ไหหลำ หรือ พะยูงไหหลำ,พะยูงหอม,ฮวงฮวาลี ( Dalbergia Odorifera)

มีต้นกำเนิดที่เกาะไหหลำ สาธารณรัฐจีน เป็นไม้จักรพรรดิ์ในอดีตของประวัติศาสตร์จีน ทางจีนเรียก     ไม้ฮวงหัวลี่ เป็นไม้ที่ไม่ติดอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ หรือเรียกโดยย่อว่า ไซเตส (Cites) สามารถนำเข้าปลูกได้ในประเทศไทยและตัดส่งออกต่างประเทศได้ไม่ติดข้อกฎหมาย

ประดู่ป่า หรือ ประดู่เสน,ดู่,ดู่ป่า,จิต๊อก,ตะเลอ,เตอะเลอ,ฉะนอง,กะเลน (Pterocarpus Macrocarpus)

ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ นอกสีน้ำตาลดำ หนา แตกสะเก็ด เปลือกในสีน้ำตาล มีน้ำเลี้ยงสีแดง เนื้อไม้แข็งสีแดงอมเหลือง มีลวดลายสวยงาม ใบประกอบขนนกชั้นเดียว ปลายใบคี่ เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 2.5 – 5 เซนติเมตร ยาว 5 – 15 เซนติเมตร

พะยูง หรือ ขะยุง,แดงจีน,ประดู่ตม,ประดู่น้ำ,พะยูงไหม,ประดู่ลาย,ประดู่เสน,กระยง,กระยุง (Dalbergia Cochinchinensis Pierre.)

ต้นพะยูง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบช่วงสั้น ๆ มีลักษณะคล้ายกับต้นประดู่ โดยมีความสูงของต้นได้ถึง 25 -30 เมตร เมื่อโตเต็มที่ลำต้นจะมีลักษณะเปลาตรง มีเรือนยอดเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ทึบ

ประดู่ หรือ ดู่บ้าน,ประดู่บ้าน,อังสนา,สะโน (Pterocarpus macrocarpus L.)

ต้นประดู่ เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย และอยู่ในแถบอันดามัน มัทราช เบงกอล ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ลำต้นสูง 15 – 30 เมตร หุ้มด้วยเปลือกหนาสีน้ำตาลซึ่งแตกสะเก็ดเป็นร่อง ลึก มีนํ้ายางมาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ

ยางนา หรือ ชันนา, ยางตัง, ทองหลัก, ยาง, ยางแม่น้ำ, ยางขาว, ยางควาย ( Dipterocarpus Alatus )

ชื่อ – ชนิด พันธุ์ ยางนา หรือ ชันนา, ยางตัง, ทองหลัก, ยาง, ยางแม่น้ำ, ยางขาว, ยางควาย ชื่อวิทยาศาสตร์ Dipterocarpus Alatus ประวัติ ต้นยางนา พบได้ทั่วไปในประเทศไทย ซึ่งยืนยันได้จากชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ที่มีคำว่า “ยาง” มีอยู่ในทุกภาคของประเทศ