ไม้เตี้ย – เรี่ยดิน – หัวใต้ดิน – ไม้น้ำ ( ผัก – สมุนไพร )

ส้มป่อย (Acacia concinna (Willd.) DC.)

“ส้มป่อย” เป็นพืชยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่ม ลักษณะลำต้นเลื้อยหาที่ยึดเกาะขึ้นไปตามกิ่งไม้ แต่ไม่มีมือจับ เถาของส้มป่อยจะแข็งแรงมาก สามารถเลื้อยไปตามต้นไม้อื่นได้สูงถึง 6-7 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล เถาอ่อนสีน้ำตาลแดงมีขนกำมะหยี่หรือขนสั้นหนานุ่มอยู่ทั่วต้นกิ่งก้านมีหนามแหลมสั้นๆ

ผักกาดย่า (Caesalpinia mimosoides Lam.)

เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นหรือทอดเลื้อย มีหนามและขนยาวสีน้ำตาลทุกส่วนของลำต้น กิ่งอ่อนสีน้ำตาลอมม่วงแดง ทุกส่วนมีกลิ่นเหม็น

กล้วยเล็บมือนาง (Musa (AA group) “Kluai Leb Mu Nang”)

กล้วยเล็บมือนาง (Lebmuernang Banana) เป็นพืชตระกูลกล้วย เกิดจากกล้วยป่ากลายพันธุ์ เป็นผลไม้ล้มลุก มีลำต้นเดี่ยวตั้งตรง

กล้วยหอมทอง (Musa acuminata)

กล้วยหอมทอง เป็นสายพันธุ์ที่มาจากกล้วยป่า ความสูงของล าต้นมีประมาณ 2.5-3.5 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของล าต้นจะมีมากกว่า 15 ซม

กล้วยน้ำว้าดำ (Musa (ABB group) “Kluai Nam Wa Dam”)

กล้วยน้ำว้าดำ เป็นพันธ์ุโบราณสมัยก่อนนิยมปลูกไว้ตามบ้านเรือน ผลสุกเปลือกสีน้ำตาลแดง แตกลายงาเป็นทางยาวคล้ายผลกล้วยเน่า เนื้อแห้งรสชาติหวานเหมือนกล้วยอบหรือกล้วยตาก

ชะอม หรือ โต๊ะปัว, ผักหละ, ผักหา, ฝ่าเซ้งดู่, พูซูเด๊าะ, โพซุยโดะ, ผักหล๊ะ, อม, ผักขา ( Acacia pennata L.)

ต้น ไม้พุ่มเตี้ยขนาดย่อม ลำต้นสีขาวมีหนามกระจายอยู่ทั่วไป กิ่งชะอมจะเลื้อยตามลำต้น
ใบ ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงสลับ หูใบรูปหอก กว้าง 1.0-1.5 ซม. ยาว 3-5 ซม.

ผักไชยา หรือ มะละกอกินใบ, คะน้าเม็กซิกัน, ต้นผงชูรส (Cnidoscolus Chayamansa.)

ลำต้น ทรงพุ่ม ลักษณะอวบน้ำ ความสูงประมาณ 2 ถึง 6 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
ใบ ใบเดี่ยว ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ ขอบเป็นแฉกๆ ใบหนึ่งมี 3 ถึง 4 แฉก

มะนาวทูลเกล้า (Citrus Aurantifolia (Christm.) Swingle)

ผล รูปทรงกลมมีขนาดใหญ่ให้น้ำเยอะ รสชาติเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอมและเป็นมะนาวสายพันธุ์ที่ไม่มีเมล็ดโดยธรรมชาติ

เร่วหอม หรือ หมากแหน่ง, หมากเนิง, มะอี้, หมากอี้, มะหมากอี้, หน่อเนง (Etlingera pavieana (Pierre ex Gagnep.) R.M.Sm.)

ลำต้นใต้ดิน มีลักษณะเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน เรียกว่า ลำต้นจริง มีลักษณะเป็นกระเปราะ แตกไหลสีขาวอมชมพูออกจากเหง้าเป็นหลายแฉกเพื่องอกเป็นต้นใหม่ เนื้อเหง้ามีกลิ่นหอม

มะนาวคาเวียร์ หรือ มะนาวนิ้วมือ (Citrus Australasica)

ต้นเป็นพุ่มมีหนามแหลมยาว ความสูงประมาณ 5 -6 เมตร ใบขนาดเล็ก ผิวใบเรียบ ปลายใบหยักมน มีความกว้างประมาณ 3-25 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-6 เซนติเมตร  ใบเรียวเล็กคล้ายมะขวิด มะสัง ในบ้านเรา มีหนามแหลมเล็กเป็นจำนวนมาก

ต้นแมงดา หรือ ทำมัง,ธัมมัง (Litsea Petiolata Hook.f.)

ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปกรวยกว้างหรือรูปไข่ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบ หรือแตก เป็นสะเก็ดเล็กบางๆ และมีรอยด่างสีขาวกระจายทั่วไป

มะนาวแป้น (Citrus Aurantifolia Christm. Swingle.)

ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากไม่เป็นระเบียบ มีหนามกิ่งก้านมาก ใบ ทรงรียาว ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบหยัก แผ่นใบมีจุดน้ำมันกระจายอยู่ ดอกมะนาวแป้น เมื่อออกดอก ดอกจะมีสีขาวเมื่อดอกบานกลีบในจะเห็นมีปลายแหลม เกสรตัวผู้มีสีเหลือง ความกว้างดอกจะกว้างประมาณ 2 – 3 เซ็นติเมตร

ปลาไหลเผือก หรือ คะนาง,ขะนาง,ไหลเผือก,ตุงสอ,แฮพันชั้น,หยิกปอถอง,หยิกไม่ถึง,เอียนดอย,เพียก,กรุงบาดาล,ตรึงบาดาล,ตุวุเบ๊าะมิง,ดูวุวอมิง (Eurycoma Longifolia)

ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง เปลือกสีน้ำตาล เป็นไม้ลงราก รากกลมโตสีขาวยาว กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล กิ่งก้านสั้นเป็นกระจุกที่ปลายยอดของลำต้น แตกกิ่งก้านน้อย ก้านใบออกจากลำต้นตรงส่วนปลาย เรียงหนาแน่นช่วงปลายกิ่ง

ชะมวง หรือ มะป้อง,ส้มป้อง,หมากโมง,หมากส้มโมง,ส้มมวง,กะมวง,มวง,กานิ,ตระมูง (Garcinia Cowa Roxb.)

ชะมวง จัดเป็นพันธุ์พืชท้องถิ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พม่า มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยมักจะพบตามป่าดิบชื้นทั่วไป รวมถึงที่ราบลุ่มที่มีความชื้นพบสมควร ซึ่งมักจะพบตามป่าที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 600 เมตร ขึ้นไป

มะนาวตาฮิติ หรือ มะนาวไร้เมล็ด,มะนาวเปอร์เซีย (Citrus Aurantifolia Christm. Swingle)

ลำต้น มะนาวตาฮิติจัดเป็นไม้พุ่ม กิ่งก้านมีหนามแหลม ซึ่งกิ่งก้านนั้นมักจะโค้งงอลงและยาวเกือบทอดเลื้อยไปตามหน้าดิน ใบของมะนาวตาฮิติเป็นใบประกอบชนิดลดรูปที่มีใบย่อยใบเดียว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่กว้าง ส่วนปลายและโคนใบจะแหลม ผิวใบเรียบ มีสีเขียวสดเป็นมัน

กระพี้เขาควาย หรือ กำพี้,เก็ดเขาควาย,เก็ดดำ,กระพี้,อีเม็งใบมน,เวียด,จักจัน (Dalbergia Cultrata Graham Ex Benth.)

ลำต้นของกระพี้เขาควายจัดเป็นต้นไม้ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบมีความคล้ายไม้พะยูงแต่มีข้อแตกต่างเรื่องสีสันและลวดลายของไม้ มีความสูงประมาณ 15-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มมีลักษณะกลมยาว เปลือกนอกของลำต้นมีสีขาวนวล มีลักษณะเป็นผิวเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ

โสมเกาหลี หรือ โสมจีน,โสมคน,โสมสวน,โสมป่า,เซียมเซ่า,หยิ่งเซียม,เหยินเซิน (Panax Ginseng C.A.Mey. )

ต้นโสม โสมเป็นพืชโตช้า ถ้าเพาะจากเมล็ดจะต้องใช้เวลาถึง 5-6 ปี จึงจะเก็บมาใช้ได้ โดยในปีแรกจะมีความสูงเพียง 1 ฟุต มีใบ 1 ใบ ประกอบด้วยใบย่อย 3-5 ใบ และใบจะเพิ่มขึ้นปีละ 1 ใบ เมื่อถึงปีที่ 3 ก็จะเริ่มออกดอก เมื่ออายุ 4-5 ปี ต้นจะสูงประมาณ 2 ฟุต

มะนาว หรือ ส้มมะนาว,ส้มนาว,โกรยซะม้า,หมากฟ้า (Citrus Aurantifolia)

ถิ่นกำเนิดจากเมืองที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยแรกเริ่มนั้นผู้คนต่างนำมะนาวมาเพื่อประกอบอาหารเนื่องจากมีรสชาติเปรี้ยว ลักษณะลำต้นของต้นมะนาวนั้นจะเป็นไม้พุ่ม มีลักษณะเป็นพุ่มหรือพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดเล็กมีความสูงตั้งแต่ 0.5-5 เมตร

