แพทย์แผนไทย เภสัชกรรมไทย
บทที่ 4 คณาเภสัช
คณาเภสัช : จัดหมวดหมู่ตัวยาหลายสิ่ง ตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไปรวมกัน
- เรียกเป็นชื่อเดียวกัน
- เรียกเป็นคำตรงตัวยา
- เรียกเป็นคำศัพท์
จัดตั้งพิกัดเพื่อ
- สะดวกในการจดจำ
- สะดวกในการเข้าตำรา
- สะดวกในการปรุงยา
จัดตั้งพิกัดอาศัย
- รสยาไม่ขัดกัน
- สรรพคุณเสมอ หรือ คล้ายคลึงกัน
น้ำหนักของส่วนพิกัดยา
- ต้ม : 1 บาท = 15 g
- ผง : 1 สลึง = 3.75 g
- ดอง : 1 เฟื้อง = 1.875 g
- แทรก : กึ่ง = ครึ่ง ( ของตัวยาทั้งหมด )
3 หมวด
1. จุลพิกัด : จำกัดตัวยาน้อยชนิด ชื่อเดียว ต่างกัน 5 อย่าง ( น้ำหนักเสมอภาคกัน )
- ขนาด
- สี
- รส
- ชนิด
- ถิ่นที่เกิด
1.1 พวกที่ต่างกันที่ ขนาด
- กระพังโหมทั้ง 2 คือ กระพังโหมน้อย กระพังโหมใหญ่ <<< ( น้อย / ใหญ่ )
- ตับเต่าทั้ง 2 คือ ตับเต่าน้อย ตับเต่าใหญ่
- เปล้าทั้ง 2 คือ เปล้าน้อย เปล้าใหญ่
- เร่วทั้ง 2 คือ เร่วน้อย เร่วใหญ่
- ส้มกุ้งทั้ง 2 คือ ส้มกุ้งน้อย ส้มต้มกุ้งใหญ่
- ข่าทั้ง 2 คือ ข่าเล็ก ข่าใหญ่ <<< ( เล็ก / ใหญ่ )
1.2 พวกที่ต่างกันที่ สี
- กะเพราทั้ง 2 คือ กะเพราแดง กะเพราขาว <<< ( แดง / ขาว )
- หัวกระดาดทั้ง 2 คือ หัวกระดาดแดง หัวกระดาดขาว
- ต้นก้างปลาทั้ง 2 คือ ต้นก้างปลาแดง ต้นก้างปลาขาว
- ขี้กาทั้ง 2 คือ ขี้กาแดง ขี้กาขาว
- ขอบชะนางทั้ง 2 คือ ขอบชะนางแดง ขอบชะนางขาว
- แคทั้ง 2 คือ แคแดง แคขาว
- จันทน์ทั้ง 2 คือ จันทน์แดง จันทน์ขาว
- เจตมูลเพลิงทั้ง 2 คือ เจตมูลเพลิงแดง เจตมูลเพลิงขาว
- เทียนทั้ง 2 คือ เทียนแดง เทียนขาว
- บัวหลวงทั้ง 2 คือ บัวหลวงแดง บัวหลวงขาว
- ผักเป็ดทั้ง 2 คือ ผักเป็ดแดง ผักเป็นขาว
- ผักแพวทั้ง 2 คือ ผักแพวแดง ผักแพวขาว
- ฝ้ายทั้ง 2 คือ ฝ้ายแดง ฝ้ายขาว
- เถามวกทั้ง 2 คือ เถามวกแดง เถามวกขาว
- ละหุ่งทั้ง 2 คือ ละหุ่งแดง ละหุ่งขาว
- สัตตบงกชทั้ง 2 คือ สัตตบงกชแดง สัตตบงกชขาว
- หางไหลทั้ง 2 คือ หางไหลแดง หางไหลขาว
- กระดูกไก่ทั้ง 2 คือ กระดูกไก่ดำ กระดูกไก่ขาว <<< ( ดำ / ขาว )
- การบูรทั้ง 2 คือ การบูรดำ การบูรขาว
- กระวานทั้ง 2 คือ กระวานดำ กระวานขาว
- พริกไทยทั้ง 2 คือ พริกไทยดำ พริกไทยขาว (ล่อน)
- กำมะถันทั้ง 2 คือ กำมะถันแดง กำมะถันเหลือง <<< ( แดง / เหลือง )
1.3 พวกที่ต่างกันที่ รส
- มะขามทั้ง 2 คือ มะขามเปรี้ยว มะขามหวาน <<< ( เปรี้ยว / หวาน )
- มะปรางทั้ง 2 คือ มะปรางเปรี้ยว มะปรางหวาน
- มะเฟืองทั้ง 2 คือ มะเฟืองเปรี้ยว มะเฟืองหวาน
- มะขามเทศ 2 คือ มะขามเทศฝาด มะขามเทศมัน <<< ( ฝาด / มัน )
1.4 พวกที่ต่างกันที่ ชนิด ( เพศผู้ – เพศเมีย )
- กระพังโหมทั้ง 2 คือ กระพังโหมตัวผู้ กระพังโหมตัวเมีย
- เกลือทั้ง 2 คือ เกลือตัวผู้ เกลือตัวเมีย
- ตำแยทั้ง 2 คือ ตำแยตัวผู้ ตำแยตัวเมีย
- เบี้ยทั้ง 2 คือ เบี้ยตัวผู้ เบี้ยตัวเมีย
- ผักปอดทั้ง 2 คือ ผักปอดตัวผู้ ผักปอดตัวเมีย
- มะยมทั้ง 2 คือ มะยมตัวผู้ มะยมตัวเมีย
- หมากทั้ง 2 คือ หมากผู้ หมากเมีย
- ศิลายอนทั้ง 2 คือ ศิลายอนตัวผู้ ศิลายอนตัวเมีย
1.5 พวกที่ต่างกันที่ ถิ่นที่เกิด
- กระท้อนทั้ง 2 คือ กระท้อนบ้าน กระท้อนป่า <<< ( บ้าน / ป่า )
- กะทือทั้ง 2 คือ กะทือบ้าน กะทือป่า
- ขี้เหล็กทั้ง 2 คือ ขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กป่า
- เขาวัวทั้ง 2 คือ เขาวัวบ้าน เขาวัวป่า
- ชำมะเรียงทั้ง 2 คือ ชำมะเรียงบ้าน ชำมะเรียงป่า
- ปรงทั้ง 2 คือ ปรงบ้าน ปรงป่า
- ประยงค์ทั้ง 2 คือ ประยงค์บ้าน ประยงค์ป่า
- ผักหวานทั้ง 2 คือ ผักหวานบ้าน ผักหวานป่า
- ยอทั้ง 2 คือ ยอบ้าน ยอป่า
- สะเดาทั้ง 2 คือ สะเดาบ้าน สะเดาป่า
- หัศคุณทั้ง 2 คือ ทัศคุณเทศ หัศคุณไทย <<< ( เทศ / ไทย )
- อบเชยทั้ง 2 คือ อบเชยเทศ อบเชยไทย
- ชุมเห็ดทั้ง 2 คือ ชุมเห็ดเทศ ชุมเห็ดไทย
- ชะเอมทั้ง 2 คือ ชะเอมเทศ ชะเอมไทย
- สีเสียดทั้ง 2 คือ สีเสียดแขก สีเสียดไทย
- ดีเกลือทั้ง 2 คือ ดีเกลือไทย ดีเกลือฝรั่ง
- สลอดทั้ง 2 คือ สลอดบก สลอดน้ำ <<< ( อื่นๆ )
- มะระทั้ง 2 คือ มะระขี้นก ( ผักไห ) มะระจีน
- หัวข้าวเย็นทั้ง 2 คือ หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้
