ไผ่ยักษ์น่าน (Dendrocalamus Giganteus)
ลำไผ่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีผิวเรียบเป็นมันและไม่มีขนโดยขนาดของลำไผ่ยักษ์น่านที่โตเต็มวัยสามารถโตได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12-16 นิ้ว
ลำไผ่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีผิวเรียบเป็นมันและไม่มีขนโดยขนาดของลำไผ่ยักษ์น่านที่โตเต็มวัยสามารถโตได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12-16 นิ้ว
ต้น ไม้ล้มลุก สูง 5-10 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นทรงกระบอกกลวง ตั้งตรง ผิวเรียบ สีเขียวอมเทา ไม่มีหนาม เนื้อแข็ง ข้อปล้องชัดเจน แต่ละปล้องยาว 15-30 เซนติเมตร
ลำต้น เดี่ยว ขึ้นเป็นกอหลวมๆสูง 3-5 เมตร ปล้องยาว 20-30 ซม. เนื้อหนา 2-3 มม. ลำอ่อนสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือดำตลอดลำ เมื่อต้นแก่เต็มที่ แตกกิ่งต่ำ ใบรูปแถบสีเขียวสด กาบหุ้มข้อสีน้ำตาลแดง หน่ออ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายยอดบริเวณข้อปล้องเมื่อดอกแห้งก็จะตายไป
ลำต้นทรงกระบอกกลวง ตั้งตรง ผิวมีนวลเกาะ และลำตันหรือมีรูเล็กมาก ไม่มีหนาม สูงได้กว่า 10 เมตร ลำทรงกลมเมื่อโตเต็มที่เท่าข้อมือผู้ใหญ่ ลำช่วงล่างมีข้อปล้องสั้น เนื้อลำตัน หรือถ้ามีรูก็เล็กนิดเดียว เนื้อไม้หนา เสี้ยนใหญ่
ชื่อ – ชนิด พันธุ์ ไผ่ ปักกิ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendrocalamus sp. ประวัติความเป็นมา “ไผ่ปักกิ่ง” หรือไผ่จีน เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศจีน ลักษณะลำต้น ลำต้นสีเหลืองอมเขียว กาบหุ้มลำต้นถี่และหลุดง่าย
วิธีการเลือก และการใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ การปลูกไผ่ การขยายพันธุ์ การดูแลบำรุงรักษาไม้ไผ่ ไผ่แต่ละชนิด ไผ่ป่า ( Bambusa Bambos ) ไผ่ข้าวหลาม, ไผ่ข้าวหลามกาบแดง หรือไผ่ข้าวหลามยอดแดง
ไผ่ข้าวหลาม, ไผ่ข้าวหลามกาบแดง หรือไผ่ข้าวหลามยอดแดง ( Cephalostachyum Pergracile ) นับได้ว่าเป็นอีกตัวที่มาก ความต้องการอยู่ทุกๆวัน ในการนำไปทำกระบอกข้าวหลาม ไผ่ข้าวหลาม เป็นไผ่ขนาดกลาง ลำต้นลักษณะตรง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-8 ซม.
ไผ่รวกหวาน ( Thyrsostachys Siamensis ) เช่น ไผ่ลวกหวานภูกระดึง ลำไผ่ไม่ค่อยมีกิ่งแขนง ลำเรียวตรง ลำต้นทนทานแข็งแรง เนื้อหนาใช้ประโยชน์ได้มากมายเป็นที่ต้องการของตลาด เป็นไผ่ขนาด เล็ก-กลาง
ไผ่ซางหม่น “นวลราชินี” ( Dendrocalamus sericeus ) ลำใหญ่ตรงสูงประมาณ 15-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำเฉลี่ย 6-10 ซม. ปล้องยาว 30-40 ซม. ลำมีสีเขียวหม่น ลำอ่อนมีแป้งสีขาวที่ปล้อง ลำแก่สีเขียวเข้มเนื้อหนาใบคล้ายไผ่ตง พบมากทางภาคเหนือ การขยายพันธุ์ โดยการตอนกิ่ง การชำกิ่งแขนง
ไผ่ซางนวล (ภาคเหนือ), ไผ่ซางดอย, ไผ่ซาง, ไผ่ไล่ลอ (น่าน), ไผ่นวล (กาญจนบุรี) ( Dendrocalamus Membranaceus Munro ) เป็นไผ่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 8-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำ ประมาณ 6-16 ซม. ลำมีสีเขียวนวล ลำอ่อนมีผงสีขาวคล้ายแป้งปกคลุมลำไม่มีหนาม
ไผ่หม่าจู๋ หรือ ไผ่หวานอ่างขาง เป็นไผ่ต่างถิ่นนำเข้ามาจากประเทศไต้หวัน เป็นไผ่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 8-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำ ประมาณ 6-16 ซม. ลำ มีสีเขียวนวล ไม่มีหนาม หน่อมีสีเหลืองส้ม ใบมีขนาดใหญ่ใช้ห่อขนมได้ การขยายพันธุ์ การตอน การชำกิ่งแขนง การชำลำ และการแยกเหง้า การใช้ประโยชน์
