แพทย์แผนไทย เภสัชกรรมไทย
บทที่ 3 สรรพคุณเภสัช
สรรพคุณเภสัช คือ การรู้จักสรรพคุณของวัตถุที่จะนำมาใช้เป็นยารักษาโรค
การจำแนกรสยาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
1. ยารสประธาน 3 รส
- เย็น > แก้ : เตโช > ฤดู : ร้อน > ยา : ยาเขียว, มหานิล, มหากาฬ > เช่น เขา, เขี้ยว, ใบไม้, กระดูก
- ร้อน > แก้ : วาโย > ฤดู : ฝน > ยา : ประสะกานพลู, ธรณีสันฑฆาต, ไฟบรรลัยกัลป์, ประจุวาโย > เช่น ตรีกฎุก, เหง้าขิง, กะเพรา, เบญจกูล, พริกไทย, ดีปลี
- สุขุม > แก้ : อาโป > ฤดู : หนาว > ยา : ยาหอมทั้งหมด เช่น หอมเทพจิตร, อินทจักร, นวโกฐ, ทิพโอสถ, ยาสังขวิชัย = สุขุม > พืช, สัตว์ ธาตุไม่ร้อน มีรสสุขุม, โกฐ ( ยกเว้นโกฐพุงปลา มีรสฝาด ), เทียน, กระวาน, ลูกจันทน์, ดอกจันทน์
2. รสของตัวยา 4, 6, 8, 9 + จืด
ประกอบด้วย
- พืช : ต้น เถา-เครือ หัว-เหง้า ผัก หญ้า
- สัตว์ : บก น้ำ อากาศ
- ธาตุ : สลายตัว ยาก – ง่าย
2.1 รสยา 4 รส : คัมภีร์ ธาตุวิภังค์
- ฝาด : เนื้อ, เอ็น
- เผ็ด : ผิวหนัง, ขน
- เค็ม : เอ็น, กระดูกทั่วสรรพางค์กาย
- เปรี้ยว : เอ็นทั่วสรรพางค์กาย
2.2 รสยา 6 รส : คัมภีร์ วรโยคสาร
- หวาน : มธุระ > ชอบกับยาให้เจริญรสธาตุ
- เปรี้ยว : อัมพิระ > แก้ ดี ลม เสลด > ที่ดิบทำให้สุก > ใช้ไม่เป็นเกิดโทษ
- เค็ม : ลวณะ > เผาโทษ, เผาเขฬะ ( ทำให้น้ำลายแห้ง ) > เจริญไฟธาตุ
- เผ็ด : กฏกะ > ทำให้กำลังน้อย ระงับเกียจคร้าน, พิษ > ไม่ให้เจริญ, บำรุงไฟธาตุ > ให้อาหารสุก
- ขม : ติตติกะ > แก้ ร้อน, กระหายน้ำ, ทำให้มูตร, คูถบริสุทธิ์ > เจริญอาหาร
- ฝาด : กะสาวะ > แก้ กระหายน้ำ > เจริญผิวกาย และเนื้อ
คุณสมบัติของยาแต่ละรส ให้แสลงกับโรค
- เผ็ด ขม ฝาด : ลมกำเริบ
- เผ็ด เปรี้ยว เค็ม : ดีกำเริบ
- หวาน เปรี้ยว เค็ม : เสลดกำเริบ
2.3 รสยา 8 รส : คัมภีร์ ธาตุนิวรณ์
- ขม : ผิวหนัง
- ฝาด : เนื้อ ( มังสา )
- เค็ม : เส้นเอ็น
- เผ็ด ร้อน : กระดูก
- หวาน : ลำไส้ใหญ่
- เปรี้ยว : ลำไส้น้อย
- เย็นหอม : หัวใจ
- มัน : ข้อต่อ
2.4 รสยา 9 รส + จืด : รสยาที่จะปรุงเป็นยารักษาโรค
- ฝาด : สมาน แผลภายใน-ภายนอก แผลสด เปื่อย กัดเนื้อร้าย แก้โรคบิด ท้องร่วง แก้อุจจาระธาตุพิการ คุมธาตุ > แสลง : โรคลม พรรดึก ท้องผูก เตโชธาตุพิการ (ธาตุไฟ)
- หวาน : ซึมซาบไปตามเนื้อ ร่างกายชุ่มชื้น บำรุงกล้ามเนื้อ กำลัง หัวใจ เจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย ไอ เสมหะแห้ง หอบ > แสลง : ฟันผุ เสมหะเฟื่อง อาเจียน เบาหวาน น้ำเหลืองเสีย บาดแผล