- ชะมดทั้ง 2 คือ ชะมดเช็ด ชะมดเชียง
- หญ้าเกล็ดหอยทั้ง 2 คือ หญ้าเกล็ดหอยเล็ก ( อยู่บนบก ) หญ้าเกล็ดหอยใหญ่
- แสมทั้ง 2 คือ แสมสาร แสมทะเล

2. พิกัด : ตัวยา 2 สิ่งขึ้นไป เรียกชื่อเดียวกัน ( น้ำหนักเสมอภาคกัน )
- พิกัดยา 2 สิ่ง มี 2 พิกัด > ทเว
- พิกัดยา 3 สิ่ง มี 30 พิกัด > ตรี
- พิกัดยา 4 สิ่ง มี 4 พิกัด > จตุ
- พิกัดยา 5 สิ่ง มี 18 พิกัด > เบญจ
- พิกัดยา 7 สิ่ง มี 6 พิกัด > สัตตะ
- พิกัดยา 9 สิ่ง มี 6 พิกัด > เนาว
- พิกัดยา 10 สิ่ง มี 2 พิกัด
- พิกัดยาพิเศษ มี 4 พิกัด
2.1 พิกัดยา 2 สิ่ง
- พิกัดทเวคันธา ( ทเวสุคนธ์ ) : ตัวยามีกลิ่นหอม : 2 อย่าง
-
- รากบุนนาค : ขับลมในลำไส้
- รากมะซาง : แก้โลหิต แก้กำเดา
- พิกัดทเวติคันธา : ตัวยามีกลิ่นหอม : 3 อย่าง ในยา 2 สิ่ง
-
- ดอกบุนนาค : บำรุงโลหิตแก้กลิ่นเหม็นสาบสางในร่างกาย
- แก่นบุนนาค : แก้รัตตะปิตตะโรค
- รากบุนนาค : ขับลมในลำไส้
- ดอกมะซาง : ทำใจให้ชุ่มชื่นชูกำลัง
- แก่นมะซาง : แก้คุดทะราด แก้เสมหะ แก้ไข้สัมประชวร
- รากมะซาง : แก้โลหิต แก้กำเดา
2.2 พิกัดยา 3 สิ่ง
1) พิกัดตรีผลา คือ จำกัดจำนวนผลไม้ 3 อย่าง คือ
ลูกสมอพิเภก
ลูกสมอไทย
ลูกมะขามป้อม
สรรพคุณ แก้ปิตตะ วาตะ เสมหะ ในกองธาตุ ฤดู อายุ และกองสมุฏฐาน
2) พิกัดตรีกฏุก คือ จำกัดจำนวนตัวยาที่มีรสเผ็ดร้อน 3 อย่าง คือ
เหง้าขิงแห้ง
เมล็ดพริกไทย
ดอกดีปลี
สรรพคุณ แก้วาตะ เสมหะ ปิดตะ ในกองธาตุ ฤดู อายุ และกองสมุฏฐาน
3) พิกัดตรีสาร คือ จำนวนตัวยาที่ให้คุณในฤดูหนาว 3 อย่าง คือ
รากเจตมูลเพลิง
เถาสะค้าน
รากช้าพลู
สรรพคุณ แก้เสมหะ ปิดตะ วาตะ ในกองธาตุ ฤดู อายุ และกองสมุฏฐาน
4) พิกัดตรีสุคนธ์ คือ จำนวนตัวยามีกลิ่นหอม 3 อย่าง คือ
ใบกระวาน
รากอบเชยเทศ
รากพิมเสนต้น
สรรพคุณ แก้ไข้สันนิบาต แก้ไข้เซื่องซึม แก้ไข้จุกเสียด แก้ริดสีดวง
5) พิกัดตรีทิพรส คือ จำนวนตัวยารสดี หรือรสเลิศ 3 อย่าง คือ
โกฐกระดูก
เนื้อไม้ ( กระลำพัก )
อบเชยไทย ( ขอนดอก )
สรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงตับ ปอดและหัวใจ บำรุงกระดูก บำรุงครรภ์รักษา ทำให้ชุ่มชื่น
6) พิกัดตรีสมอ คือ จำนวนสมอ 3 อย่าง คือ
ลูกสมอไทย
ลูกสมอเทศ
ลูกสมอพิเภก
สรรพคุณ แก้เสมหะ แก้ไข้ บำรุงธาตุ ผายธาตุ รู้ถ่ายรู้ปิดเอง
7) พิกัดตรีมธุรส คือ จำนวนตัวยารสหวาน 3 อย่าง คือ
น้ำตาล
น้ำผึ้ง
น้ำมันเนย
สรรพคุณ บำรุงธาตุ แก้สะอึก และแก้ไข้ตรีโทษ ผายธาตุ เจริญอาหาร
8) พิกัดตรีสินธุรส คือ จำนวนตัวยารสน้ำ 3 อย่าง คือ
รากมะตูม
เทียนขาว
น้ำตาลกรวด
สรรพคุณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ พิษไข้พิษฝี ดีพิการ นิ่ว ขับปัสสาวะ
9) พิกัดตรีญาณรส คือ จำนวนตัวยาที่มีรสสำหรับ รู้ 3 อย่าง คือ
ไส้หมาก
รากสะเดา
เถาบอระเพ็ด
สรรพคุณ แก้ไข้ดับพิษร้อน ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงไฟธาตุ เจริญอาหาร
10) พิกัดตรีเพชรสมคุณ คือ จำนวนของตัวยาที่มีคุณเสมอเพชร 3 อย่างคือ
รากว่านหางจระเข้
ฝักราชพฤกษ์
รงทอง
สรรพคุณ แก้ปวดหัว กำเดา โลหิตและน้ำเหลืองเสีย ถ่ายเสมหะ อุจจาระ
11) พิกัดตรีฉินทลมกา คือ จำนวนตัวยาแก้ธาตุลามกให้ตกไป 3 อย่าง คือ
โกฐน้ำเต้า
ลูกสมอไทย
รงทอง
สรรพคุณ ถ่ายท้องบำรุงธาตุ ขับลม ถ่ายไข้เพื่อเสมหะ ถ่ายโลหิตและน้ำเหลืองเสีย
12) พิกัดตรีเกสรเพศ คือ จำนวนของตัวยามีรสแห่งเกสร 3 อย่าง คือ
เปลือกฝิ่นต้น
เกสรบัวหลวงแดง
เกสรบัวหลวงขาว
สรรพคุณ คุมธาตุ แก้ไขเพื่อปถวีธาตุกำเริบ ทำตัวให้เย็น แก้คลื่นเหียนอาเจียน
13) พิกัดตรีเกสรมาศ คือ จำนวนตัวยาเกสรทอง 3 อย่าง
เปลือกฝิ่นต้น
เกสรบัวหลวง
ลูกมะตูมอ่อน
สรรพคุณ เจริญอาหาร บำรุงธาตุ คุมธาตุ บำรุงกำลัง แก้ท้องเดิน
14) พิกัดตรีอมฤต คือ จำนวนตัวยาที่ไม่ตาย 3 อย่าง คือ
รากมะกอก
รากกล้วยตีบ
รากกระดอม
สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ท้องเดิน
15) พิกัดตรีสัตกุลา (รัตตกุลา) คือ จำนวนตัวยาที่มีตระกูลสามารถ 3 อย่าง
เทียนดำ
ลูกผักชีลา
เหง้าขิงสด
สรรพคุณ บำรุงไฟธาตุ ขับลมในลำไส้ แก้อากาศธาตุ 10 ประการ แก้อาเจียน
16) พิกัดตรีทุรวสา คือ จำนวนตัวยาแก้มันเหลวพิการ 3 อย่าง
เมล็ดโหระพา
ลูกกระวาน
ลูกราชดัด