กลุ่มไผ่ยักษ์ ( Dendrocalamus Giganteus ) เช่น ไผ่หกยักษ์ ไผ่ตงหม้อ ( ไผ่ตงไทย ) ไผ่ยักษ์เมืองน่าน ไผ่ลำใหญ่ เนื้อหนาลำตรงสวย เป็นไผ่ใช้ลำขนาดใหญ่ ขนาดลำไม้โตเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-10 นิ้ว ยาว 25-35 เมตร น้ำหนักต่อลำ 150-250 กิโลกรัม เนื้อไม้ตรงยาวเรียว สีน้ำตาลออกเขียวๆ เนื้อไม้หนามาก
ไผ่เหลือง ไผ่แซงคำ ไผ่ซางคำ ( Bambusa Vulgaris ) ไผ่เหลือง ไผ่แซงคำ ไผ่ซางคำ จัดเป็นไผ่มงคลนิยมปลูกประดับมีสรรพคุณทางยา ประโยชน์ไผ่เหลือง นอกจากจะใช้เป็นไม้ประดับตามบ้านเรือนแล้ว จะมีเรื่องความเชื่อคือไผ่สีเหลืองหรือไผ่สีทองจะเป็นไผ่มงคล โดยเชื่อกันว่านำความผาสุขมาให้แก่ครอบครัว รวมถึงเรื่องโชคลาภเงินทอง สรรพคุณไผ่เหลือง
ไผ่เลี้ยง ไผ่เลี้ยงลำ ไผ่สร้างไพร ไผ่เซียงไพร ( Bambusa Multiplex ) จะมีกอใหญ่แต่ดูโปร่งไม่รก กิ่งแขนงด้านล่างไม่มี ลำไม้ไผ่สวย ขนาดสูงยาว ประโยชน์ของไผ่สร้างไพร เราสามารถนำไม้มาใช้ทำบันได โรงเรือน นั่งร้าน รั้วบ้านรั้วสวน หรือคอกสัตว์ต่างๆได้เป็นอย่างดี การปลูกไผ่เพื่อขายลำไม้ ถ้าจะทำจริงจังต้องปลูกจำนวนมาก
ไผ่บงหวาน ( Bambusa Burmanica ) ด้วยลักษณะเด่นอยู่ที่หน่อไผ่มีรสชาติไม่ขมสามารถกินเป็นหน่อไม้ดิบเหมือนผักสดและไม่ขมติดลิ้นเหมือนหน่อไม้ไผ่พันธุ์อื่นๆ นำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย อาทิ ต้มจิ้มน้ำพริก ผัดน้ำมันหอย ชุบแป้งทอดและต้มจืดกระดูกหมูเป็นต้น เทคนิคในการบริโภคไผ่บงหวานให้ได้รสชาติอร่อย จะต้องต้มน้ำให้เดือดแล้วค่อยใส่ไผ่บงหวานลงไป
ไผ่ลำมะลอก หรือไผ่ย้ายกอ ( Bambusa Longispiculata ) เป็นไผ่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ กอไม่แน่น มีระยะห่างระหว่างลำพอควร (1-1.5 ฟุต) สูงประมาณ 10-15 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำ ประมาณ 7-10 ซม. ลำ มีสีเขียวเข้ม ไม่มีหนาม ข้อเรียบ กาบของหน่ออ่อนมีสีเหลืองปนส้มเห็นเด่นชัด
ไผ่กิมซุง หรือ ไผ่ตงลืมแล้ง ( Bambusa Beecheyana ) ไผ่ตงลืมแล้ง หรือ ไผ่กิมซุง มีลักษณะที่โดดเด่นกว่าไผ่ชนิดอื่นตรงที่ ออกหน่อได้แม้ในหน้าแล้งหรือในช่วงที่ไผ่อื่นไม่มีหน่อ ( ทำหน่อไผ่นอกฤดู ) ทั้งยังออกหน่อดก ให้ผลผลิตเร็ว ( ประมาณ 7 เดือน )
ไผ่สีสุก ( Bambusa Blumeana ) เป็นไผ่กอขนาดใหญ่ หนาแน่นมาก มีความสูงตั้งแต่ 15-25 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำ ประมาณ 10-20 ซม. ปล้องยาวประมาณ 25-60 ซม. กิ่งและแขนงมีหนามแหลมคม ลำมีเนื้อหนาประมาณ 3-7 มม. ส่วนโคนลำจะหนา ถึง 1.5 ซม.
ไผ่ป่า ( Bambusa Bambos ) ไผ่ป่าหรือไผ่หนามเป็นไผ่ขนาดใหญ่กอแน่นสูงถึง 30 เมตรเส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 15 – 18 ซม. ปล้องยาวประมาณ 20 – 40 ซม. ลำอ่อนสีเชียวลำแก่มีสีเขียวอมเหลืองมีหนามและแขนงรกแน่นโดยเฉพาะบริเวณโคนลำหรือกอ เนื้อลำหนาถึงหนามาก ข้อมีลักษณะบวมเล็กน้อย…
การปลูกไผ่ การขยายพันธุ์ การดูแลบำรุงรักษาไม้ไผ่ การเพาะเมล็ด เมล็ดไผ่แท้จริงแล้วคือผล มีลักษณะคล้ายเมล็ดข้าว (ภาพที่ 13) ไผ่แต่ละ ชนิดมีวงจรชีวิตถึงอายุที่ออกดอก-ผลแตกต่างกันไป บางชนิดมีอายุเพียง 30 ปี บางชนิดมีอายุยาวกว่า 100 ปี…
ไผ่ไม้เศรษฐกิจ ไผ่ แต่ละชนิดจะมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป การใช้ประโยชน์ ไผ่จึงต้องคัดเลือกชนิดพันธุ์ที่เหมาะสม โดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดไผ่ตามการใช้ ประโยชน์ได้ 3 กลุ่ม คือ 1. ไผ่เพื่อผลผลิตหน่อ เช่น ไผ่ตง ไผ่บงใหญ่ ไผ่ซาง ไผ่สีสุก ไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่กิมซุ่ง ไผ่หม่าจู๋ ไผ่ปักกิ่ง ไผ่บงหวาน…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า