วิธีลดการรั่วซึมของหนองน้ำ (ย่ำขี้)
วิธีธรรมชาติ ลดการรั่วซึมของหนองน้ำ
การย่ำขี้
ข.ส.ฟ. (ขี้เสริมฟาง)
- มีความยืดหยุ่นสูงตามธรรมชาติ
- คนและสัตว์ลงไปเหยียบย่ำจะทำให้แน่นดีมากขึ้น
- ฟางเป็นเส้นใยช่วยในการยึดเกาะของขี้และดิน
- ขี้สดมีไขมันสูง ช่วยในการเคลือบผิวหนองน้ำได้ดี
- ขี้และฟางเป็นอาหารของแพลงตอน ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์น้ำต่าง ๆ
- ซากแพลงตอนและจุลินทรีย์จะทับถมกัน โดยมีน้ำเป็นตัวนำพาเข้าไปอุดช่องว่างของดิน ทำให้หนองสามารถเก็บกักน้ำได้
- น้ำส่วนที่ซึมผ่านผนังหนองยังสามารถซึมลงสู่ดินเพื่อกระจายความชุ่มชื้นได้
- อายุการใช้งานยาวนาน สามารถย่ำขี้เสริมฟางได้ทุกฤดูแล้ง
เก็บกักน้ำได้ทั้งในหนองและใต้ดิน

ย่ำขี้…ยาบ่อด้วยมูลสัตว์
มูลสัตว์นั้นนอกจากมีประโยชน์ในการใช้ทำเป็นปุ๋ยเพื่อปรับปรุงบำรุงดินแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ยาพื้นดินเพื่อให้น้ำไม่ซึม เช่น ใช้ยาลานตากข้าว หรือยาก้นบ่อโดยรอบ เพื่อกันน้ำซึมออกจากบ่ออันจะทำให้บ่อน้ำนั้นกักเก็บน้ำไม่อยู่ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากสำหรับพื้นที่ที่เป็นดินร่วน ดินทราย หรือดินลูกรัง ที่กักเก็บน้ำไม่ได้เพราะน้ำจะซึมผ่านชั้นดินออกไป
มูลสัตว์ที่ใช้ ควรเลือกมูลวัวหรือมูลควาย เพราะเป็นสัตว์ที่กินหญ้าหรือพืช มูลจึงมีเส้นใยของพืชผสมอยู่ เมื่อนำมาย่ำผสมกับน้ำคลุกกับผิวดินแล้วทิ้งให้แห้ง จะสานกันเป็นแผ่นช่วยยึดหน้าดิน อีกทั้งการทำงานของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในมูลสัตว์ จะแทรกเข้าไปอุดช่องว่างในเนื้อดิน เป็นตัวประสานทำให้ดินยึดเกาะติดกัน จึงทำให้ช่วยลดการรั่วซึมของน้ำได้
นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างระบบนิเวศให้กับบ่อน้ำ เพราะมูลสัตว์ทำให้เกิดแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ เช่น หนอนแดง และไรแดง อันเป็นอาหารของกุ้ง หอย ปู และปลา
วิธีทำ
- นำมูลสัตว์ เช่น มูลวัว มูลควาย เทกระจายลงบนพื้นที่ที่ต้องการให้ทั่ว
- รดน้ำให้ดินชุ่มจนเป็นดินเลน
- เหยียบย่ำให้มูลสัตว์ผสมกับดินจนเป็นเนื้อเดียวกัน
- ตากให้แห้งสนิทจึงใช้งานได้


วิธีลดการรั่วซึมแบบอื่น ๆ
ปูพลาสติก
- แตก รั่ว ขาด ผุพัง เมื่อสัตว์เดินลงไปเหยียบ
- สัตว์น้ำต่าง ๆ วางไข่ไม่ได้
- ไม่มีขี้เลนที่เป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติของสัตว์น้ำ
- น้ำไม่ซึมลงใต้ดิน
- อายุการใช้งาน 3-4 ปี
เก็บน้ำเฉพาะบนพลาสติก ไม่ซึมลงดิน
ซีเมนต์
- ไม่ยืดหยุ่น แตก ร้าว รั่ว ได้เมื่อสัตว์ลงไปเหยียบ
- สัตว์น้ำวางไข่ไม่ได้
- ไม่มีขี้เลนที่เป็นแหล่งอาหารให้สัตว์
- น้ำไม่ซึมลงใต้ดิน
- อายุการใช้งาน 5-10 ปี
เก็บน้ำเฉพาะบนคอนกรีต น้ำไม่ซึมลงดิน




กำแพงแฝกเสริมไผ่
พื้นที่ที่มีความลาดชันค่อนข้างมาก และมีปัญหาดินสไลด์หรือการชะล้างของหน้าดินสูง สามารถใช้กำแพงแฝกเสริมไผ่ปูให้ทั่วความลาดชันเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน
วิธีทำ
- นำไม้ไผ่มาผ่าซีก
- สานไม้ไผ่ให้มีความกว้างช่องละ 30 ซม. x 30 ซม.
- ตอกหมุดยึดให้แน่น
- ปลูกแฝกช่องละ 2-3 กอ