สรรพคุณ แก้บิด ลม พิษตานซาง บำรุงน้ำดี
17) พิกัดตรีสุคติสมุฏฐาน คือ จำนวนตัวยาทำให้มีความสุขเป็นที่ตั้ง 3 อย่าง คือ
รากมะเดื่อชุมพร
รากเพกา
รากแคแดง
สรรพคุณ แก้ไข้พิษต่างๆ บำรุงไฟธาตุ คุมธาตุ
18) พิกัดตรีผลสมุฏฐาน คือ จำนวนผลไม้เป็นที่ตั้ง 3 อย่าง ( ที่เกิดแห่งผล 3 อย่าง ) คือ
ลูกมะตูม
ลูกยอ
ลูกผักชีลา
สรรพคุณ แก้สมุฏฐานแห่งตรีโทษ ขับลมต่างๆ แก้อาเจียน แก้โรคไตพิการ
19) พิกัดเสมหะผล คือ จำนวนตัวยาที่มีคุณแก้เสมหะ 3 อย่าง คือ
ลูกช้าพลู
รากดีปลี
รากมะกล่ำเครือ
สรรพคุณ แก้เสมหะ สะอึก ลม เส้นอัมพฤกษ์อัมพาต
20) พิกัดปิตตะผล คือ จำนวนผลแก้ลม 3 อย่าง คือ
รากเจตมูลเพลิง
รากกะเพรา
ผักแพวแดง ( บอระเพ็ด )
สรรพคุณ แก้จตุกาลเตโช ลม เส้นประสาทพิการ ปวดเมื่อยตามข้อ บำรุงธาตุ
21) พิกัดตรีวาตะผล คือ จำนวนผลแก้ลม 3 อย่าง คือ
ลูกสะค้าน
รากพริกไทย
เหง้าข่า
สรรพคุณ แก้กองลม เสมหะ แน่นในทรวงอก เลือด บำรุงไฟธาตุ
22) พิกัดตรีอากาศผล คือ จำนวนผลแก้อากาศธาตุ 3 อย่าง คือ
เหง้าขิง
กระลำพัก
อบเชยเทศ
สรรพคุณ แก้อากาศธาตุ 10 ประการ ตรีสมุฏฐาน แน่นในอก โลหิตเป็นพิษ ไข้จับ ขับลม ปลูกธาตุไฟ
23) พิกัดตรีธารทิพย์ คือ จำนวนตัวยาที่มีรสดังน้ำทิพย์ 3 อย่าง คือ
รากไทรย้อย
รากราชพฤกษ์
รากมะขามเทศ
สรรพคุณ แก้กระษัย ท้องร่วง บำรุงน้ำนม ฆ่าเชื้อคุดทะราด
24) พิกัดตรีพิษจักร คือ จำนวนจักรพิษ 3 อย่าง คือ
ลูกผักชีล้อม
ลูกจันทน์เทศ
กานพลู
สรรพคุณ แก้ลม พิษเลือด ปวดท้องจุกเสียด บำรุงโลหิต
25) พิกัดตรีชาติ (ธาตุ) คือจำนวนวัตถุ 3 อย่าง คือ
ดอกจันทร์เทศ
ลูกกระวาน
อบเชย
สรรพคุณ แก้ธาตุพิการ ลมเสมหะ วิงเวียน บำรุงดวงจิต
26) พิกัดตรีกาฬพิษ คือ จำนวนตัวยาแก้พิษตามกาล 3 อย่าง
รากกะเพราแดง
หัวกระชาย
เหง้าข่า
สรรพคุณ แก้ไขสันนิบาต เลือดเสีย บำรุงธาตุ กำหนัด ขับลม
27) พิกัดตรีคันธวาตะ ( กันธวาต ) คือ จำตัวยาแก้พิษตามกาล 3 อย่าง คือ
ลูกเร่วใหญ่
ลูกจันทน์
ดอกกานพลู
สรรพคุณ แก้ธาตุพิการ คลื่นเหียนอาเจียน ริดสีดวงทั้ง 9 ไอหืด
28) พิกัดตรีผลธาตุ คือ จำนวนผลแก้ธาตุ 3 อย่าง คือ
เหง้ากะทือ
หัวตะไคร้หอม
เหง้าไพล
สรรพคุณ แก้ไข้ตัวร้อน กำเดา ฟกบวมปวดเมื่อย บำรุงไฟธาตุ
29) พิกัดตรีสันนิบาตผล ( ตรีโลหิตะพละ ) คือ จำนวนผลแก้สันนิบาต 3 อย่างคือ
ผลดีปรี
รากกะเพรา
รากพริกไทย
สรรพคุณ แก้ปถวี 20 ประการ ไข้สันนิบาต แก้ในกองลม บำรุงธาตุ
30) พิกัดตรีสุรผล คือ จำนวนยามีรสกล้า 3 อย่าง คือ
สมุลแว้ง
เนื้อไม้
เทพทาโร
สรรพคุณ แก้ลมสัมประชวร ลมสลบ ลมในท้อง ทำให้ปวดท้องจุกเสียดแน่น บำรุงธาตุ โลหิต
2.3 พิกัดยา 4 สิ่ง
1) พิกัดจตุกาลธาตุ คือ จำนวนตัวยาแก้ธาตุตามเวลา 4 อย่าง คือ
หัวว่านน้ำ
รากเจตมูลเพลิง
รากแคแตร
รากนมสวรรค์
สรรพคุณ แก้ไข้ ธาตุพิการ จุกเสียด เสมหะ โลหิตในท้อง ขับลมในท้อง บำรุงธาตุ
2) พิกัดจตุทิพคันธา คือ จำนวนยาที่มีกลิ่นหอมดังกลิ่นทิพย์ 4 อย่าง คือ
รากมะกล่ำเครือ
รากชะเอมเทศ
ดอกพิกุล
เหง้าขิงแครง
สรรพคุณ แก้เสมหะ ลมปั่นป่วน พรรดึก บำรุงธาตุ หัวใจ
3) พิกัดจตุผลาธิกะ คือ จำนวนผลไม้ให้คุณ 4 อย่าง คือ
ลูกสมอไทย
ลูกสมอภิเภก
ลูกมะขามป้อม
ลูกสมอเทศ
สรรพคุณ ถ่ายไข้ ลม แก้โรคตา บำรุงธาตุ ผายธาตุ รู้ถ่ายรูปิดธาตุ
4) พิกัดจตุวาตะผล คือ จำนวนตัวยาแก้ลมได้ผล 4 อย่าง คือ
เหง้าขิง
กระลำพัก
เปลือกอบเชย
โกฐหัวบัว
สรรพคุณ แก้ไข้พรรดึก ตรีสมุฏฐาน ลมในกองริดสีดวง ขับผายลม บำรุงธาตุ
2.4 พิกัดยา 5 สิ่ง
1) พิกัดเบญจกูล คือ จำกัดจำนวนตระกูลยา ( เครื่องยา ) ที่มีรสร้อน 5 อย่าง คือ
ดอกดีปลี
รากช้าพลู
เถาสะค้าน
รากเจตมูลเพลิง
เหง้าขิงแห้ง
สรรพคุณ กระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ บำรุงกองธาตุทั้ง 4
2) พิกัดเบญจอมฤต คือ จำกัดตัวยาดังน้ำทิพย์ 5 อย่าง คือ
น้ำนมสด
น้ำนมส้ม
น้ำอ้อย
น้ำผึ้ง
น้ำมันเนย
สรรพคุณ บำรุงกำลัง ธาตุไฟ ขับลมให้แล่น ทั่วกาย แก้ไข้ตรีโทษ ผายธาตุ แก้กำเดาและลม กระจายเสมหะ
3) พิกัดเบญจผลธาตุ คือ จำกักจำนวนตัวยาที่แก้ผลธาตุได้ 5 อย่าง คือ
หัวกกลังกา
หัวเต่าเกียด
หัวแห้วหมู
หัวหญ้าชันกาด
หัวเปราะ
สรรพคุณ แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง เจริญไปธาตุ แก้ทางเดินปัสสาวะ แก้ตับทรุด