- เมาเบื่อ : แก้พิษ ดี เสมหะ โลหิต ไข้ สัตว์กัดต่อย แก้โรคทางอาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) แก้พยาธิ ผื่นคัน > แสลง : โรค หัวใจพิการ ไอ
- ขม : แก้โลหิต ดี กำเดา ไข้ต่างๆ ตัวร้อน จับสั่น บำรุงน้ำดี เจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร > แสลง : โรคหัวใจพิการ โรคลม จุกเสียด แน่นเฟ้อ
- เผ็ดร้อน : แก้โรคลมจุกเสียด ขับลมให้ผายหรือเรอ บำรุงเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ขับเหงื่อ ช่วยย่อยอาหาร > แสลง : โรคไข้ตัวร้อน เพ้อคลั่ง
- มัน : ซึบซาบไปตามเส้นเอ็น แก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อย บำรุงไขข้อ บำรุงเยื่อกระดูก เป็นยาอายุวัฒนะ ให้ความอบอุ่นแก่ ร่างกาย > แสลง : โรคเสมหะพิการ เช่น ไอ หอบ บิด และไข้ต่างๆ ร้อนในกระหายน้ำ
- หอมเย็น : บำรุงหัวใจ ตับ ปอด บำรุงครรภ์ อ่อนเพลีย ชูกำลัง กระหายน้ำดับพิษร้อน > แสลง : โรคลมจุกเสียดแน่น ลมป่วง
- เค็ม : ซึมซาบไปตามผิวหนัง แก้โรคผิวหนัง โรคพรรดึก ถ่ายชำระน้ำเหลือง ชำระเมือกมันในลำไส้ ฟอกโลหิต แก้เสมหะเหนียว > แสลง : อุจจาระธาตุพิการ โรคบิดมูกเลือด กระเพาะอาหารเป็นแผล
- เปรี้ยว : แก้เสมหะพิการ เหนียว ไอ กระหายน้ำ ท้องผูก ระบายอุจจาระ ฟอกโลหิต > แสลง : โรคน้ำเหลืองเสีย ท้องเสีย และไข้ต่างๆ
- จืด : แก้เสมหะ ขับปัสสาวะ ดับพิษไข้ ดับพิษปวดร้อน แก้ทางเตโชธาตุ > แสลง : ไม่แสลงกับโรคใด
รสยา แก้เตโชธาตุ
- ฝาด – แสลง
- เผ็ดร้อน – บำรุง
- จืด – แก้
รสยา แก้อาโปธาตุ
- เมาเบื่อ – แก้
- เปรี้ยว, มัน, เผ็ดร้อน – แสลงไข้
- มัน, ฝาด, เมาเบื่อ – แสลงไอ
- หอมเย็น, ขม – แสลงจุกเสียด
- ขม, เมาเบื่อ – แสลงหัวใจพิการ
- เปรี้ยว, หวาน – แสลงน้ำเหลืองเสีย
- ขม, เผ็ดร้อน – ช่วยย่อยอาหาร

ตัวยารส ฝาด : สมาน
- 4 เปลือก
-
- ขี้อาย ( เปลือก ) : อุจจาระเป็นฟอง ท้องร่วง บิดเรื้อรัง ปวดแบ่ง คุมธาตุ ชะล้างบาดแผล
- เพกา ( เปลือก ) : ดับพิษโลหิต แก้น้ำเหลืองเสีย สมานบาดแผล ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ
- นนทรี ( เปลือก ) : กล่อมเสมหะและโลหิต บิดมูกเลือด ปิดธาตุ สมานบาดแผล ขับประจำเดือน รัดมดลูก ขับลมผาย แก้ท้องร่วง
- มังคุด ( เปลือก ) : สมานบาดแผล บิด ลงท้อง ท้องเดิน ล้างแผล
- 2 ทั้ง 5
-
- ทับทิม ( ทั้ง 5 ) : ท้องร่วง บิดมูกเลือด ปิดธาตุ สมานบาดแผล
- ฝรั่ง ( ทั้ง 5 ) : ถอนพิษบาดแผล ท้องร่วง บิดมูกเลือด ปวดเบ่ง
