ชื่อ – ชนิด พันธุ์
มะเดื่อฉิ่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ficus botryocarpa Miq.
ประวัติ
“มะเดื่อฉิ่ง” เป็นผักเหมาะกับน้ำพริกชนิดต่างๆ อย่างแพร่หลาย รสชาติมันปนฝาดเล็กน้อยขบหรือเคี้ยวกรอบดังเปาะๆ คล้ายมะเขือพวง อร่อยมาก โดยเฉพาะกินกับขนมจีนปักษ์ใต้ช่วยเพิ่มรสชาติเด็ดขาดนัก คนใต้ เรียกว่า “ลูกฉิ่ง” มีผลอ่อนวางขายทั่วไป บนสำรับกับข้าวชาวภาคใต้เกือบทุกมื้อจะมีผลอ่อน “มะเดื่อฉิ่ง” วางเป็นผักเคียงไม่เคยขาด ทางภาคเหนือมี “มะเดื่อฉิ่ง” เช่นกัน แต่นิยมรับประทานผลอ่อนน้อยกว่าภาคใต้
รูปร่าง รูปทรง ( ต้น ใบ ดอก ผล )
- ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 5-7 เมตร ขนาดทรงพุ่ม 3-5 เมตร ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลม หรือรูปไข่ เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา มีรอยด่าง เป็นวงสีขาวอมเทา แตกเป็นร่องตื้น ๆ ตามแนวยาวมีปุ่มปมเล็ก ๆ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดตาดอก
- ใบ ใใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 5-15 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือกลม ขอบใบเรียบ เป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว ย่นเป็นลอน ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบยาว 1.5-2.5 เซนติเมตร ใบอ่อนสีเขียวอมน้ำตาล
- ดอก ดอกสีเขียวอมเหลือง ออกเป็นช่อ มีแกนกลาง ช่อดอกเจริญแผ่ขยายใหญ่เป็นกระเปาะ มีรูปเปิดที่ปลาย โอบดอกไว้ ดอกมีขนาดเล็ก แยกเพศในกระเปาะ มีกลีบรวม 3 กลีบ รูปไข่
- ผล เป็นผลสด ทรงกลมแป้นหรือรูปหัวใจ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกสีเหลือง ด้านบนมีรอยบุ๋ม เมล็ดทรงกลม สีน้ำตาลขนาดเล็กจำนวนมาก ติดดอกออกผลตลอดปี
ความสูงเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่
- 7 เมตร
ความกว้างทรงพุ่มเมื่อโตเต็มที่
- 2 – 4 เมตร
ความต้องการแสง
- แสงแดดมาก
ความต้องการน้ำ
- ต้องการน้ำปริมาณมาก
ชอบดินประเภท
- ชอบดินร่วน
ประโยชน์การใช้สอย
- ผลอ่อน เป็นอาหาร เปลือกต้น มีรสฝาด แก้ท้องร่วง ชะล้างบาดแผล เป็นยาสมานดี ราก เป็นยาแก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้หัว ไห้กาฬ ไข้พิษทุกชนิด กล่อมเสมหะ และโลหิต
การขยายพันธุ์
- การเพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง และเสียบยอด แต่การตอนกิ่งจะได้ผลดีที่สุด
คลิกเพิ่มเพื่อน! แจ้งเตือนบทความใหม่ก่อนใคร ฟรี!!
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
- สารบัญ