4) พิกัดเบญจมูลน้อย คือ จำกัดจำนวนตัวยารากน้อย แก้สมุฏฐานทั้งสาม 5 อย่าง คือ
หญ้าเกล็ดหอยใหญ่
หญ้าเกล็ดหอยน้อย
รากละหุ่งแดง
รากมะเขือขื่น
รากมะอึก
สรรพคุณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับน้ำนม ขับเลือดลม กระทุ้งพิษไข้ แก้น้ำลาย
5) พิกัดเบญจมูลใหญ่ คือ จำกัดจำนวนยารากใหญ่ แก้สมุฏฐานทั้งสามมี 5 อย่าง คือ
รากมะตูม
รากลำไย
รากเพกา
รากแคแตร
รากคัดลิ้น
สรรพคุณ แก้ดี ลม เสมหะ ไข้สันนิบาต เส้นเอ็นพิการ เบญจมูลน้อย รวมกับเบญจมูลใหญ่ เป็นทศมูลใหญ่ บำรุงไฟธาตุ
6) พิกัดเบญจโลกวิเชียร คือ จำกัดจำนวนตัวยาเสมอด้วยแก้วิเชียร 5 อย่าง คือ ( แก้ว 5 ดวง, ยา 5 ราก หรือ เพชรสว่าง )
รากชิงชี่
รากหญ้านาง
รากท้าวยายม่อม
รากคนทา
รากมะเดื่อชุมพร
สรรพคุณ ใช้กระทุ้งพิษต่างๆ หรือถอนพิษต่างๆ แก้ไข้ต้นมือ ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัว ไข้เพื่อดีและโลหิต
7) พิกัดเบญจโลธิกะ คือ จำกัดจำนวนตัวยาที่มีคุณทำให้ชื่นใจมี 5 อย่าง คือ
แก่นจันทน์แดง
แก่นจันทน์ขาว
แก่นจันทน์ชะมด
ต้นเนระภูสี
ต้นมหาสดำ
สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดี ไข้รัตตะปิตตะโรค ลมวิงเวียน พิษทั้งปวง
8) พิกัดจันทน์ทั้ง 5 คือ จำกัดจำนวนแก่นไม้จันทน์ 5 อย่าง คือ
แก่นจันทน์แดง
แก่นจันทน์ขาว
แก่นจันทน์เทศ
แก่นจันทนา
แก่นจันทน์ชะมด
สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดีและโลหิต ร้อนในกระหายน้ำ พยาธิ บาดแผล บำรุงตับ ปอด
9) พิกัดเกสรทั้ง 5 คือ จำกัดจำนวนเกสรดอกไม้ 5 อย่าง คือ
ดอกมะลิ
ดอกพิกุล
ดอกบุนนาค
ดอกสารภี
เกสรบัวหลวง
สรรพคุณ แก้น้ำดี โรคตา ร้อนในกระหายน้ำ ไข้จับ ลมวิงเวียน ชูกำลัง บำรุงหัวใจ ให้เจริญอาหาร
10) พิกัดตานทั้ง 5 คือ จัดจำนวนของรากตาล 5 อย่าง คือ
รากตาลโตนด
รากตาลดำ
รากตานหม่อน
รากตานเสี้ยน
รากตานขโมย
สรรพคุณ ดับพิษตานซาง ขับพยาธิทุกชนิด แก้อุจจาระธาตุพิการ บำรุงเนื้อหนัง กระดูก
11) พิกัดดีทั้ง 5 คือ จำกัดจำนวนดีสัตว์ทั้ง 5 อย่าง คือ
ดีงูเหลือม
ดีหมูป่า
ดีวัวป่า
ดีจระเข้
ดีตะพาบน้ำ
สรรพคุณ ดีต่างๆ มีรสขมหวาน ขับรสยาให้แล่นเร็ว มักใช้เป็นน้ำกระสายแก้โรคทั้ง 3 สมุฏฐาน คือ ดี โลหิต และธาตุลมที่พิการ
12) พิกัดเหล็กทั้ง 5 คือ จำกัดจำนวนตัวยาที่มีชื่อว่าเหล็ก 5 อย่าง คือ
ต้นหญ้ามือเหล็ก
แก่นขี้เหล็ก
เถาวัลย์เหล็ก
ว่านสากเหล็ก
สนิมเหล็ก
สรรพคุณ แก้พิษโลหิตทั้งบุรุษและสตรี บำรุงกำลังให้แข็งแรง แก้กระษัย
13) พิกัดเกลือทั้ง 5 คือ จำกัดจำนวนของเลือ 5 อย่าง คือ
เกลือสมุทร
เกลือสินเธาว์
เกลือพิก
เกลือวิก
เกลือฟอง ( ฝ่อ )
สรรพคุณ แก้ไข้พรรดึก ท้องมาน เสมหะ บิดมูกเลือด บำรุงน้ำเหลือง ชำระเมือกมันในลำไส้
14) พิกัดบัวทั้ง 5 ( บัวน้ำทั้ง 5 ) คือ จำกัดจำนวนดอกบัว 5 อย่าง คือ
บัวสัตตบุษย์
บัวสัตตบรรณ
บัวลินจง
บัวจงกลนี
บัวนิลอุบล
สรรพคุณ แก้อุจจาระธาตุ ไข้เพื่อลมและโลหิต ไข้รากสาด ชูกำลัง บำรุงหัวใจ ครรภ์รักษา
15) พิกัดโหราทั้ง 5 คือ จำกัดจำนวนตัวยา ชื่อว่าโหรา 5 อย่าง คือ
โหราอมฤต
โหรามิคสิงคลี
โหราเท้าสุนัข
โหราบอน
โหราเดือยไก่
สรรพคุณ แก้พิษสัตว์ ทำให้อาเจียน ขับลม ขับระดูสตรี และขับโลหิตช้าๆ
16) พิกัดเบญจโลหะ คือ จำกัดจำนวนตัวยาที่มีชื่อคล้ายโลหะทอง 5 อย่าง คือ
รากทองกวาว
รากทองหลางหนาม
รากทองหลางใบมน
รากทองโหลง
รากทองพันชั่ง
สรรพคุณ แก้โรคดี เสมหะ และลมที่เป็นพิษ แก้ริดสีดวง ทำลายพยาธิ
17) พิกัดเบญจเทียน คือ จำกัดจำนวนตัวยาที่มีชื่อว่าเทียน 5 อย่าง คือ
เทียนดำ
เทียนแดง
เทียนขาว
เทียนข้าวเปลือก
เทียนตาตั๊กแตน
สรรพคุณ แก้ลม เสมหะ และดีระคนกัน พิษโลหิต ทางปัสสาวะ นิ่ว มุตกิต บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง
18) พิกัดเบญจโกฐ คือ จำกัดจำนวนตัวยาที่มีชื่อว่าโกฐ 5 อย่าง คือ
โกฐสอ
โกฐเขมา
โกฐหัวบัว
โกฐเชียง
โกฐจุฬาลัมพา
สรรพคุณ แก้ไข้จับ ไข้เพื่อเสมหะ หีดไอ โรคปอด โรคในปาก ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิด
2.5 พิกัดยา 7 สิ่ง
1) พิกัดสัตตะเขา คือ กำหนดจำนวนเขาสัตว์ 7 อย่าง คือ
เขาวัว
เขาควาย
เขากระทิง
เขากวาง