พยอม หรือ แดน,ยางหยวก,กะยอม,เชียง,เซียว,เซี่ย,พะยอมทอง,ขะยอมดง,พะยอมดง,สุกรม,คะยอม ขะยอม,ยอม,ขะยอม,พะยอมแดง,แคน ( Shorea Roxburghii G.Don)

ต้นมีความสูงประมาณ 15-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นอาจยาวถึง 300 เซนติเมตร เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม แตกเป็นร่องตามยาวและเป็นสะเก็ดหนา ส่วนเนื้อไม้มีสีเหลืองถึงสีน้ำตาล ลักษณะของต้นเป็นทรงพุ่มกลมสวยงามมาก แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ถ้าหากปลูกในที่โล่งแจ้งและไม่มีพรรณไม้ใหญ่ชนิดอื่นอยู่ใกล้ ๆ

ว่านหางจระเข้ หรือ หางตะเข้,ว่านไฟไหม้ (Aloe Vera (L.) Burm.f.)

ต้นเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูงประมาณ 0.5 – 1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น เนื้ออ่อน อวบน้ำ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและรูปร่างยาว โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ริมใบหยักและมีหนาม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบสีเขียวใสและมีรอยกระสีขาว ใบจะอุ้มน้ำได้ดี ภายในมีวุ้นและเมือกใสสีเขียวอ่อนๆ

จิงจูฉ่าย หรือ โกฐจุฬาลัมพาขาว ( Artemisia Lactiflora)

ต้นมีรากแก้วใหญ่ มีรากแขนงเล็กๆ ยึดดินไว้มั่น เพื่อยึดแขนงที่แตกยอดรอบลำต้น ทั้งใบทั้งดอก ซึ่งงามเป็นพุ่มมากมาย เมื่อถอน 1 ต้น จะได้มาทั้งพุ่ม คล้ายผักชีแต่ใหญ่กว่ามาก ใบเป็นรูปรีขอบเป็นแฉกๆ 5 แฉกสีเขียว เนื้อใบหนา คล้ายต้นขึ้นฉ่าย

เพกา หรือ ลิ้นฟ้า,หมากลิ้นฟ้า,มะลิดไม้,มะลิ้นไม้,ลิดไม้,เบโก,หมากลิ้นช้าง,หมากลิ้นก้าง,กาโดโด้ง, ดอก๊ะ ,ดุแก ,ด๊อกก๊ะ,โชยเตี้ยจั้ง (Oroxylum Indicum L.)

ถิ่นที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิมของทวีปเอเชีย ซึ่งพบในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นครั้งแรก ในปัจจุบันสามารพบได้หลายประเทศ เช่น อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย รวมถึง จีนตอนใต้ด้วย

ขี้เหล็กเทศ หรือ ขี้เหล็กผี พรมดาน ชุมเห็ดเล็ก ขี้เหล็กเผือก หมากกะลิงเทศ ลับมืนน้อย ผักเห็ด กิมเต่าจี้ ม่อกังน้ำ ผักจี๊ด (Cassia Occidentalis Linn.)

ต้น เป็นพรรณไม้ปีเดียวตาย ลำต้นมีความสูง 1-2 เมตร เนื้อไม้ตรงโคนต้นจะแข็ง และจะแตกกิ่งก้านสาขามาก ใบ จะออกสลับกัน ส่วนก้านใบนั้นเป็นใบร่วมยาวประมาณ 3-5 ซม. ตรงโคนใบจะมีตุ่มนูนออกมา 1 ตุ่ม ใบย่อยมีราว 3-5 คู่ คู่ปลายนั้นจะมีขนาดใหญ่ คู่ถัดไปจะมีขนาดเล็กลงนาตามลำดับ ลักษณะปลายย่อยนั้นจะรีปลายของมันจะแหลมยาวประมาณ 3-6 ซม.

มะเกลือ หรือ มักเกลือ,หมักเกลือ,ผีเผา,ผีผา,มะเกือ,มะเกีย,เกลือ,มะเกลื้อ ( Diospyros mollis)

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-30 เมตร มีเรือนยอดเป็นพุ่ม ลำต้นเปลา ที่โคนต้นมักขึ้นเป็นพูพอน ที่ผิวเปลือกเป็นรอยแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามยาว สีดำ เปลือกด้านในมีสีเหลือง ส่วนกระพี้มีสีขาว แก่นมีสีดำสนิท เนื้อมีความละเอียดเป็นมันสวยงาม ที่กิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นอยู่ประปราย โดยทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