วาโย ฟาร์ม เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่

กสิกรรมธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน และการพึ่งพาตนเอง

ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชา

รวมถึงการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

 

ลองกอง หรือ ดอกอง,ดูกู,ลูกู (Lansium Domesticum)

มีถิ่นกำเนิดทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในหมู่เกาะชวา เกาะมลายู ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และทางภาคใต้ของประเทศไทย ในจังหวัดนราธิวาส และยังมีในประเทศทางแถบซูรินัม เปอร์โตริโก ออสเตรเลีย และฮาวาย 

Read more

มะยมแดง หรือ มะยมฝรั่ง,เชอร์รี่สเปน,มะยมหวาน,หมักยม,หมากยม,ยม (Phyllanthus Acidus (L.) Skeels)

ถิ่นกำเนิดจากประเทศ บราซิล เป็นไม้พื้นเมืองในบริเวณสุรินัมในอเมริกาใต้ ไปจนถึงกายอานาและปารากวัย ปัจจุบันมีปลูกทั่วไป ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปลูกที่เกาะชวา ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย แต่ไม่มากนัก ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ขายในประเทศไทยนานแล้ว

Read more

ชิงชัน หรือ ประดู่ชิงชัน,ดู่สะแดน,เก็ดแดง,อีเม็ง,พยุงแกลบ,กะซิก,กะซิบ,หมากพลูตั๊กแตน ( Dalbergia Oliveri Gamble)

พบขึ้นอยู่ในประเทศพม่า, ลาว และไทยกระจายทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ที่มีสภาพแห้งแล้ง มักพบเกิดอยู่ร่วมกับไม้สักและไม้ไผ่และบ่อยครั้งก็พบในป่าเต็งรังที่เป็นดินลูกรัง ที่พบในประเทศไทย มีขึ้นอยู่ทุกภาค ยกเว้นภาคใต้

Read more

สละ (Salacca Zalacca)

ลำต้น เป็นเหง้ามีทรงพุ่มต้นเตี้ย ลำต้นมีลักษณะเป็นแกนกลม มีเนื้อไม้นุ่มยุ่น มีก้านใบปกคลุมลำต้น เปลือกมีสีน้ำตาล ราก เป็นระบบรากแขนง มีลักษณะกลมเล็กๆ แทงลึกลงในดิน มีรากแขนงและรากฝอยเล็กๆ แทงออกจากเหง้า มีสีน้ำตาล

Read more

มะขวิด หรือ มะฝิด,มะยม ( Limonia Acidissima L.)

มีแหล่งกำเนิดในประเทศอินเดีย พม่า ศรีลังกา และอินโดจีน ปลูกทั่วไปในบริเวณหมู่บ้านและสวน แล้วแพร่กระจายไปตามธรรมชาติ ในประเทศมาเลเซียและเกาะชวากับเกาะบาลี อินโดนีเซีย และมีการนำไปปลูกในแคลิฟอร์เนียและฟลอริดาเพื่อใช้ในการศึกษา

Read more

มะกอกฝรั่ง หรือ มะกอกหวาน,มะกอกดง,มะกอกเทศ (Spondias Dulcis)

ต้นมะกอกฝรั่ง จัดเป็นไม้ยืนต้น มีความสูงของต้นประมาณ 7-12 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลแดง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ออกดอกเป็นช่อแบบพานิเคิล (ช่อดอกที่มีช่อดอกแตกออกมาจากช่อดอกใหญ่อีกทีหนึ่ง)

Read more

ตะลิงปลิง (Averrhoa Bilimbi L.)