เขาแพะ
เขาแกะ
เขาเลียงผา
สรรพคุณ ดับพิษ ถอนพิษ ถอนพิษผิดสำแดง แก้พิษไข้ร้อน ไข้พิษไข้กาฬ
2) พิกัดสัตตะปะระเหมะ คือ จำกัดจำนวนตัวยาแก้เมือกมัน เสมหะมีกลิ่น 7 อย่าง คือ
ต้นตำแยตัวผู้
ต้นตำแยตัวเมีย
ต้นก้นปิด
ลูกกระวาน
โกฐกระดูก
ลูกรักเทศ
ตรีผลาวะสัง
สรรพคุณ ชำระมลทินโทษให้ตก แก้อุจจาระธาตุลามก ชำระเมือกมันในลำไส้ แก้ปะระเสมหะ 20 ประการ
3) พิกัดสัตตะโลหะ คือ จำกัดจำนวนตัวยาที่มีชื่อเป็นทอง 7 อย่าง คือ
รากทองกวาว
รากทองหลางหนาม
รากทองหลางใบมน
รากทองโหลง
รากทองพันชั่ง
รากฟักทอง
รากต้นใบทอง
สรรพคุณ แก้โรคดี เสมหะ และลมที่เป็นพิษ แก้ริดสีดวง ทำลายพยาธิ
4) พิกัดสัตตะโกฐ คือ จำกัดจำนวนตัวยาที่มีชื่อว่าโกฐ 7 อย่าง คือ
โกฐสอ
โกฐเขมา
โกฐหัวบัว
โกฐเชียง
โกฐจุฬาลัมพา
โกฐก้านพร้าว
โกฐกระดูก
สรรพคุณ แก้ไข้จับ ไข้เพื่อเสมะ หืดไอ โรคปอด โรคในปาก ลมในกองธาตุ ไข้เรื้อรัง หอบสะอึก ชูกำลังบำรุงโลหิต
5) พิกัดสัตตะเทียน คือ จำกัดจำนวนตัวที่ชื่อว่าเทียน 7 อย่าง
เทียนดำ
เทียนแดง
เทียนขาว
เทียนข้าวเปลือก
เทียนตาตั๊กแตน
เทียนสัตตบุษย์
เทียนเยาวพาณี
สรรพคุณ แก้ลม เสมหะและดีระคนกัน พิษโลหิต ทางปัสสาวะ นิ่ว มุตกิด ลมในท้อง พรรดึก ลมครรภ์รักษา บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง
6) พิกัดเกสรทั้ง 7 คือ จำกัดจำนวนเกสรดอกไม้ 7 อย่าง คือ
ดอกมะลิ
ดอกพิกุล
ดอกบุนนาค
ดอกสารภี
ดอกบัวหลวง
ดอกจำปา
ดอกกระดังงา
สรรพคุณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ไข้จับ ลมวิงเวียน โรคตา ไข้เพื่อเสมหะและโลหิต ไข้เพื่อปถวีธาตุ แก้น้ำดี ชูกำลัง บำรุงหัวใจ ให้เจริญอาหาร
2.6 พิกัดยา 9 สิ่ง
1) พิกัดเนาวหอย คือ จำกัดจำนวนหอย 9 อย่าง คือ
เปลือกหอยกาบ
เปลือกหอยขม
เปลือกหอยแครง
เปลือกหอยนางรม
เปลือกหอยพิมพการัง
เปลือกหอยตาวัว
เปลือกหอยจุ๊บแจง
เปลือกหอยมุก
เลือกหอยสังข์
สรรพคุณ แก้โรคกระษัย ไตพิการ ขับลมในลำไส้ ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ ล้างลำไส้ บำรุงกระดูก
2) พิกัดเนาวเขี้ยว คือ จำกัดจำนวนเขี้ยวสัตว์ 9 อย่าง คือ
เขี้ยวหมูป่า
เขี้ยวหมาป่า
เขี้ยวหมี
เขี้ยวเสือ
เขี้ยวช้าง ( งาช้าง )
เขี้ยวแรด
เขี้ยวเลียงผา
เขี้ยวจระเข้ไข้กาฬ
เขี้ยวปลาพะยูน
สรรพคุณ รสจืด คาวเย็น ใช้ดับพิษในกระดูก ในข้อในเส้นเอ็น รวมถึงการบวมภายนอก แก้พิษร้อน ถอนพิษไข้ ดับพิษ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬตักศิลา
3) พิกัดเกสรทั้ง 9 คือ จำกัดจำนวนของเกสรดอกไม้ 9 อย่าง คือ
ดอกมะลิ
ดอกพิกุล
ดอกบุนนาค
ดอกสารภี
เกสรบัวหลวง
ดอกจำปา
ดอกกระดังงา
ดอกลำเจียก
ดอกลำดวน
สรรพคุณ แก้โรคตา ร้อนในกระหายน้ำ ไข้จับ ไข้เพื่อลม ไข้เพื่อปถวีธาตุ ให้เจริญอาหาร
4) พิกัดเนาวโกฐ คือ จำกัดจำนวนตัวยาที่มีชื่อว่าโกฐ 9 อย่าง
โกฐสอ
โกฐเขมา
โกฐหัวบัว
โกฐเชียง
โกฐจุฬาลัมพา
โกฐก้านพร้าว
โกฐกระดูก
โกฐพุงปลา
โกฐชฎามังสี
สรรพคุณ แก้ไข้จับ ไข้เพื่อเสมหะ หืดไอ โรคปอด โรคในปาก ลมในกองธาตุ ไข้เรื้อรัง หอบสะอึก ชูกำลังบำรุง โลหิต
5) พิกัดเนาวเทียน คือ จำกัดจำนวนตัวที่ชื่อว่าเทียน 9 อย่าง คือ
เทียนดำ
เทียนแดง
เทียนขาว
เทียนข้าวเปลือก
เทียนตาตั๊กแตน
เทียนสัตตบุษย์
เทียนเยาวพาณี
เทียนตากบ
เทียนเกล็ดหอย
สรรพคุณ แก้ลม เสมหะและดีระคนกัน พิษโลหิต ทางปัสสาวะ นิ่ว มุตกิด ลมในท้อง พรรดึก ลมครรภ์รักษา บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง
6) พิกัดเนาวโลหะ คือ จำกัดจำนวนตัวยามีชื่อเป็นทอง 9 อย่าง คือ
รากทองกวาว
รากทองหลางหนาม
รากทองหลางใบมน
รากทองโหลง
รากทองพันชั่ง
เนื้อไม้ขันทองพยาบาท
รากต้นใบทอง
รากต้นทองเครือ
รากจำปาทอง
สรรพคุณ แก้โรคดี เสมหะและลมที่เป็นพิษ แก้ริดสีดวง ทำลายพยาธิ
2.7 พิกัดยา 10 สิ่ง
1) พิกัดทศกุลาผล คือ กำหนดจำนวนยาเป็นตระกูล 10 อย่าง คือ
ลูกผักชีทั้ง 2 ( ผักชีล้อม – ผักชีลา )
ลูกเร่วทั้ง 2 ( เร่วน้อย – เร่วใหญ่ )
ชะเอมทั้ง 2 ( ชะเอมไทย – ชะเอมเทศ )
ลำพันทั้ง 2 ( ลำพันแดง – ลำพันขาว )
อบเชยทั้ง 2 ( อบเชยไทย – อบเชยเทศ )
สรรพคุณ แก้ไข้ ไข้เพื่อดีและเสหะ รัตตะปิตตะโรค ลมอัมพฤกษ์อัมพาต ขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุ ปอด กำลัง บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น
