ไผ่เลี้ยง (Bambusa multiplex (Lour.) Raeusch. ex Schult. )

ไม้ล้มลุก  มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นทรงกระบอกกลวง ตั้งตรง ขนาด 1-4.5 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง สีเขียว ไม่มีหนาม เนื้อเเข็ง ข้อปล้องชัดเจน ปล้องยาว 20-30 เซนติเมตร มีกาบหุ้มลำต้น ยอดกาบหนาแข็งมีขน

ไผ่รวกดำ,ไผ่รากดำ,ไผ่เปา,ไผ่ตง,ไผ่สะหลอน,ว่าบอซู (Thyrsostachys siamensis Gamble.)

ต้น ไผ่รวกดำขึ้นเป็นกอแน่นลำเปลาตรงสูงประมาณ 10-25 เมตร กิ่งเรียวเล็กเฉพาะตอนปลายลำเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 ซม. เมื่อยังอ่อนมีสีเขียวสดมีขนอ่อนสีเทาพอลำแก่มีสีเขียวอมเหลือง ข้อโตมองเห็นได้ชัด

ไผ่มันหมู หรือ ไผ่หกน้ำ,ไผ่ขี้มอด (Dendrocalamus copelandii (Gamble ex Brandis) N.H. Xia & Stapleton)

ลำต้นตรงสูง 25-30 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 20-25 ซม. เนื้อหนาประมาณ 2-3 ซม. ตอนกลางลำต้นไม่มีกิ่ง ตอนปลายลำเป็นสีเขียวอมเทาคล้ายกับมีขี้ผึ้งสีขาวคลุมทั่ว ข้อตอนกลางมีขนและมีรอยราก

ไผ่โปก หรือ ไผ่เป๊าะ,ไผ่หวาน,ว่ากวา (Dendrocalamus giganteus Munro.)

เป็นไม้ไผ่ขนาดใหญ่ เป็นกอกิ่งเรียว ปล้องค่อนข้างสั้นบาง ตอนล่างของลำเปลาไม่มีกิ่ง ตอนปลายลำสีเขียวอมเทาคล้ายกับมีขี้ผึ้งสีขาวคุมทั่วๆ ไป ลำต้นอ่อน ข้อตอนล่างมีขนและมีรอยราก มีกิ่งหลายกิ่ง

ไผ่บงใหญ่ (Bambusa nutans Wall.)

ขึ้นเป็นกอแน่นและมีการแตกกิ่งปลายยอดของลำ กิ่งใหญ่แตกตั้งได้ฉากกับลำ บริเวณข้อของลำในส่วนที่ใกล้โคน มีรากฝอยแตกออกมาโดยรอบ เนื่องจากมีการ แตกกิ่งจำนวนมาก ลำของไผ่บงจึงแลดูคดงอเป็นส่วนใหญ่ ผิวของลำไม่เรียบมีลักษณะคล้ายขนสีนวลหรือเทา บางครั้งมีลักษณะคล้ายแป้งติดอยู่ที่ลำไผ่บง

ไผ่ติง (Bambuseae)

ลำต้นแตกเป็นกอเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ กอหนึ่งมีประมาณ 20-50ต้นลำต้นมีความสูงประมาณ 5 – 15 เมตรลักษณะลำต้นเป็นข้อปล้องผิวเกลี้ยงแข็งมีสีเขียวหรือเหลืองแถบเขียว

ไผ่ตงหม้อ (Dendrocalamus asper Backer.)

กล่าวกันว่าไผ่ตงนำมาจากจีน บางครั้งมีรายงานว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากอินโดเนเซีย แต่ยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากที่ใด ในไทยนิยมปลูกทั่วทุกภาค ไม่พบในป่าธรรมชาติ บางครั้งอาจพบขึ้นเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ป่าที่เคยมีการทำสัมปทานไม้ในอดีต

ไผ่ดำชวา (Bambusa vulgaris Schrad.)

ลำต้นเป็นปล้องยาว ผิวเกลี้ยงสีเขียวอมม่วง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก ปลายแหลม โคนสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบสาก สีเขียว ดอก ออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกแข็งเรียงตัวแน่น

ไผ่เฉียงรุน (Dendrocalamus spp.)

พบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองพนม บริเวณป่าเขาพุชิง ในท้องที่หมู่บ้านสองพี่น้อง ตำบลคลองศก อำเภอคลองอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นไม้ไผ่ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสำรวจพบในประเทศไทย

ไผ่เงิน หรือ ไผ่แมว (Thyrsostachys siamensis Gamble)

เป็นพืชกลุ่มไผ่ขนาดเล็ก ลำต้นต้นไผ่เงินมีลักษณะเป็นทรงกระบอก มีกาบห่อหุ้ม ลำต้นไม่มีหนาม เนื้อแข็ง ข้อปล้องเห็นได้ชัดเจน ลำต้นมีสีเขียว ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว บริเวณปลายจะแหลม ขอบค่อนข้างเรียบ ผิวใบค่อนข้างสาก มีสีเขียวสลับกับแถบสีขาว

ไผ่ขวานหิน (Bambuseae)

ลำต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 7-15 เมตร ส่วนโคนมีเนื้อหนาเกือบตัน ที่ปลายลำมีเนื้อบาง  ปลายใบเรียวแหลม โคนใบป้านหรือเกือบกลม ยาว    7-22 ซม. กว้าง 0.5-1.5 ซม. ท้องใบมีขน เส้นกลางใบข้างบนแบน เส้นลายใบ 4-6 เส้น ขอบใบสากและคม ก้านใบสั้น 0.5 ซม.

ไผ่กอแก้ว (Bambuseae)

ขนาดเล็กลำตรง สีเขียวสวย มีขนาดความสูงไม่สูงมาก ใบเป็นใบเดี่ยวยาวแคบลักษณะคล้ายรูปหอกขอบใบเรียบผิวใบสีเขียวมีขนอ่อนๆคลุมบนผิวใบ ออกดอกเป็นช่อตามปลายยอดบริเวณข้อปล้องเมื่อดอกแห้งก็จะตายไป

ไผ่เลี้ยงหวาน (Bambusa Sp.)

ลำต้น เป็นไผ่ประเภทหนึ่งนิยมรับประทาน เป็นไม้ยืนต้นมีอายุยืนยาว มีเหง้าใต้ดิน แตกออกขึ้นเป็นกอ ออกหน่อเหนือดิน มีกาบหุ้มหน่อสีเหลืองอมเขียว มีลำต้นเป็นปล้องๆ แบ่งเป็นสองส่วน ลำต้นใต้ดินและลำต้นเหนือดิน มีหน่ออ่อนแตกเหง้าออกจากดิน

ไผ่หลอด (Neohouzeaua Mekongensis.)

ลำต้นมีสีเขียวเป็นมัน เป็นไผ่ขนาดเล็ก สูงประมาณ 3-4 เมตร ปล้องยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ไม่มีหนาม ขึ้นเป็นกอเป็นพุ่ม แขนงสั้น ใบสีเขียว เรียวเล็ก   หน่อเล็ก มีขนหน่อสีเทา มีกาบสีขาว