ชื่อ – ชนิด พันธุ์
ฝาง หรือ หนามโค้ง,ฝางแดง, ขวาง, ฝางเสน, ฝางส้ม,ง้าย
ชื่อวิทยาศาสตร์
Caesalpinia Sappan L.
ประวัติ
ฝาง เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชีย โดยสามารถพบได้ตามประเทศต่างๆ ที่อยู่ในเขตร้อนดังกล่าว เช่น อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา ศรีลังกา บังคลาเทศ เวียดนาม รวมถึงทางตอนใต้ของจีน สำหรับในประเทศไทยนั้น สามารถพบได้บริเวณป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และภูเขาหินปูน ทางภาคเหนือ ภาคอีสาน และบางส่วนของภาคกลาง
รูปร่าง รูปทรง ( ต้น ใบ ดอก ผล )
- ต้นฝาง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง หรือเป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มกึ่งไม้เถาผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-13 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้น ๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเนื้อไม้หรือแก่นเป็นสีแดงเข้มและมีรสขมหวาน
- ใบฝาง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นออกเรียงสลับ แก่นช่อใบยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร มีช่อใบย่อยประมาณ 8-15 คู่ และในแต่ละช่อจะมีใบย่อยประมาณ 5-18 คู่ออกเรียงตรงข้าม
- ดอกฝาง ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง โดยจะออกที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง และจะออกรวมกันเป็นช่อ ๆ ช่อดอกยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร
- ผลฝาง ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ฝักแบนแข็งเป็นจะงอยแหลม เป็นสีน้ำตาลเข้ม มีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-8.5 เซนติเมตร
ความสูงเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่
สูง 5 – 13 เมตร
ความกว้างทรงพุ่มเมื่อโตเต็มที่
ทรงพุ่มกว้างประมาณ 5 -10 เมตร
ความต้องการแสง
- ต้องการแสงแดด 100 %
ความต้องการน้ำ
- รดน้ำอาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง
ชอบดินประเภท
- ชอบดินร่วนซุย
ประโยชน์การใช้สอย
- เป็นสมุนไพร แก่นเป็นยาแก้ธาตุพิการ
- เมล็ดแก่แห้งนำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
- เปลือกลำต้นและเนื้อไม้ สามารถนำมาใช้ต้มรับประทานเป็นยารักษาวัณโรคได้
การเก็บเกี่ยว
- ออกดอก เดือนมิถุนายน – เดือนธันวาคม
- ออกผล เดือนสิงหาคม – เดือนพฤษภาคม
การขยายพันธุ์
- เพาะเมล็ด
คลิกเพิ่มเพื่อน! แจ้งเตือนบทความใหม่ก่อนใคร ฟรี!!
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
- สารบัญ