2) พิกัดทศมูลใหญ่ คือ กำหนดจำนวนรากไม้ 10 อย่าง คือ ( รวมเบญจมูลน้อย และเบญจมูลใหญ่เข้าด้วยกัน )
หญ้าเกล็ดหอยน้อย
หญ้าเกล็ดหอยใหญ่
รากละหุ่งแดง
รากมะเขือขื่น
รากมะอึก
รากมะตูม
รากลำไย
รากเพกา
รากแคแตร
รากคัดลิ้น
สรรพคุณ แก้ทุราวสา ไข้หวัดน้อย ช้ำรั่ว สะอึก ผอมเหลือง ริดสีดวง นิ่ว กองสันนิบาต ไข้อันมีพิษ บำรุงน้ำนม
2.8 พิกัดพิเศษ
1) พิกัดโกฐพิเศษ คือ กำหนดจำนวนโกฐพิเศษ 3 อย่าง คือ
โกฐกะกลิ้ง
โกฐกักกรา
โกฐน้ำเต้า
สรรพคุณ แก้โรคในปากในคอ พิษสัตว์กัดต่อย ไข้ในกองอติสาร หนองใน ริดสีดวงทวาร ขับระดูร้าย ขับลมในลำไส้ ขับพยาธิ
2) พิกัดเทียนพิเศษ คือ กำหนดจำนวนเทียนพิเศษ 3 อย่าง คือ
เทียนลวด หรือ เทียนหลอด
เทียนขม
เทียนแกลบ
สรรพคุณ แก้ไข้ ลม ครั่นเนื้อครั่นตัว เสมกะดีละคนกัน พิษโลหิต ดีพิการ ลมขึ้นเบื้องสูง ทำให้หูอื้อตาลาย
3) พิกัดบัวพิเศษ คือ จำกัดจำนวนดอกบัวพิเศษ 6 อย่าง คือ
บัวหลวงแดง
บัวหลวงขาว
บัวสัตตบงกชแดง
บัวสัตตบงกชขาว
บัวเผื่อน
บัวขม
สรรพคุณ แก้ไข้อันเกิดแก่ธาตุทั้ง 4 แก้ลม เสมหะ โลหิต และบำรุงกำลัง
4) พิกัดเกลือพิเศษ คือ จำกัดจำนวนเกลือพิเศษ 7 อย่าง คือ
เกลือสมุทร
เกลือสุนจะละ
เกลือสุวสา
เกลือเยาวกาษา
เกลือวิธู
เกลือด่างคลี
เกลือกะตังมูตร
สรรพคุณ แก้เสมหะ ปัสสาวะ โรคท้องมาน น้ำเหลืองเสีย กัดเมือกมันในลำไส้ ล้างลำไส้ บำรุงธาตุทั้ง 4 และแก้ธาตุทั้ง 4

3. มหาพิกัด : ตัวยาหลายสิ่ง ( น้ำหนักไม่เท่ากัน ) ขึ้นอยู่กับ แก้สมุฎฐาน แก้ในกองฤดู กองธาตุ กำเริบ หย่อน พิการ โรคแทรก
- ตรี 3
- เบญจ 5
- มหาทั่วไป 1
3.1 มหาพิกัดตรี ( ยา 3 สิ่ง )
3.1.1 มหาพิกัดตรีผลา ตรีผลาเป็นพิกัดยาในคิมหันตฤดู ( ฤดูร้อน ) ถ้าจะใช้แก้ในสมุฏฐานต่างๆ จะใช้ส่วนของตัวยาในพิกัดแตกต่างกัน ดังนี้
1) มหาพิกัดตรีผลา : แก้ เสมหะ สมุฏฐาน
- ลูกสมอภิเภก 8 ส่วน ( ปิตตะ )
- ลูกสมอไทย 4 ส่วน ( วาตะ )
- ลูกมะขามป้อม 12 ส่วน ( เสมหะ )
2) มหาพิกัดตรีผลา: แก้ ปิตตะ สมุฏฐาน
- ลูกสมอภิเภก 12 ส่วน ( ปิตตะ )
- ลูกสมอไทย 8 ส่วน ( วาตะ )
- ลูกมะขามป้อม 4 ส่วน ( เสมหะ )
3) มหาพิกัดตรีผลา : แก้ วาตะ สมุฏฐาน
- ลูกสมอภิเภก 4 ส่วน ( ปิตตะ )
- ลูกสมอไทย 12 ส่วน ( วาตะ )
- ลูกมะขามป้อม 8 ส่วน ( เสมหะ )
3.1.2 มหาพิกัดตรีกฏุก ตรีกฏุกเป็นพิกัดยาในวสันตฤดู ( ฤดูฝน ) ถ้าจะใช้แก้สมุฏฐานต่างๆ จะใช้ส่วนของตัวยาในพิกัดแตกต่างกัน ดังนี้
1) มหาพิกัดตรีกฏูก : แก้ เสมะหะ สมุฏฐาน
- เหง้าขิงแห้ง 8 ส่วน ( ปิตตะ )
- เมล็ดพริกไทย 4 ส่วน ( วาตะ )
- ดอกดีปลี 12 ส่วน ( เสมหะ )
2) มหาพิกัดตรีกฏุก: แก้ ปิตตะ สมุฏฐาน
- เหง้าขิงแห้ง 12 ส่วน ( ปิตตะ )
- เมล็ดพริกไทย 8 ส่วน ( วาตะ )
- ดอกดีปลี 4 ส่วน ( เสมหะ )
3) มหาพิกัดตรีกฏุก: แก้ วาตะ สมุฏฐาน
- เหง้าขิงแห้ง 4 ส่วน ( ปิตตะ )
- เมล็ดพริกไทย 12 ส่วน ( วาตะ )
- ดอกดีปลี 8 ส่วน ( เสมหะ )
3.1.3 มหาพิกัดตรีสาร ตรีสารเป็นพิกัดยาในเหมันตฤดู ( ฤดูหนาว ) ถ้าจะใช้แก้ในสมุฏฐานต่างๆ จะใช้ส่วนของตัวยาในพิกัดแตกต่างกัน ดังนี้
1) มหาพิกัดตรีสาร : แก้ เสมะหะ สมุฏฐาน
- รากเจตมูลเพลิง 8 ส่วน ( ปิตตะ )
- เถาสะค้าน 4 ส่วน ( วาตะ )
- รากช้าพลู 12 ส่วน ( เสมหะ )
2) มหาพกัดตรีสาร : แก้ ปิตตะ สมุฏฐาน
- รากเจตมูลเพลิง 12 ส่วน ( ปิตตะ )
- เถาสะค้าน 8 ส่วน ( วาตะ )
- รากช้าพลู 4 ส่วน ( เสมหะ )
3) มหาพิกัดตรีสาร: แก้ วาตะ สมุฏฐาน
- รากเจตมูลเพลิง 4 ส่วน ( ปิตตะ )
- เถาสะค้าน 12 ส่วน ( วาตะ )
- รากช้าพลู 8 ส่วน ( เสมหะ )
3.2 มหาพิกัดเบญจ ( ยา 5 สิ่ง )
1) มหาพิกัดเบญจกูล
2) อภิญญาณเบญจกูล
3) ทศเบญจกูล
4) โสฬสเบญจกูล
5) ทศเบญขันธ์
3.2.1 มหาพิกัดเบญจกูล มีส่วนตัวยาดังนี้
รากเจตมูลเพลิง 4 ส่วน
เถาสะค้าน 6 ส่วน
เหง้าขิงแห้ง 10 ส่วน
รากช้าพลู 12 ส่วน
ดอกดีปลี 20 ส่วน
สรรพคุณ แก่ธาตุทั้งปวงให้บริบูรณ์
3.2.2 อภิญญาณเบญจกูล มีส่วนตัวยาดังนี้
ใบ ดอก ราก เจตมูลเพลิง สิ่งละ 4 ส่วน
ใบ ดอก ราก สะค้าน สิ่งละ 6 ส่วน
ใบ ดอก ราก ขิงแห้ง สิ่งละ 10 ส่วน
ใบ ดอก ราก ช้าพลู สิ่งละ 12 ส่วน
