถึง 120 ครั้ง / นาที
- อาการหนาวสั่นในรายที่เชื้อไม่รุนแรง คนไข้จะรู้สึกหนาวๆ เท่านั้น ถ้ามีอาการหนาวสั่นแสดงว่ามีพิษษในโลหิตมาก ถ้ามีอากาารหนาวสั่นบ่อยๆ ควรสงสัยว่า มีหนองจากพื้นมดลูกซึ่งอักเสบอยู่แล้วหลุดเข้าในกระแสโลหิตได้
- มดลูก มีลักษษณะบวมอักเสบและเวลากดบริเวณมดลูกทางหน้าท้อง จะรู้สึกเจ็บมากและมดลูกเข้าอู่ช้า เนื่องจากมีโลหิตคั่งค้างอยู่มาก ขนาดของมดลูกจึงลดตัวลงช้ากว่าธรรมดา แต่ในรายที่เชื้อโรคเข้าในกระแสโลหิตแล้ว มดลูกอาจลดตัวลงได้วันละเท่าๆ กับรายที่ไม่มีอาการอักเสบเลยก็ได้
- น้ำคาวปลา มีลักษณะผิดปกติ คือ ถ้ามีอาการอักเสบเฉพาะที่มดลูกแห่งเดียว น้ำคาวปลาจะมีสีแดงจัดและเหม็นมาก อาการไข้มีเล็กน้อย ถ้ามีอาการอักเสบที่มดลูกและเชื้อโรคเข้ากระแสโลหิต คนไข้มีอาการไข้สูง หนาวสั่น น้ำคาวปลาน้อยและกลิ่นไม่เหม็นมากนัก อันตรายมากกับคนไข้
- ท้องร่วงและอาเจียน ไม่จำเป็นต้องมีทุกราย แต่มีได้ในรายที่เชื้อแรงและมีอาการไข้สูง และในรายที่ทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบ
- อาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้คือ ปวดศรีษะมาก นอนไม่หลับ ลิ้นหนาขาว เหงื่อออก สติฟั่นเฟือน เพราะอาการไข้และพิษของโรค
การดูแลช่วยเหลือ ต้องรักษาช่องคลอดให้สะอาด เครื่องมือเครื่องใช้ทุกอย่างต้องสะอาด จะรักษาให้หายต้องใช้ยาจำพวกฆ่าเชื้อโรค เพราะมีเชื้ออยู่ในโลหิต ทำลายพิษเชื้อโรคในโลหิตก็หายได้จริงเมื่อตรวจพบรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
การดูแลมารดาตามบทบาทของผดุงครรภ์โบราณ
- ท้อง 2 เดือน รากบัวหลวง รากบัวเผื่อน แห้วสด กระจับสด ใบผักแว่น ขิงสดแต่น้อย บดด้วยน้ำแรมคืน หรือน้ำนมโค
- ยาชโลม ใบหนาด ใบโพกพาย รากผักไห่ เม็ดใบขนุน ละมุด ดินสอพอง บดด้วยน้ำซาวข้าว
- ท้อง 3 เดือน ข้าวตอก ข้าวเหนียวกัญญา บดละลาายน้ำนมโค
- ยาชโลม รากกระจับบก ใบบัวหลวงอ่อน จันทน์หอม เปราะหอม หญ้าแพรก แฝกหอม เถาชิงช้าชาลี บดละลายน้ำซาวข้าว
- ท้อง 4 เดือน ดอกสัตตบงกช โกฐกระดูก รากบัวหลวง กระจับบก จันทน์หอม รากขัดมอน หัวแห้วหมู รากมะตูม ผลผักชี ขิงสด นำมาเท่ากัน ต้ม 3 เอา 1
- ยาชโลม รากสลอดน้ำ รากหญ้านาง รากทองหลาง รากพุมเรียงบ้าน พุมเรียงป่า จันทน์แดง จันทน์ขาว รากพุงดอ รากตำลึง รากฟักขาว เกสรบัวหลวง ดินประสิว ดินสองพอง ทำให้เป็นจุณ บดทำแท่งไว้ ละลายน้ำซาวข้าวทั้งกินทั้งชโลม เป็นยากล่อมลูกมิให้เป็นอันตรายได้วิเศษนัก
- ท้อง 5 เดือน ใบบัวบก เทียนดำ ขมิ้นผง ปูนแดง บดละลายน้ำสุรา กินแก้ลงโลหิต ทางทวารหนัก ทวารเบานั้นหาย
แพทย์แผนไทย ผดุงครรภ์
- แพทย์แผนไทย ผดุงครรภ์ บทที่ 1-3
- แพทย์แผนไทย ผดุงครรภ์ บทที่ 4 การปฎิสนธิ และการตั้งครรภ์
- แพทย์แผนไทย ผดุงครรภ์ บทที่ 5 การคลอดปกติ
- แพทย์แผนไทย ผดุงครรภ์ บทที่ 6 การดูแลมารดาและทารกในระยะหลังคลอด
- แพทย์แผนไทย ผดุงครรภ์ บทที่ 7 การเจริญเติบโตและการดูแลทารก
- แพทย์แผนไทย ผดุงครรภ์ ภาคผนวก ยาสำหรับสตรีและทารก