- 3 ลูก
- เบญกานี้ ( ลูก ) : บิดปวดเบ่ง ปิดธาตุ แก้ท้องร่วง แก้ปวดมดลูก สมานบาดแผล
- สมอพิเภกแก่ ( ลูก ) : ไข้ ริดสีดวง บิด โรคตา
- กราย ( ลูก ) : บิดปวดเบ่ง เสมหะเป็นพิษ คุมธาตุ สมานบาดแผล ท้องร่วง
- สีเสียดทั้ง 2
-
- สีเสียด ( ทั้ง 2 ) : สมานบาดแผล คุมธาตุ ท้องร่วง บิด ลงแดง อติสาร บาดแผล ล้างบาดแผลที่ถูกไฟ และโรคผิวหนัง
ตัวยารส หวาน : ซึมซาบเนื้อ
- 2 คำ
-
- ดอกคำไทย : บำรุงโลหิต แสบร้อนคันตามผิวหนัง บิด ไตพิการ
- ดอกคำฝอย : แสบร้อนตามผิวหนัง บำรุงหัวใจ ประสาท โลหิตและน้ำเหลืองให้เป็นปกติ ขับระดู
- 2 ชะเอม
-
- รากชะเอมจีน ( ชะเอมเทศ ) : ขับเลือดเน่า บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น แก้กำเดา น้ำลายเหนียว
- รากชะเอมไทย : แก้โรคในคอ ลม รัตตะปิตตะโรค
- 2 ตาล
- งวงตาลโตนด : บิดปวดเบ่ง ปิดธาตุ ท้องร่วง ปวดมดลูก สมานบาดแผล
- ตานหม่อน : พิษตานซาง ขับไส้เดือน บำรุงเนื้อหนังให้ชุ่มชื่น คุมธาตุ
- 3 ผลไม้
-
- น้ำอ้อย : พิษตานซาง ขับไส้เดือน บำรุงเนื้อหนังให้ชุ่มชื่น คุมธาตุ
- เหง้าสับปะรด : ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ นิ่ว หนองใน ขับระดูขาว
- รากและดอกมะพร้าว : ลงท้อง อ่อนเพลีย ปากเปื่อย ไข้ตานซาง ไข้กำเดา
- ดอกอังกาบ
-
- ดอกอังกาบ : แก้สตรีระดูขัด ไข้ บำรุงไฟธาตุ
ตัวยารส เมาเบื่อ : แก้พิษ
- 4 ก
-
- กระท่อม ( ใบ ) : รสเมาเบื่อขมฝาด > บิดปวดมวน ปวดท้อง ท้องร่วง ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- กัญชา : เจริญอาหาร ชูกำลัง ทำให้ใจขลาดกลัว
- กระไดลิง ( เถา ) : พิษทั่งปวง ไข้เซื่องซึม ขับเหงื่อ
- กระเบียน – กระเบา ( ลูก ) : ฆ่าพยาธิกลางเกลื้อน แก้มะเร็ง คุดทะราด โรคเรื้อน กุฏฐัง
- 2 สะ
-
- สะแก ( ทั้ง 5 ) : ขับพยาธิและไส้เดือน โรคตานขโมย ฝีตานซาง
- สะบ้า ( เผา ) : พิษไข้ ทาแก้พยาธิทั้งปวง
- 2 ทอง
- รากขันทองพยาบาท : พิษลม ประดง พยาธิต่างๆ
- รากทองพันชั่ง : กลากเกลื้อน ผื่นคัน ดับพิษไข้ โรคผิวหนัง มะเร็ง
- ชุมเห็ดเทศ ( ทั้ง 5 )
-
- ชุมเห็ดเทศ ( ทั้ง5 ) : รสเบื่อเอียน > ขับพยาธิในลำไส้ รู้ถ่ายเองปิดเอง โรคผิวหนังทุกชนิด
- ลำโพง
-
- ใบ : รสเมา > พิษฝี ปวด บวม อักเสบ หอบหืด
- ดอก : รสเมาหวาน > หอบหืด
- เมล็ด : รสเมามัน > ไข้พิษ ไข้ที่ทำให้กระสับกระส่าย ( เวลาใช้ต้องทำให้น้ำมันในเมล็ดหมดไป )
- น้ำมันจากเมล็ด : รสเมาเบื่อ > กลากเกลื้อน หิด เหา