ใบ ดอก ราก ดีปลี สิ่งละ 20 ส่วน
สรรพคุณ แก้ในกองอภิญญาณธาตุ คือ ธาตุสำแดงให้รู้ดุจผีสิง
3.2.3 ทศเบญจกูล มีส่วนตัวยาดังนี้
ดอกดีปลี 10 ส่วน
เถาสะค้าน 10 ส่วน
เหง้าขิงแห้ง 10 ส่วน
รากช้าพลู 10 ส่วน
รากเจตมูลเพลิง 10 ส่วน
สรรพคุณ แก้ในกองธาตุทั้งปวงและสงเคราะห์ไปแก้ในโรคสตรี
3.2.4 โสฬสเบญจกูล สรรพคุณ แก้ในกองธาตุทั้ง 4 และอากาศธาตุ
1) โสฬสเบญจกูล : แก้กอง ปถวี ธาตุ
- ดอกดีปลี 16 ส่วน
- รากช้าพลู 8 ส่วน
- เถาสะค้าน 6 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง 4 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง 2 ส่วน
2) โสฬสเบญจกูล : แก้กอง อาโป ธาตุ
- ดอกดีปลี 16 ส่วน
- รากช้าพลู 8 ส่วน
- เถาสะค้าน 6 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง 4 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง 2 ส่วน
3) โสฬสเบญจกูล : แก้กอง วาโย ธาตุ
- ดอกดีปลี 16 ส่วน
- รากช้าพลู 8 ส่วน
- เถาสะค้าน 6 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง 4 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง 2 ส่วน
4) โสฬสเบญจกูล : แก้กอง เตโช ธาตุ
- ดอกดีปลี 16 ส่วน
- รากช้าพลู 8 ส่วน
- เถาสะค้าน 6 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง 4 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง 2 ส่วน
5) โสฬสเบญจกูล : แก้กอง อากาศ ธาตุ
- ดอกดีปลี 16 ส่วน
- รากช้าพลู 8 ส่วน
- เถาสะค้าน 6 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง 4 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง 2 ส่วน
รวมกันได้ 36 ส่วนโดยพิกัด แก้ในกองธาตุสมุฏฐาน ขอให้พิจารณาดูว่าโรคจะอยู่ในสมุฏฐานใด แก้ด้วยโสฬสเบญจกูลพิกัดใด จึงจะเหมาะแก่การบำบัดโรคนั้น
3.2.5 ทศเบจขันธ์ แก้ในกองอสุรินธัญญาณธาตุ คือ ธาตุสำแดงให้รู้ดุจผีสิง ให้ระส่ำระสายอยู่ในสมุฏฐานใด แก้ด้วยโสฬสเบญจกูลพิกัดใด จึงจะเหมาะแก่การบำบัดโรคนั้น
1) ทศเบญจขันธ์ : แก้กอง ปถวี ธาตุ
- ดอกดีปลี 5 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง 4 ส่วน
- เถาสะค้าน 3 ส่วน
- รากช้าพลู 2 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง 1 ส่วน
2) ทศเบญจขันธ์ : แก้กอง เตโช ธาตุ
- รากเจตมูลเพลิง 5 ส่วน
- เถาสะค้าน 4 ส่วน
- รากช้าพลู 3 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง 2 ส่วน
- ดอกดีปลี 1 ส่วน
3) ทศเบญจขันธ์ : แก้กอง วาโย ธาตุ
- เถาสะค้าน 5 ส่วน
- รากช้าพลู 4 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง 3 ส่วน
- ดอกดีปลี 2 ส่วน
- เจตมูลเพลิง 1 ส่วน
4) ทศเบญจขันธ์ : แก้กอง อาโป ธาตุ
- รากช้าพลู 5 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง 4 ส่วน
- ดอกดีปลี 3 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง 2 ส่วน
- เถาสะค้าน 1 ส่วน
5) ทศเบญจขันธ์ : แก้กอง อากาศ ธาตุ
- เหง้าขิงแห้ง 5 ส่วน
- ดอกดีปลี 4 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง 3 ส่วน
- เถาสะค้าน 2 ส่วน
- รากช้าพลู 1 ส่วน
รวมกันได้ 15 ส่วน โดยพิกัด แก้ในกองอสุรินธัญญาณธาตุ
3.3 มหาพิกัดทั่วไป ( ยา 6 สิ่ง )
มหาพิกัดทั่วไป คือ พิกัดที่กำหนดเอาตัวยา 6 สิ่ง ใช้สำหรับแก้ธาตุกำเริบหย่อนพิการโดยกำหนดตัวยาเป็น 16, 8, 4, 3, 2 และ 1 ตามลำดับ
ในทางธาตุจะมีตัวยาระคน ( เจือปน ) โดยกำหนดน้ำหนักตัวยานี้ใช้ทั่วไปในธาตุทั้ง 4 กอง โดยนำตัวยาในพิกัดตรีผลา ตรีสาร ตรีกฏุก รวมกับตัวยาประจำธาตุจะเป็น 6 ตัวยา มหาพิกัดทั่วไปจึงใช้แก้กองธาตุทั้ง 4 แบ่งออกได้เป็น 4 กอง ได้แก่
- แก้เตโชธาตุ กำเริบ หย่อน พิการ
- แก้วาโยธาตุ กำเริบ หย่อน พิการ
- แก้อาโปธาตุ กำเริบ หย่อน พิการ
- แก้ปถวีธาตุ กำเริบ หย่อน พิการ
3.3.1 พิกัดกองเตโชธาตุกำเริบ ประจำสมุฏฐานอัคคี ( ธาตุไฟ 4 กอง )
1) แก้ เตโชธาตุ กำเริบ มีส่วนตัวยาดังนี้
- ลูกสมอพิเภก หนัก 16 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง หนัก 8 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง หนัก 4 ส่วน
- รากช้าพลู หนัก 3 ส่วน
- ดอกดีปลี หนัก 2 ส่วน
- เถาสะค้าน หนัก 1 ส่วน
