วาโย ฟาร์ม เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่

กสิกรรมธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน และการพึ่งพาตนเอง

ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชา

รวมถึงการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

 

ตะเคียนทอง หรือ โกกี,แคน,จะเคียน,ตะเคียนใหญ่ ( Hopea Odorata)

ไม้ต้น  ขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 20 – 40 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือก  หนาสีน้ำตาล มีชันสีเหลืองเกาะตามเปลือก    ทั่วไป ต้นเล็กเปลือกจะเรียบ แต่เมื่อเป็นต้นใหญ่เปลือกจะแตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดเป็นพุ่มทึบกลมหรือรูปเจดีย์ต่ำ ๆ  ใบ  เป็นใบเดี่ยวออกสลับ รูปไข่แกมรูปหอกหรือรูปดาบ ท้องใบจะมีตุ่มคอมเมเซียเกลี้ยง ๆ อยู่ตามง่ามแขนงใบ 

Read more

มะกอกป่า หรือ กอก,กอกเขา,กูก ( Spondias pinnata L. f. )

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ต้นทรงพุ่ม ขยายแตกกิ่งก้าน ลำต้นมีลักษณะกลม เป็นไม้เนื้อแข็งเหนียว เปลือกต้นมีร่องแตก มีสีน้ำตาลอมเทา ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเป็นคี่เวียนสลับกันบนก้านใบยาว มีลักษณะทรงรีเรียว โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ใบเรียบลื่น จะมีใบอ่อนและยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่มีสีเขียว

Read more

มะกอกโอลีฟ (Olea Europaea L.)

ถิ่นฐานเดิมซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ ประเทศแถบบอลข่าน แถบที่ราบสูงอิหร่าน ปาเลสไตน์ จนถึงแถบชายฝั่งของซีเรีย ต่อมาได้กระจายมาถึง Chipre ต่อไปทาง Anatolio ผ่าน Crete (ชื่อเกาะที่อยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) ไปจนถึงอียิปต์ จนกระทั่งกระจายไปทั่วบริเวณลุ่มแม่น้ำติดกับชายฝั่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

Read more

สะเดา หรือ สะเลียม,กะเดา ( Azadirachta Indica A.Juss. Var. Siamensis Valeton)

ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาว ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ใบย่อย รูปไข่แกมรูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักฟันเลื่อย ยอดอ่อนสีแดงเรื่อ ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกสีขาว กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้และเพศเมียสีเหลือง

Read more

อโศกน้ำ หรือ โสกน้ำ,ส้มสุกโสก,ตะโดลีเต๊าะ,ชุมแสงน้ำ,กะแปะห์ไอย์ ( Saraca Asoca L.)

ไม้ต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลม แผ่กว้างและแน่นทึบ เปลือกต้นสีนํ้าตาลอมเทาหรือดำ ค่อนข้างเรียบหรือมีรอยแตกตื้นๆ ตามแนวยาว ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ มีใบย่อย 1 – 7 คู่ รูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ออกตรงข้ามกัน ยอดอ่อนสีแดงเรื่อ

Read more

นนทรี หรือ สารเงิน,กระถินป่า,กระถินแดง,นนทรีบ้าน (Peltophorum Pterocarpum)

ถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยในประเทศไทยนั้นสามารถพบได้ทั่วไปตามชายป่าเต็งรัง หรือป่าเบญจพรรณในภาคตะวันออก ภาคอีสาน และภาคเหนือ

Read more

หลุมพอ หรือ กะลุมพอ,มื่อบา,เมอเมา,สลุมพอ ( Intsia Palembanica Miq )

ถิ่นกำเนิดในอินโดแปซิฟิก มีการกระจายพันธุ์จากประเทศแทนซาเนียและประเทศมาดากัสการ์ไปทางตะวันออกผ่านประเทศอินเดียและรัฐควีนส์แลนด์, ประเทศออสเตรเลียถึงหมู่เกาะแปซิฟิกของประเทศซามัว

Read more

มะม่วงเขียวเสวย ( Mangifera Indica L. )

มะม่วงเขียวเสวย เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกหลักกิ่ง และกิ่งแขนงน้อย จนแลดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นแตกเป็นสะเก็ดขนาดเล็ก สีดำอมเทา ใบมะม่วงเขียวเสวย ออกเป็นใบเดี่ยวๆ เรียงสลับกันที่ปลายกิ่ง ใบค่อนข้างรียาว สีเขียวเข้ม และเป็นมัน ขนาดใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร

Read more

ตะแบก หรือ ตะแบกนา,ตะแบกไข่,เปื๋อยนา,เปื๋อยหางค่าง ( Lagerstroemia Calyculata Kurz )

ต้นมีความสูงประมาณ 15 – 30 เมตร แตกแขนงบนเรือนยอด ทรงพุ่มเป็นรูประฆัง กิ่งแตกแขนงจำนวนปานกลาง โคนต้นเป็นพูพอนสูงและเป็นร่องลึกล้อมรอบลำต้น ยาวสูงจนถึงกลางลำต้น ลำต้นส่วนปลายไม่เกิดร่อง มีแผลเป็นหลุมตื้นตลอดลำต้นอันเกิดจากผิวด้านนอกแตกสะเก็ดหลุดออก

Read more

พยอม หรือ แดน,ยางหยวก,กะยอม,เชียง,เซียว,เซี่ย,พะยอมทอง,ขะยอมดง,พะยอมดง,สุกรม,คะยอม ขะยอม,ยอม,ขะยอม,พะยอมแดง,แคน ( Shorea Roxburghii G.Don)

ต้นมีความสูงประมาณ 15-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นอาจยาวถึง 300 เซนติเมตร เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม แตกเป็นร่องตามยาวและเป็นสะเก็ดหนา ส่วนเนื้อไม้มีสีเหลืองถึงสีน้ำตาล ลักษณะของต้นเป็นทรงพุ่มกลมสวยงามมาก แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ถ้าหากปลูกในที่โล่งแจ้งและไม่มีพรรณไม้ใหญ่ชนิดอื่นอยู่ใกล้ ๆ

Read more

ว่านหางจระเข้ หรือ หางตะเข้,ว่านไฟไหม้ (Aloe Vera (L.) Burm.f.)

ต้นเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูงประมาณ 0.5 – 1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น เนื้ออ่อน อวบน้ำ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและรูปร่างยาว โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ริมใบหยักและมีหนาม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบสีเขียวใสและมีรอยกระสีขาว ใบจะอุ้มน้ำได้ดี ภายในมีวุ้นและเมือกใสสีเขียวอ่อนๆ

Read more

หมาก หรือ หมากเมีย,หมากสง,เซียด,มะ,เค็ด,พลา,สะลา,สีซะ,หมากมู้,ปีแน,ปิงหวาง,ปีงน๊อ (Areca Catechu Linn.)

ถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย และในปัจจุบันก็ยังสามารถพบได้ในเขตร้อนหลายประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก รวมถึงบางส่วนของทวีปแอฟริกา เช่นประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย

Read more