- ราก : รสเมาหวาน > พิษกาฬทั้งปวง ดับพิษร้อน ปวด บวม อักเสบ ไข้พิษเซื่องซึม พยาธิ
ตัวยารส ขม : แก้ทางโลหิต และ ดี
- 4 เถา
-
- บอระเพ็ด ( เถา ) : รสขมเย็น > ไข้ เสมหะ โลหิต บำรุงน้ำดี เจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ
- มะระ ( เถา ) : รสขมเย็น > ไข้ กระหายน้ำ บำรุงน้ำดี
- ชิงช้าชาลี ( เถา ) : ไข้ ไข้เหนืออันเกิดเพื่อโลหิต สะอึก ร้อนในกระหายน้ำ ขับน้ำย่อยอาหาร บำรุงกำลัง ไฟธาตุ เจริญอาหาร ทำให้เลือดในกายเย็น
- ขี้กาแดง ( เถา ) : บำรุงน้ำดี ถ่ายล้างเสมหะให้ตก ดับพิษเสมหะและโลหิต
- 2 ลูก
-
- กระดอม ( ลูก ) : ไข้ บำรุงน้ำดี ให้เจริญอาหาร
- ประคำดีควาย ( ลูก ) : กาฬภายใน ดับพิษตานซาง
- 2 เครือ
- มะกาเครือ หรือ สะไอเครือ : เสมหะเป็นพิษ บิด พยาธิ ปวดเบ่ง ขับเสมหะ ขับฟอกโลหิตระดู
- มะแว้งเครือ ( ใบ, ลูก ) : ไอ น้ำลายเหนียว เสมหะ บำรุงธาตุ
- สะเดา
-
- สะเดา ( เปลือกต้น ) : รสขมฝาดเย็น > บิดมูกเลือด
- ดี
-
- ดี สัตว์ ต่างๆ : ขับยาให้เล่นเร็ว บำรุงน้ำดี และโลหิต
ตัวยารส เผ็ดร้อน : แก้ลม
- 2 ลูก
-
- จันทน์เทศ ( ลูก ) : ธาตุพิการ ปวดท้อง ชูไฟธาตุ เจริญอาหาร รัดมดลูก
- กระวาน ( ลูก ) : กระจายเสมหะ โลหิต แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด ขับลมในท้อง
- 2 หัว
-
- เตาเกียด ( หัว ) : ตับปอดพิการ ตับทรุด ฟอกเสมหะ
- กระชาย ( หัว ) : มุตกิด โรคในปาก ลมอันเกิดแต่กองหทัยวาตะ
- 2 พริก
- พริกหอม : ขับลมในกระเพาะอาหาร และลำไส้
- พริกหาง : บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง ขับลม ขับปัสสาวะ ขับหนอง
- ดอก ราก กาน แห้ง
-
- ดอกจันทน์ : ปวดท้อง ธาตุพิการ ชูไฟธาตุ เจริญอาหาร รัดมดลูก
- รากพาดไฉน : เสมหะ ขับลมผาย
- กานพลู : เสมหะอันเกิดในกองโลหิต รัตตะปิตตะโรค ปวดท้อง รำมะนาด กระจายลมเมหะอันข้น กระทำให้อาหารงวด
- ขิงแห้ง : รสเผ็ดร้อนหวาน > พรรดึก จุกเสียด ไข้ตรีโทษ กระจายลม ขับเหงื่อ
ตัวยารส มัน : แก้เส้นเอ็น
- 5 เมล็ด
-
- งา ( เมล็ด ) : เส้นเอ็น แก้เมื่อย บำรุงกำลัง บำรุงไขมัน
- ถั่วเขียว ( เมล็ด ) : ร้อนภายใน ขัดข้อ บำรุงเนื้อและกระดูก บำรุงกำลัง
- ถั่วลันเตา ( เมล็ด ) : ตับพิการ และม้ามย้อย บำรุงกำลัง
- ถั่วลิสง ( เมล็ด ) : บำรุงไขมัน เส้นเอ็น กำลัง ขับผายลม
- มะม่วงหิมพานต์ ( เมล็ด ) : โรคผิวหนัง ทำลายตุ่มตาปลา
- 2 หัว
-
- แห้ว ( หัว ) : บำรุงกำลัง ครรภ์ ธาตุ เป็นยาอายุวัฒนะ
- ถั่วพู ( หัว ) : ไข้ น้ำดีพิการ บำรุงกำลัง
