ชื่อ – ชนิด พันธุ์
ประ หรือ กระ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pterocarpus Macrocarpus
ประวัติ
มีถิ่นกำเนิดอยู่ภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย และยังพบอยู่ในแถบหมู่เกาะสุมาตรา
รูปร่าง รูปทรง ( ต้น ราก ใบ ดอก ผล )
- เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ สูง 20-40 เมตร เปลือกมียางเหนียว
- ใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ใบเป็นรูปรี ฐานใบมน กิ่งแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย เมื่อแตกใบอ่อนจะมีสีชมพูแดง
- ออกดอกที่ปลายกิ่งเป็นช่อสีขาวนวล ดอกแยกเพศ ดอกตัวผู้มีกลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ดอกตัวเมีย รังไข่มีสีชมพูอ่อน
- ผลมีเปลือกข้าวลักษณะเป็นพูมี 3 พู ผลอ่อนรีเขียว เมื่อแก่เป็นสีดำปนน้ำตาล ภายในมี 3 เมล็ด ผลแก่จะแตกเมล็ดจะกระเด็นไปได้ไกล
- เมล็ดมีเปลือกแข็งหุ้มสีน้ำตาล ผิวมัน เนื้อข้างในเป็นสีขาวนวลๆ
ความสูงเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่
สูง 20-40 เมตร
ความกว้างทรงพุ่มเมื่อโตเต็มที่
ทรงพุ่มกว้าง 10-15 เมตร
ความต้องการแสง
- ต้องการแดด 100 %
ความต้องการน้ำ
- ต้องการน้ำ 3 – 4 วัน/ครั้ง
ชอบดินประเภท
- ชอบดินร่วนปนทราย
ประโยชน์การใช้สอย
- เมล็ด นำมาดองรับประทานกับน้ำพริก ลูกประ ยังนำไปปรุงอาหารคาวได้หลายอย่าง เช่น แกงพุงปลา แกงส้มกบ แกงกะทิหมู น้ำพริก และยังนำไปคั่วกับทรายหรืออบแห้ง กินเป็นอาหารว่าง
การเก็บเกี่ยว
- ออกดอกเดือนมีนาคมถึงเมษายน
- เป็นผลในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม
การขยายพันธุ์
- การเพาะเมล็ด
คลิกเพิ่มเพื่อน! แจ้งเตือนบทความใหม่ก่อนใคร ฟรี!!
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
- สารบัญ