มะนาวทูลเกล้า (Citrus Aurantifolia (Christm.) Swingle)

ผล รูปทรงกลมมีขนาดใหญ่ให้น้ำเยอะ รสชาติเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอมและเป็นมะนาวสายพันธุ์ที่ไม่มีเมล็ดโดยธรรมชาติ

มะนาวคาเวียร์ หรือ มะนาวนิ้วมือ (Citrus Australasica)

ต้นเป็นพุ่มมีหนามแหลมยาว ความสูงประมาณ 5 -6 เมตร ใบขนาดเล็ก ผิวใบเรียบ ปลายใบหยักมน มีความกว้างประมาณ 3-25 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-6 เซนติเมตร  ใบเรียวเล็กคล้ายมะขวิด มะสัง ในบ้านเรา มีหนามแหลมเล็กเป็นจำนวนมาก

มะนาวแป้น (Citrus Aurantifolia Christm. Swingle.)

ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากไม่เป็นระเบียบ มีหนามกิ่งก้านมาก ใบ ทรงรียาว ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบหยัก แผ่นใบมีจุดน้ำมันกระจายอยู่ ดอกมะนาวแป้น เมื่อออกดอก ดอกจะมีสีขาวเมื่อดอกบานกลีบในจะเห็นมีปลายแหลม เกสรตัวผู้มีสีเหลือง ความกว้างดอกจะกว้างประมาณ 2 – 3 เซ็นติเมตร

มะนาวตาฮิติ หรือ มะนาวไร้เมล็ด,มะนาวเปอร์เซีย (Citrus Aurantifolia Christm. Swingle)

ลำต้น มะนาวตาฮิติจัดเป็นไม้พุ่ม กิ่งก้านมีหนามแหลม ซึ่งกิ่งก้านนั้นมักจะโค้งงอลงและยาวเกือบทอดเลื้อยไปตามหน้าดิน ใบของมะนาวตาฮิติเป็นใบประกอบชนิดลดรูปที่มีใบย่อยใบเดียว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่กว้าง ส่วนปลายและโคนใบจะแหลม ผิวใบเรียบ มีสีเขียวสดเป็นมัน

มะนาว หรือ ส้มมะนาว,ส้มนาว,โกรยซะม้า,หมากฟ้า (Citrus Aurantifolia)

ถิ่นกำเนิดจากเมืองที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยแรกเริ่มนั้นผู้คนต่างนำมะนาวมาเพื่อประกอบอาหารเนื่องจากมีรสชาติเปรี้ยว ลักษณะลำต้นของต้นมะนาวนั้นจะเป็นไม้พุ่ม มีลักษณะเป็นพุ่มหรือพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดเล็กมีความสูงตั้งแต่ 0.5-5 เมตร

มะสัง หรือ หมากกะสัง, กะสัง,หมากสัง (Feroniella lucida)

มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมยาวปกคลุม ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ มีใบย่อย 3 – 5 คู่ รูปไข่กลับแกมรูปรี ปลายใบมน โคนใบสอบ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อและมีขนอ่อนปกคลุม แผ่นใบเมื่อส่องกับแสงจะเห็นต่อมน้ำมันใสกระจายทั่วใบ