- นม เลือด แก่น
- น้ำนมแพะ : จุกเสียด หืดไอ บำรุงธาตุไฟ กำลัง
- เลือดแรด : รสมันคาว > ช้ำใน กระจายโลหิต บำรุงโลหิต
- กันเกรา ( แก่น ) : ปวดเมื่อย บำรุงไขข้อ เป็นยาอายุวัฒนะ
ตัวยารส หอมเย็น : บำรุงหัวใจ
- เกสร ( ทั้ง 5 )
-
- เกสร ( ทั้ง5 ) : ร้อนในกระหายน้ำ ไข้จับ ไข้เพื่อลม ให้เจริญอาหาร โรคตา บำรุงหัวใจ
- 3 หอม
-
- กฤษณา : ไข้ บำรุงหัวใจ ตับ ปอด
- กระลำพัก : พิษเสมหะ โลหิต ธาตุพิการ บำรุงตับ ปอด หัวใจ
- ขอนดอก : ไข้เพื่อตรีโทษ บำรุงตับ ปอด หัวใจ ครรภ์รักษา
- 2 ราก
- แฝกหอม ( ราก ) : ไข้เพื่อดี บำรุงหัวใจ
- ชะลูด ( ราก ) : ไข้อ่อนเพลีย ลมบาดทะจิต
- เตย ดอก ฝรั่น พิมเสน
-
- เต้นหอม ( ต้น ) : บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ
- น้ำดอกไม้เทศ : บำรุงหัวใจให้ผ่องใส
- หญ้าฝรั่น : ชูกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้ชื่นใจ
- พิมเสนในปล้องไม้ไผ่ : เสมหะ ลม หอบ หืด โรคตา
ตัวยารส เค็ม : ซึมซาบไปตามผิวหนัง
- 3 เปลือก
-
- ลำพู ( เปลือกต้น ) : โรคผิวหนัง แผลเปื่อย
- ตะบูน ( เปลือกต้น ) : บิด ท้องร่วง สมาน แก้ไอ
- มะเกลือ ( เปลือกต้น ) : กระษัย พยาธิ ตานซาง
- 2 ใบ
-
- กระชาย ( ใบ ) : โรคในปาก ลำคอ โลหิต
- หอมแดง ( ใบ ) : ไข้หวัด โรคตา ฟกบวมซ้ำ
- 2 ปืน
- โคกกระสุน : ไตพิการ ขับปัสสาวะ ขับมุตกิด
- ดินประสิว : ถอนพิษ ขับปัสสาวะ ขับลมในเส้น
- เกลือ 5 ทะเล หอย
-
- เกลือ ( ทั้ง 5 ) : ไข้พรรดึก ท้องมาน เสมหะ บิดมูกเลือด บำรุงน้ำเหลือง
- แสมทะเล ( แก่น ) : กระษัย ขับโลหิต น้ำคาวปลา ขับลม
- นวหอยจืด ( เผา ) : รสเค็มกร่อย > โรคกระษัย ไตพิการ ขับลมในลำไส้ ชะล้างลำไส้ ขับปัสสาวะ นิ่ว บำรุงกระดูก
ตัวยารส เปรี้ยว : กัดเสมหะ
- 5 ใบ
-
- ส้มป่อย ( ใบ ) : ชำระล้างเสมหะในลำไส้ ฟอกโลหิต
- โทงเทง ( ใบ ) : เจ็บคอ ฝีในคอ น้ำลายพิการ
- มะขาม ( ใบ ) : คูถเสมหะ ฟอกโลหิต
- ส้มเปรี้ยว ( ใบ ) : เสมหะ ฟอกโลหิตสตรี
- มะยม ( ใบ ) : เสมหะ ถอนพิษ ไข้เพื่อเสมหะ
- 4 ลูก
-
- มะดัน ( ลูก ) : ล้างเสมหะ ฟอกโลหิต
- มะเขือขื่น ( ลูก ) : ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว
- มะอึก ( ลูก ) : ไอ น้ำลายเหนียว ขับเสมหะ
- มะนาว, มะกรูด, ส้มซ่า ( ลูก-น้ำ ) : กัดเสมหะ แก้ลม ฟอกโลหิต
- 1 ราก
- มะกล่ำ ทั้ง 2 ( ราก ) : ศอเสมหะ ลมในลำไส้ บำรุงเสียง
ตัวยารส จืด : แก้เสมหะ และ ปัสสาวะ
- 4 ราก
-
- แตงหนู ( ราก ) : เสมหะ ปัสสาวะพิการ