มีถิ่นกำเนิดมาจากหมู่เกาะมาลูกู ในประเทศอินโดนีเซีย ปัจจุบันกลายเป็นพืชประจำถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้, ทวีปอเมริกากลาง, ทวีปอเมริกาใต้, ประเทศแทนซาเนีย, ประเทศออสเตรเลีย และประเทศจาเมกา

Read more

จาก หรือ อัตต๊ะ (Nypa Fruticans)

ลำต้นเป็นเหง้าใต้ดินหรือโผล่เหนือดิน มักเรียกว่า หินจาก ต้นเกิดติดกันเป็นกลุ่มกอ มีลักษณะอ้วนสั้น และแบน แตกออกเป็น 2 ง่าม โดยเยื่อของส่วนลำต้น และโคนก้านใบมีโพรงอากาศ ลำต้นใหม่อาจเกิดจากการแตกกอใหม่หรือเกิดจากเมล็ดใหม่ที่เกิดใกล้กับต้นเก่าเรียงซ้อนกันแน่น

Read more

ตาล หรือ ตาลนา,ปลีตาล,ตาล,ตาลใหญ่,ตาลโตนด,โหนด,ลูกโนด,ถาล,ถาน,ทอถู,ท้าง,ตะนอด,ทะเนาด์ (Borassus labellifer L.)

ต้น: เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืน ลำต้น เดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม – ดำ ซึ่งจะมีกาบขอบใบติดอยู่ประมาณ 5 เมตร ลักษณะของเนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง มีเสี้ยนสีดำอัดกันแน่นด้านในสูงประมาณ 15 เมตรและจะมีใบออกที่ยอด ใบ: คล้ายพัดปลายใบแหลมสีเขียว ระหว่างใบจะมีก้านใบแข็งและเชื่อมติดกันคล้ายรูปตัววี ลักษณะก้านใบสีเขียว

Read more

มะกอกน้ำ หรือ สมอพิพ่าย,สารภีน้ำ,สีชัง (Elaeocarpus Hygrophilus Kurz)

ถิ่นกำเนิดในเอเชียตั้งแต่อินเดีย มาเลเซียจนถึงอินโดนีเซีย ในลุ่มของป่าฝนเมืองร้อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถวแถบคาบสมุทรมลายูขึ้นมาถึงภาคเหนือตอนล่างของไทย มะกอกน้ำขึ้นได้ดีตั้งแต่มาเลเซียจนถึงจังหวัดเหนือสุดของไทย

Read more

อบเชย หรือ อบเชยต้น,มหาปราบ,เซียด,ฝักดาบ,พญาปราบ,ฮักแกง,สุรามริด,โมง,โมงหอม,เคียด, กะทังหัน (Cinnamomum Verum J.Presl)

ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ทึบ เปลือกนอกสีน้ำตาลอมเทา เรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยม มีช่องอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เปลือกในสีชมพู กระพี้สีขาว เปลือกและใบมีกลิ่นหอมแบบอบเชย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 2.5 – 7.5 เซนติเมตร ยาว 7.5 – 25 เซนติเมตร โคนใบมน ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม

Read more

ลำพู หรือ กาลา,คอเหนียง,สะบันงาช้าง,กระดังงาป่า,ตะกูกา,ลิ้นควาย,หงอกไก่,ขาเขียด,ลำพูขี้แมว,ลำแพน,ลำแพนเขา,ลำพูควน,เต๋น,ตุ้มเต๋น,ตุ้มบก,ตุ้มลาง,ตุ้มอ้า,ลาง,ลูกลาง,ลูกลางอ้า,ตะกาย,โปรง,บ่อแมะ,บะกูแม,กู,โก๊ะ,ซังกะ,เส่ทีดึ๊,ซิกุ๊,โก,ซ่อกวาเหมาะ,กาปลอง,เตื้อเร่อะ,ไม้เต๋น,ลำคุบ,ไม้เต้น,ซือลาง (Sonneratia Caseolaris L.)

ลำพูเป็นไม้ที่หิ่งห้อยชอบมาเกาะ ทำให้เกิดความสวยงามโดยเฉพาะในยามค่ำคืน ในอดีต ในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยเฉพาะในเขตพระนครมีต้นลำพูอยู่มาก เป็นที่มาของชื่อ “บางลำพู” ซึ่งเป็นชื่อย่านแห่งหนึ่งในเขต แต่ต่อมาต้นลำพูได้ถูกตัดทิ้งลงเป็นจำนวนมาก

Read more