บทที่ 1 : ความหมายและบทบาทหน้าที่ของผดุงครรภ์ไทย
- การผดุงครรภ์ คือ การดูแลมารดาและทารก ตั้งแต่ผู้หญิงเริ่มตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด
- การทำคลอด ถ้าผดุงครรภ์เห็นว่า กาารคลอดออกไม่เป็นที่ไว้วางใจ ก็ให้รีบส่งต่อแพทย์หรือโรงพยาบาลที่จะให้การช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด
- ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาผดุงครรภ์ จะทำการคลอดได้เฉพาะรายที่มีครรภ์ปกติ ส่วนเรื่องของการข่มท้อง การตรวจภายในช่องคลอด หรือ การใช้เครื่องมือไม่ได้ต้ม นึ่งมาตัดสายสะดือทารก ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อมารดาและทารกได้นั้น ห้ามมิให้ปฎิบัติ
- ป้องกันมิให้ทารกเกิดโรคในการคลอด โดยต้องใช้ยาจำพวกฆ่าเชื้อโรค ( Antiseptic ) หรือเครื่องมือต่างๆ ต้องต้ม นึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อโรค
- รักษาความสะอาดมารดาก่อนคลอดบุตร ควรให้มารดาอาบน้ำอุ่นฟอกสบู่หรือน้ำผสมยาฆ่าเชื้อโรค เช่น น้ำด่างทับทิมเจือปนเล็กน้อย ล้างตัวให้สะอาด ผ้านุ่งต้องสะอาด ตากแดดให้สะอาดหรือนึ่งก่อน
บทที่ 2 : จรรยาผดุงครรภ์ไทย มี 10 ประการ
- มีเมตตาต่อคนไข้
- ไม่โลภเห็นแก่ลาภ
- ไม่โอ้อวดความรู้
- ไม่หวงกีดกันความรู้ผู้อื่น ที่มีความรู้ดีกว่าตน
- ไม่ลุแก่อำนาจและอคติ
- ไม่หวั่นไวต่อสิ่งที่เป็นโลกธรรม 8 ( 1. มีลาภ 2. เสื่อมลาภ 3. มียศ 4. เสื่อมยศ 5. สรรเสริญ 6. นินทา 7. สุข 8. ทุกข์ )
- มีความละอายต่อบาป
- ไม่เป็นคนเกียจคร้าน
- มีสติไตร่ตรอง
- ไม่มีสันดานมัวเมา

บทที่ 3 : สรีระร่างกายของหญิงและชายวัยเจริญพันธุ์
1. สรีระร่างกายของหญิงที่แตกต่างกับชาย
- ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของชายประกอบด้วย ต่อมอัณฑะ ท่อน้ำอสุจิ องคชาติ
- ต่อมอันฑะของชายมีหน้าที่ ผลิตน้ำอสุจิและกลั่นตัวอสุจิ ผลิดตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ส่งน้ำอสุจิไปตามท่อสองสาย ( คำสามัญชนเรียกว่า สายสองสลึง ) ไปพักอยู่ที่ถุงน้ำกามซึ่งติดอยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะทั้งสองข้าง มีลักษณะเป็นน้ำเมือกขาวข้น ออกมาครั้งละ 3-4 ช้อนกาแฟ
- เมื่ออายุครบ 16 ปีบริบูรณ์ จึงจะมีตัวอสุจิ จะเกิดบุตรได้จนถึง 70-80 ปี จึงจะหมดการมีบุตร แต่ก็ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับกำลังของบุคคลนั้น

- ระบบอวัยวะสืบพันธุ์หญิงประกอบด้วย มดลูก รังไข่ ช่องคลอด
- มดลูก เป็นกล้ามเนื้อ 3 ชั้นหนาเหนียวแข็งแรงมาก 1.จะไขว้กันตามยาว 2. ไขว้ตามขวาง 3.ไขว้เฉลียง มดลูกทรงตัวลอยอยู่ได้ด้วยเอ็นยึดไว้ทั้งสองข้าง ถ้าเอ็นนี้ขาดหรือหลุด จะทำให้มดลูกออกมาจุกที่ปากช่องคลอด หรือออกมานอกช่องคลอด ( คำสามัญชนเรียกว่า กระบังลม หรือดากออก )
- ภายในมดลูก เป็นโพรงรูปห้องสามเหลี่ยมแบนๆ มีช่องหนึ่งเป็นทางช่องคลอด อีก 2 ช่องอยู่ที่ก้นมดลูก ออกไปทางซ้ายและขวา เรียกว่าปีกมดลูกซ้าย ขวา
- ปีกมดลูก เป็นหลอดทางเดินไข่สุกเข้าไปโพรงมดลูก ปากหลอดเป็นเนื้อบานๆ เหมือนปากแตร สำหรับรับไข่สุก
- ไข่สุก เมื่อหล่นออกจากรังไข่ จะเคลื่อนเข้าสู่หลอดปากแตร ผ่านปีกมดลูกไปสู่โพรงมดลูก
- ช่องคลอด ยาวตั้งแต่ปากมดลูกถึงปากช่องคลอด 5-6 นิ้ว มีลักษณะคล้ายลำไส้ยืดหดตัวได้ ภายในเป็นหนังย่นๆ และเปียกชุ่มอยู่เสมอ
- ปลายช่องคลอดตรงปากมดลูก มีแอ่งสำหรับรองรับน้ำอสุจิ มีลักษณะเป็นกรดครึ่งด่าง
- ถ้ามีสภาพเป็นกรดมากเกินไป หรือ ปากมดลูกอักเสบมีสภาพเป็นกรด จะทำให้ตัวอสุจิอ่อนกำลังหรือตายไป
- ถ้ามีกรดน้อยหรือมีสภาพเป็นด่าง จะทำให้ตัวอสุจิเกิดกำลัง ส่งเสริมให้วิ่งเข้าไปในมดลูกมีจำนวนนับเป็นล้านๆ ตัว
- ถ้าตัวใดมีกำลังแข็งแรง ก็จะวิ่งเข้าไปได้ก่อน โดยใช้หางกระดิกเพื่อค้นหาไข่สุกของหญิง
- ตัวอสุจิมีลักษณะ คล้ายลูกอ้อด คือ หัวกลม ตัวแบน มีหางกระดิกได้ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใช้ว่ายไปหาไข่สุก
- ตัวอสุจิและไข่สุก ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องจึงจะมองเห็น
- ผู้หญิงมีไข่สุก ครบกำหนด 22 วันจึงจะสุกครั้งหนึ่ง
- เมื่อไข่สุก ก็จะพองตัวออก ตกออกจากรังไข่หนึ่งเม็ด ก็ผสมได้หนึ่งชีวิต ถ้าตก 2-3 เม็ด ก็จะเกิดลูกแฝด
- ไข่ที่ตกออกจากรังไข่ จะเคลื่อนเข้าสู่ท่อปากแตรทันที
- อยู่ในท่อปากแตร 6-7 วัน จึงจะเดินทางเข้าถึงโพรงมดลูก
- พระคัมภีร์มหาโชตรัตน์ บันทึกว่า สตรีมีความแตกต่างจากผู้ชาย 4 ประการ คือ ถันประโยธร ( เต้านม ) จริตกิริยา ที่ประเวณี ( ช่องคลอด ) ต่อมเลือดระดู

2. ต่อมเลือดระดู
- ผู้หญิงคนเมืองร้อน จะเริ่มมีระดูอายุ 12-13 ปี
- ผู้หญิงคนเมืองหนาว จะเริ่มมีระดูอายุ 14-15 ปี