2) แก้ เตโชธาตุ หย่อน มีตัวยาดังนี้
- รากเจตมูลเพลิง หนัก 16 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง หนัก 8 ส่วน
- ลูกสมอพิเภก หนัก 4 ส่วน
- เถาสะค้าน หนัก 3 ส่วน
- รากช้าพลู หนัก 2 ส่วน
- ดอกดีปลี หนัก 1 ส่วน
3) แก้ เตโชธาตุ พิการ มีตัวยาดังนี้
- เหง้าขิงแห้ง หนัก 16 ส่วน
- ลูกสมอพิเภก หนัก 8 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง หนัก 4 ส่วน
- ดอกดีปลี หนัก 3 ส่วน
- เถาสะค้าน หนัก 2 ส่วน
- รากช้าพลู หนัก 1 ส่วน
3.3.2 พิกัดกองวาโยธาตุ ประจำสมุฏฐานวาตะ ( ธาตุลม 6 กอง )
1) แก้ วาโยธาตุ กำเริบ มีตัวยาดังนี้
- ลูกสมอไทย หนัก 16 ส่วน
- เถาสะค้าน หนัก 8 ส่วน
- เมล็ดพริกไทย หนัก 4 ส่วน
- ดอกดีปลี หนัก 3 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง หนัก 2 ส่วน
- รากช้าพลู หนัก 1 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง หนัก 1/2 ส่วน ( ใช้ระคนกัน )
2) แก้ วาโยธาตุ หย่อน มีตัวยาดังนี้
- เถาสะค้าน หนัก 16 ส่วน
- เมล็ดพริกไทย หนัก 8 ส่วน
- ลูกสมอไทย หนัก 4 ส่วน
- รากช้าพลู หนัก 3 ส่วน
- ดอกดีปลี หนัก 2 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง หนัก 1 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง หนัก 1/2 ส่วน
3) แก้ วาโยธาตุ พิการ มีตัวยาดังนี้
- เมล็ดพริกไทย หนัก 16 ส่วน
- ลูกสมอไทย หนัก 8 ส่วน
- เถาสะค้าน หนัก 4 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง หนัก 3 ส่วน
- รากช้าพลู หนัก 2 ส่วน
- ดอกดีปลี หนัก 1 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง หนัก 1/2 ส่วน ( ใช้ระคนกัน )
3.3.3 พิกัดกองอาโปธาตุ ประจำสมุฏฐานอาโป ( ธาตุน้ำ 12 กอง )
1) แก้ อาโปธาตุ กำเริบ มีตัวยาดังนี้
- ลูกมะขามป้อม หนัก 16 ส่วน
- รากช้าพลู หนัก 8 ส่วน
- ดอกดีปลี หนัก 4 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง หนัก 3 ส่วน
- เถาสะค้าน หนัก 2 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง หนัก 1 ส่วน
- เมล็ดพริกไทย หนัก 1/2 ส่วน ( ใช้ระคนกัน )
2) แก้ อาโปธาตุ หย่อน มีตัวยาดังนี้
- รากช้าพลู หนัก 16 ส่วน
- ดอกดีปลี หนัก 8 ส่วน
- ลูกมะขามป้อม หนัก 4 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง หนัก 3 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง หนัก 2 ส่วน
- เถาสะค้าน หนัก 1 ส่วน
- เมล็ดพริกไทย หนัก 1/2 ส่วน ( ใช้ระคนกัน )
3) แก้ อาโปธาตุ พิการ มีตัวยามีดังนี้
- ดอกดีปลี หนัก 16 ส่วน
- ลูกมะขามป้อม หนัก 8 ส่วน
- รากช้าพลู หนัก 4 ส่วน
- เถาสะค้าน หนัก 3 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง หนัก 2 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง หนัก 1 ส่วน
- เมล็ดพริกไทย หนัก 1/2 ส่วน ( ใช้ระคนกัน )
3.3.4 พิกัดกองปถวีธาตุ ประจำสมุฏฐาน ปถวี ( ธาตุ 20 กอง )
1) แก้ ปถวีธาตุ กำเริบ มีตัวยาดังนี้
- รากช้าพลู หนัก 16 ส่วน
- ดอกดีปลี หนัก 8 ส่วน
- เถาสะค้าน หนัก 4 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง หนัก 3 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง หนัก 2 ส่วน
- เมล็ดพริกไทย หนัก 1 ส่วน
- ลูกสมอพิเภก หนัก 1/2 ส่วน
- ลูกสมอไทย หนัก 1/2 ส่วน มหาพิกัดตรีผลา
- ลูกมะขามป้อม หนัก 1/2 ส่วน ( ใช้ระคนกัน )
2) แก้ ปถวีธาตุ หย่อน มีตัวยาดังนี้
- ดอกดีปลี หนัก 16 ส่วน
- เถาสะค้าน หนัก 8 ส่วน
- รากช้าพลู หนัก 4 ส่วน
- เมล็ดพริกไทย หนัก 3 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง หนัก 2 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง หนัก 1 ส่วน
- ลูกสมอพิเภก หนัก 1/2 ส่วน
- ลูกสมอไทย หนัก 1/2 ส่วน มหาพิกัดตรีผลา
- ลูกมะขามป้อม หนัก 1/2 ส่วน ( ใช้ระคนกัน )
3) แก้ ปถวีธาตุ พิการ มีตัวยาดังนี้
- เถาสะค้าน หนัก 16 ส่วน
- รากช้าพลู หนัก 8 ส่วน
- ดอกดีปลี หนัก 4 ส่วน
- เหง้าขิงแห้ง หนัก 3 ส่วน
- เมล็ดพริกไทย หนัก 2 ส่วน
- รากเจตมูลเพลิง หนัก 1 ส่วน
- ลูกสมอพิเภก หนัก 1/2 ส่วน
- ลูกสมอไทย หนัก 1/2 ส่วน มหาพิกัดตรีผลา
- ลูกมะขามป้อม หนัก 1/2 ส่วน ( ใช้ระคนกัน )