ชื่อ – ชนิด พันธุ์
เทพทาโร ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ข่าต้น (ภาคกลาง), จะไคต้น, จะไคหอม (ภาคเหนือ), จวง, จวงหอม (ภาคใต้) ,มะแดกกะมางิง (มลายู), หวางจาง (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kostern
ประวัติ
เทพทาโรเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียเขตร้อนโดยพบว่า มีเขตการกระจายพันธุ์ ตั้งแต่ทิเบต มณฑลยูนานในจีน อินเดีย เทือกเขาตะนาวศรีในพม่า เวียดนาม คาบสมุทรอินโดจีน จนถึงแหลมมลายู ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาะสุมาตรา รวมถึงเกาะอื่นๆ ในอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบเทพทาโรได้ทั่วทุกภาคในประเทศ โดยจะพบขึ้นกระจัดกระจายเป็นกลุ่มบนเขาในป่าดงดิบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 0-800 เมตร แต่จะพบมากในภาคใต้ ทั้งนี้เทพทาโรยังเป็นไม้พื้นเมืองที่เก่าแก่ของไทยโดยพบหลักฐานอ้างอิงครั้งแรกในสมัยสุโขทัยดังปรากฏ ในไตรภูมิพระร่วง ซึ่งได้กล่าวถึงพรรณพืชหอมในอุตตรภูรูทวีปที่ประกอบด้วย จาง จันทร์ กฤษณา คันธา เป็นต้น
รูปร่าง รูปทรง ( ต้น ใบ ดอก ผล )
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม เรียงเวียนสลับ รูปรีแกมรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยง ท้องใบมีนวลขาวอมเทา ใบแก่อายุมากมีสีแดง เส้นใบหลัก 1 เส้น เส้นใบข้างโค้ง 3-7 คู่ นูนขึ้นทั้งสองด้าน ปลายใบแหลม โคนใบสอบถึงมน กว้างประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-20 เซนติเมตร ก้านใบเรียวเล็ก สีเขียวอ่อน เขียวอมเหลืองหรือแดง ยาวประมาณ 1.2-3.5 เซนติเมตร
- ดอก สีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งเป็นกระจุกยาวประมาณ 2.5-10.0 เซนติเมตร 1 ช่อ มีประมาณ 13-14 ดอก ก้านช่อดอกเรียวยาวประมาณ 5.0–6.0 เซนติเมตร และเล็กมาก
- ผล มีขนาดเล็ก เกลี้ยง ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-8 มิลลิเมตรมักลิ่นหอม ผลอ่อนมีเขียว เมื่อแก่มีสีม่วงดำ ก้านนผลเรียวยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ที่ขั้วมีกลีบเลี้ยงรูปถ้วย ไม่มีซี่หยักติดอยู่ก้านผลส่วนบนพองออก
- เนื้อไม้ ทั้งจากส่วนลำต้นและราก มีสีเทาแกมน้ำตาล เป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรงหรือเสี้ยนสนเล็กน้อย เนื้อเหนียว แข็งพอประมาณเลื่อยไสกบตกแต่งง่าย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เทพทาโร ที่พบในภาคใต้ทุกส่วนของลำต้นมีกลิ่นหอมตั้งแต่ใบ เนื้อไม้ เปลือกต้น ผล
- ดอก ราก และเปลือกราก
ความสูงเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่
ความสูงประมาณ 10-30 เมตร
ความกว้างทรงพุ่มเมื่อโตเต็มที่
- 10 เมตร
ความต้องการแสง
- ต้องการแสงปานกลาง ควรปลูกใต้ร่มไม้ของต้นไม้ต้นอื่น
ความต้องการน้ำ
- ต้องการน้ำมาก เพราะต้น เทพทาโร เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มชื้นสูง
ชอบดินประเภท
- ชอบดินร่วน
ประโยชน์การใช้สอย
- ส่วนการใช้ประโยชน์นอกจากเนื้อไม้ที่แข็งปานกลางใช้ในการก่อสร้างเป็นเครื่องเรือนแล้ว งานพัฒนาเคมีผลิตผลป่าไม้ และกลุ่มงานพัฒนาผลผลิตป่าไม้ ยังได้ศึกษาทดลองสารกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากเนื้อไม้ ใบ ราก และผล พบว่า น้ำมันที่กลั่นได้ประกอบด้วยสารแซฟรอล (safrol) มากกว่าร้อยละ 80 มีคุณสมบัติและองค์ประกอบทางเคมีใกล้เคียงกับน้ำมันแซฟซาฟรัสที่กลั่นจากราก ของต้นแซฟซาฟรัส ที่ใช้ในการแต่งกลิ่นอาหาร รูทเบียร์ หมากฝรั่ง ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม สบู่ ยารักษาโรค น้ำยาขัดพื้น สารซักล้าง สารทำความสะอาด ใช้ในน้ำมันนวดตัวอโรมา และสปา ใช้ในการแก้ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง ปวดฟัน แก้เจ็บคอ รักษาโรคคางทูม ใช้รักษาโรคข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคโกโนเรีย นอกจากนี้ยังมีรายงานการวิจัยเนื้อในเมล็ดเทพทาโรมีโปรตีน 2 ชนิดคือ พอเร็ตติน (porrectin) และซินนาโมมิน (cinnamomin) ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์ ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของไรโบโซม ในการสร้างโปรตีนเช่นเดียวกับไรซีน และอะบริน อาจจะพัฒนาไปสู่สารยับยั้งโรคพืช หรือยารักษาโรคมะเร็ง และโรคเอดส์ได้ในอนาคต
การขยายพันธุ์
- การขยายพันธุ์ไม้เทพทาโรที่นิยมปฏิบัติกันคือ การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ เมื่อได้ต้นกล้าของเทพทาโรมาแล้ว ควรปลูกระยะห่างต้นละ 5 เมตร อาจปลูกแซมสวนป่า หรือปลูกพืชจำพวกกล้วยน้ำว้า เป็นพืชพี่เลี้ยงแซมลงไปเพื่อให้มีรายได้ในช่วง 2 – 3 ปีแรก การใส่ปุ๋ยทำเช่นเดียวกับไม้ยืนต้นทั่วไป อาจจะปลูกใต้ร่มไม้อื่นหรือปลูกเป็นไม้แซมสวนป่า น่าจะเจริญเติบโตดีกว่าปลูกเป็นไม้เบิกนำในที่โล่งแจ้ง
คลิกเพิ่มเพื่อน! แจ้งเตือนบทความใหม่ก่อนใคร ฟรี!!
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
- สารบัญ