ต้นยี่หร่า (Ocimum gratissimum L.)

ต้นยี่หร่าเป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลแก่ แตกกิ่งก้านสาขาขนาดเล็ก กิ่งก้านไม่ใหญ่ ในช่วงปีแรกและปีที่สองจึงออกดอกออกผล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง

ผักหวานป่า (Melientha suavis Pierre)

ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 5-15 เมตร เนื้อไม้แข็ง เปลือกของลำต้นเมื่ออายุน้อยผิวเปลือกเรียบ สีเทาอมเขียว และเมื่ออายุมากขึ้นเปลือกแตกเป็นร่องรูปสี่เหลี่ยม สีเทาอ่อนอมน้ำตาล

ผักเหลียงใบใหญ่ (Gnetum gnemon var. tenerum)

ใบ ผักเหลียง เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ มีลักษณะใบคล้ายใบยางพารา ใบแตกออกที่ปลายกิ่งแขนง แตกออกเป็นใบเดี่ยวตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ใบมีลักษณะรี มีก้านใบยาวประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลม

ชะอม หรือ โต๊ะปัว, ผักหละ, ผักหา, ฝ่าเซ้งดู่, พูซูเด๊าะ, โพซุยโดะ, ผักหล๊ะ, อม, ผักขา ( Acacia pennata L.)

ต้น ไม้พุ่มเตี้ยขนาดย่อม ลำต้นสีขาวมีหนามกระจายอยู่ทั่วไป กิ่งชะอมจะเลื้อยตามลำต้น
ใบ ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงสลับ หูใบรูปหอก กว้าง 1.0-1.5 ซม. ยาว 3-5 ซม.

ผักไชยา หรือ มะละกอกินใบ, คะน้าเม็กซิกัน, ต้นผงชูรส (Cnidoscolus Chayamansa.)

ลำต้น ทรงพุ่ม ลักษณะอวบน้ำ ความสูงประมาณ 2 ถึง 6 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
ใบ ใบเดี่ยว ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ ขอบเป็นแฉกๆ ใบหนึ่งมี 3 ถึง 4 แฉก

มะตูมแขก หรือ มะตูมซาอุ,สะเดาบาห์เรน (Schinus Terebinthifolia)

มะตูมแขก เป็นไม้ในวงศ์มะม่วง ลักษณะเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก เป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบ สูง 7-10 เมตร ยอดอ่อนสีส้มอมแดง มีกิ่งก้านมากจนมองไม่เห็นลำต้น แตกกิ่งก้านได้ดี ยิ่งตัดยอดยิ่งแตก ทำให้มียอดอ่อนไว้รับประทานเป็นผักสดได้ตลอดปี

ต้นแมงดา หรือ ทำมัง,ธัมมัง (Litsea Petiolata Hook.f.)

ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปกรวยกว้างหรือรูปไข่ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบ หรือแตก เป็นสะเก็ดเล็กบางๆ และมีรอยด่างสีขาวกระจายทั่วไป

ชะมวง หรือ มะป้อง,ส้มป้อง,หมากโมง,หมากส้มโมง,ส้มมวง,กะมวง,มวง,กานิ,ตระมูง (Garcinia Cowa Roxb.)

ชะมวง จัดเป็นพันธุ์พืชท้องถิ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พม่า มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยมักจะพบตามป่าดิบชื้นทั่วไป รวมถึงที่ราบลุ่มที่มีความชื้นพบสมควร ซึ่งมักจะพบตามป่าที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 600 เมตร ขึ้นไป

สะเดา หรือ สะเลียม,กะเดา ( Azadirachta Indica A.Juss. Var. Siamensis Valeton)

ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาว ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ใบย่อย รูปไข่แกมรูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักฟันเลื่อย ยอดอ่อนสีแดงเรื่อ ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกสีขาว กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้และเพศเมียสีเหลือง

เสม็ดขาว หรือ กือแล,เม็ด,เหม็ด, เสม็ด ( Melaleuca quinquenervia Cav.)