- ไทรย้อย ( ราก ) : กระษัยไตพิการ ขับปัสสาวะ
- ต่อไส้ ( ราก ) : ปัสสาวะ ไตพิการ
- ไม้ไผ่ป่า ( ตา, ราก ) : ไตพิการ ขับปัสสาวะ
- 2 ต้น
-
- ขลู่ ( ต้น ) : กระษัยกล่อน ปัสสาวะพิการ
- ผักกาดน้ำ ( ต้น ) : แก้ช้ำรั่ว ขับปัสสาวะ
- ตะไคร้น้ำ ตำลึง ปรู ปล้อง
-
- ตะไคร้น้ำ / ตะไคร้หางนาค : ช้ำรั่ว กระษัยกล่อน ขับปัสสาวะ
- หญ้าถอดปล้อง : แก้มุตกิด ขับปัสสาวะ
- ตำลึง ( เถา ) : รสจืดเย็น > ไข้ที่มีพิษ โรคตา ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
- ปรู / แส้ม้าทลาย ( แก่น ) : เหลืองเสีย พิษประดง เสมหะพิการ

3. รสยาประจำธาตุ ( แก้ตามธาตุ : กินเมื่อธาตุใด ธาตุหนึ่งพิการ )
- ปถวี ( ดิน 20 ) : ฝาด หวาน มัน เค็ม
- อาโป ( น้ำ 12 ) : เปรี้ยว ขม เมาเบื่อ
- วาโย ( ลม 6 ) : สุขุม เผ็ดร้อน
- เตโช ( ไฟ 4 ) : เย็น จืด
4. รสยาแก้ตามวัย ( แก้ตามอายุ )
- ปฐมวัย แรกเกิด – 16 ปี : สมุฎฐาน อาโป > เสมหะ > หวาน เปรี้ยว ขม
- มัชฉิมวัย 16 – 32 ปี : สมุฎฐาน อาโป > โลหิต + ดี > เปรี้ยวฝาด เปรี้ยวเค็ม ขม
- ปัจฉิมวัย 32 – 64 ปี : สมุฎฐาน วาโย + อาโป แทรก > เสมหะ + เหงื่อ แทรก > ร้อน ขม เค็ม หอม ฝาด
- รสขม : ใช้ได้กับทุกวัย
5. รสยาแก้ตามฤดู
- ฤดูร้อน – คิมหันตฤดู : เตโช-ปิตะ พิการ > เย็น จืด
- ฤดูฝน – วสันตฤดู : วาโย-วาตะ พิการ > สุขุม ร้อน
- ฤดูหนาว – เหมันตฤดู : อาโป-เสมหะ พิการ > สุขุม เปรี้ยว
6. รสยา แก้ตามกาล ( คนไข้ได้รับประทานยาได้ทัน หรือ ตรงกับสมุฎฐานของโรคในกาลนั้นๆ )
6.2 กาล 3 คือ กลางวัน แบ่งออกเป็น 3 ยาม กลางคืนแบ่งออกเป็น 3 ยาม คือ ( พิกัดโรค : รสน้ำกระสายยา )
- ยามที่ 1 นับแต่ 06.00 น. ถึง 10.00 น. หรือนับแต่ 18.00 น. ถึง 22.00 น. > เสมหะ : เปรี้ยว
- ยามที่ 2 นับแต่ 10.00 น. ถึง 14.00 น. หรือนับแต่ 22.00 น. ถึง 02.00 น. > โลหิต + ดี : ขม
- ยามที่ 3 นับแต่ 14.00 น. ถึง 18.00 น. หรือนับแต่ 02.00 น. ถึง 06.00 น. > ลม : ร้อน
6.3 กาล 4 คือ กลางวัน แบ่งออกเป็น 4 ยาม กลางคืนแบ่งออกเป็น 4 ยาม คือ ( สมุฎฐาน : พิกัดโรค )
- ยามที่ 1 นับแต่ (ย่ำรุ่ง) 6.00 น. ถึง 9.00 น. หรือนับแต่ 18.00 ถึง 21.00 น. > อาโป : เสมหะ
- ยามที่ 2 นับแต่ 9.00 น. ถึง 12.00 น. หรือนับแต่ 21.00 น. ถึง 24.00 น. > อาโป : โลหิต
- ยามที่ 3 นับแต่ 12.00 น. ถึง 15.00 น. หรือนับแต่ 00.00 น. ถึง 03.00 น. > อาโป : ดี
- ยามที่ 4 นับแต่ 15.00 น. ถึง 18.00 น. หรือนับแต่ 03.00 น. ถึง 06.00 น. > วาโย : วาตะ ( ลม )