ชื่อ – ชนิด พันธุ์
มะกอกป่า หรือ กอก,กอกเขา,กูก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Spondias pinnata ( L. f. )
ประวัติ
ถิ่นกำเนิด ตอนใต้ของจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รูปร่าง รูปทรง ( ต้น ใบ ดอก ผล )
- ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ต้นทรงพุ่ม ขยายแตกกิ่งก้าน ลำต้นมีลักษณะกลม เป็นไม้เนื้อแข็งเหนียว เปลือกต้นมีร่องแตก มีสีน้ำตาลอมเทา
- ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเป็นคี่เวียนสลับกันบนก้านใบยาว มีลักษณะทรงรีเรียว โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ใบเรียบลื่น จะมีใบอ่อนและยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่มีสีเขียว
- ดอก จะมีดอกออกเป็นช่อ และออกอยู่รวมกันเป็นกระจุก มีลักษณะเล็กๆ มีก้านช่อดอกสั้น กลีบดอกมีสีขาวอมเหลือง ดอกจะออกปลายยอดกิ่ง
- ผล อยู่เป็นพวง มีลักษณะทรงกลมรูปไข่ เรียวรีปลายแหลม ผิวเปลือกบาง ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีน้ำตาลอมเหลือง มีรอยจุดสีน้ำตาลทั่วผล มีเนื้อสีเหลืองนวล เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ มีรสชาติเปรี้ยวอมฝาด มีกลิ่นหอม เมล็ดใหญ่แข็งยาวรี อยู่ข้างในเนื้อ มีเนื้อน้อยเมล็ดใหญ่
- เมล็ด มีลักษณะรูปทรงยาวรี อยู่ข้างในเนื้อ เปลือกเมล็ดใหญ่แข็ง มีสีน้ำตาลอ่อน
ความสูงเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่
สูง 15-20 เมตร
ความกว้างทรงพุ่มเมื่อโตเต็มที่
ทรงพุ่มกว้าง 10- 15 เมตร
ความต้องการแสง
- ชอบแดด 100%
ความต้องการน้ำ
- ปลูกช่วงแรกต้องรดน้ำวันละ 1 ครั้ง เมื่อมะกอกป่าเติบโตขึ้น ก็ลดการให้น้ำ 3-4 วัน/ครั้ง
ชอบดินประเภท
- ชอบดินร่วนปนทราย
ประโยชน์การใช้สอย
- เปลือกต้น ใบ และผล ใช้กินเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย
- เนื้อในผลมีสรรพคุณช่วยแก้ธาตุพิการ เพราะน้ำดีไม่ปกติและกระเพาะอาหารพิการ
- ผลมีรสเปรี้ยวอมหวาน สรรพคุณช่วยแก้โรคขาดแคลเซียมได้
- รากมีรสฝาดเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ
- ผลมีรสเปรี้ยวอมหวาน เป็นยาฝาดสมาน ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟันได้ เพราะมีวิตามินซีสูง
- ใบมีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดท้อง
- เปลือกต้นมีสรรพคุณช่วยในการสมานแผล มีกลิ่นหอม ฝาดสมาน และเป็นยาเย็น
- เปลือกนำมาป่นให้เป็นผง ผสมกับน้ำ ใช้ทาแก้โรคปวดตามข้อ
- ผลใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ ส่วนผลสุกจะนิยมนำมาใส่ส้มตำ น้ำพริก ยำ และใช้ประกอบอาหารอื่น ๆ ที่ต้องการรสเปรี้ยว
การเก็บเกี่ยว
- ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม
- ติดผลเดือน เมษายนถึงเดือนมิถุนายน
การขยายพันธุ์
- การเพาะเมล็ด
คลิกเพิ่มเพื่อน! แจ้งเตือนบทความใหม่ก่อนใคร ฟรี!!
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
- สารบัญ