ต้นเมส็ด คือ ต้นไม้ที่มีขนาดของลำต้นค่อนข้างใหญ่และแข็งแรง เปลือกไม้จะมีสีขาวนวลทั้งหมด แล้วเรียงตัวกันเป็นชั้นๆ แต่พอแกะดูเปลือกด้านใน กลับกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อน  ใบมีความเรียวยาว ปลายใบโค้งมน และมีเส้นใบวางตัวตามแนวยาว ผิวสัมผัสที่หน้าใบเรียบลื่น มีสีเขียวเข้มเสมอกันทั้งใบ จะมีสีอื่นแซมเข้ามาเล็กน้อยบริเวณก้านใบและปลายใบ

ขี้เหล็กเทศ หรือ ขี้เหล็กผี พรมดาน ชุมเห็ดเล็ก ขี้เหล็กเผือก หมากกะลิงเทศ ลับมืนน้อย ผักเห็ด กิมเต่าจี้ ม่อกังน้ำ ผักจี๊ด (Cassia Occidentalis Linn.)

ต้น เป็นพรรณไม้ปีเดียวตาย ลำต้นมีความสูง 1-2 เมตร เนื้อไม้ตรงโคนต้นจะแข็ง และจะแตกกิ่งก้านสาขามาก ใบ จะออกสลับกัน ส่วนก้านใบนั้นเป็นใบร่วมยาวประมาณ 3-5 ซม. ตรงโคนใบจะมีตุ่มนูนออกมา 1 ตุ่ม ใบย่อยมีราว 3-5 คู่ คู่ปลายนั้นจะมีขนาดใหญ่ คู่ถัดไปจะมีขนาดเล็กลงนาตามลำดับ ลักษณะปลายย่อยนั้นจะรีปลายของมันจะแหลมยาวประมาณ 3-6 ซม.

มะกรูด หรือ มะขูด, มะขู,ส้มกรูด,ส้มมั่วผี (Citrus Hystrix)

ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง

ขี้เหล็ก หรือ ขี้เหล็กแก่น,ขี้เหล็กบ้าน,ผักจี้ลี้,แมะขี้แหละพะโด,ยะหา,ขี้เหล็กใหญ่,ขี้เหล็กหลวง,ขี้เหล็กจิหรี่ (Senna Siamea L.)

ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแคบ เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาวใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 13-19 ใบ รูปรี กว้าง 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ปลายใบเว้าตื้นๆ โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบร่วมสีน้ำตาลแดง

กะเพราแดง หรือ กะเพราบ้าน,ห่อตูปลู,ห่อกวอชู,กะเพราขน,กะเพราขาว,กอมก้อ,กอมก้อดำ,อีตู่ไทย (Ocimum Tenuiflorum L.)

ใบและลำต้นมีสีเขียวอมม่วงแดง ใบทั้งสองด้านมีขนมากโดยเฉพาะส่วนยอด เนื้อใบบาง ใบรูปร่างรีหรือรีขอบขนาน กว้าง 1 – 2.5 เซนติเมตร ยาว 2 – 4.5 เซนติเมตร ปลายใบและโคนใบอาจแหลมหรือมน ขอบใบค่อนข้างหยัก ใบและยอดรสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอม

กะเพราเขียว หรือ กะเพราขน,อีตู่ไทย (Ocimum Tenuiflorum L.)

เป็นพืชพื้นเมืองของเขตร้อนในถิ่นโลกเก่า คือบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชียและแอฟริกาแต่พบมากในแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ล้มลุกมีกิ่งก้านและขนปกคลุมมาก ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสีเขียวกันเป็นคู่ๆ รูปรี ปลายใบแปลม หรือมน ขอบใบหยักแบบพันเลื่อย ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกติดรอบแกนช่อเป็นระยะๆ

462 รายชื่อผัก-สมุนไพร เรียง ก-ฮ + 11 เห็ดน่าเพาะมีประโยชน์ ( Vegetables – Herbs )

ผักกินใบ-ต้น 1 ตำลึง ปลูกง่ายครั้งเดียวกินได้ตลอดไป 2 ชะอม ปลูกง่ายครั้งเดียวกินได้ตลอดไป เพาะจากเมล็ดอายุจะยืน 3 กวางตุ้ง ช่วยในการขับถ่าย และยังเป็นผักที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สำหรับกวางตุ้งฮ่องเต้มีวิตามินสูงโดยเฉพาะวิตามินเอและวิตามินซี…