- เด็กอยู่ในสถานที่ยั่วยวน เช่น พวกละคร ลิเก หรือในหมู่ที่มีสิ่งเร้าใจ ( เช่น ในหมู่หญิงโสเภณี ) อาจมีระดูเร็วกว่าพวกอยู่ตามเรือกสวยไร่นา
- เด็กผู้หญิงเมื่อมีระดูครบกำหนด มักจะมีจริตกิริยา รู้จักอายมากขึ้น เต้านมจะคัดแข็ง เป็นไต มดลูกจะขยายตัวขึ้น มีอาการปวดตึงที่มดลูก
- เมื่อมีระดูครั้งแรก มักมีอาการ ปวดศรีษะ หงุดหงิด บางคนเป็นไข้ อาการเหล่านี้จะเริ่มทีละน้อยๆ ก่อนหน้าที่ระดูจะมาประมาณ 3-4 วัน แล้วจะมีระดู
- ระดูจะออกมา 3-4 วัน หรือ 5 วัน ออกมาประมาณ 10-15 ช้อนโต๊ะ ก็จะจางจนหยุด อาการต่างๆ ก็จะหายไป
- รอบระดู ตามปกติมีกำหนด 28 วัน จึงจะออกครั้งหนึ่ง บางคนมี 20 วัน ถึง 30 วัน ก็มี บางคนมีแล้วหยุดไปนานๆ หลายๆ ปี แล้วกลับมามีอีก ลักษณะเช่นนี้ก็ไม่ได้เป็นโรค เพราะร่างกายปกติดี ในบางคนที่เป็นโรคระดูอาจเคลื่อนได้
- ในร่างกายผู้หญิงมีโลหิตมากกว่าชาย เพราะผู้หญิงต้องเสียโลหิตระดูทุกเดือน เมื่อมิได้ตั้งครรภ์ก็จะขับถ่ายออกไป
- ระดูออกจาากไหน เวลาใด ในวันที่รู้สึกว่าเต้านมคัดแข็ง ปวดตึงที่มดลูก เป็นวันที่ไข่สุกร่างกายจึงเปลี่ยนแปลงผิดไปจากธรรมดา ผิวหนังที่เป็นเยื่อบางๆในโพรงมดลูกที่ไว้รองรับไข่สุกหนาขึ้น มีโลหิตมาคั่งรวมอยู่มาก จึงมีอาการตึงและปวดมดลูก ผิวหนังที่เป็นเยื่อบางๆในโพรงมดลูกนั้นแตกออก เนื่องจากไม่ได้ผสม โลหิตจึงไหลออกมาเป็นระดูประจำเดือน มีไข่สุกที่ไม่ได้ผสมออกมาด้วย
- ถ้าไข่สุกและมีการผสมกับอสุจิ เยื่อบางๆ ผิวหนังในโพรงมดลูกจะไม่แตกออกเป็นโลหิต แต่จะห่อหุ้มไข่ไว้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงทารก จะไม่มีระดูออกมาเรียกว่า ได้มีการปฎิสนธิแล้ว
- เลือดระดู ควรเป็นสีเลือดสดๆที่ออกจากแผลใหญ่ ไม่มีกลิ่นหรือเป็นลิ่ม เป็นก้อน หรือเป็นสีดำข้นแข็ง ถ้ามีกลิ่นโสโครก อาจสงสัยเป็นโรคระดู
- ผู้หญิงหมดประจำเดือน อายุ 45-55 ปี ( ผู้หญิงบางคนอาจหมดประจำเดือนเมื่ออายุ 37 ปี ก็มี )
แพทย์แผนไทย ผดุงครรภ์
- แพทย์แผนไทย ผดุงครรภ์ บทที่ 1-3
- แพทย์แผนไทย ผดุงครรภ์ บทที่ 4 การปฎิสนธิ และการตั้งครรภ์
- แพทย์แผนไทย ผดุงครรภ์ บทที่ 5 การคลอดปกติ
- แพทย์แผนไทย ผดุงครรภ์ บทที่ 6 การดูแลมารดาและทารกในระยะหลังคลอด
- แพทย์แผนไทย ผดุงครรภ์ บทที่ 7 การเจริญเติบโตและการดูแลทารก
- แพทย์แผนไทย ผดุงครรภ์ ภาคผนวก ยาสำหรับสตรีและทารก