แพทย์แผนไทย เภสัชกรรมไทย
บทที่ 5 เภสัชกรรม
เภสัชกรรม คือ
- รู้จักการปรุงยา
- ผสมเครื่องยาหรือตัวยาตามที่กำหนดในตำรับยา หรือตามใบสั่งยา
1. วิธีปรุงยา
1.1 หลักการปรุงยา
- ปรุงจาก : พืช สัตว์ แร่ธาตุ จากวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
- มีกากเจือปนมาก : ใช้ตัวยาปริมาณมาก และ หลายสิ่งรวมกัน
- ยาตัวเดียว : ไม่มีสรรพคุณแรงพอ เรียกว่า น้ำกระสายยา, เครื่องประกอบยา, เครื่องยา, ตัวยา
โครงสร้างยาไทย
- ตัวยาตรง : บำบัดโรค ไข้ / มีรสขม เค็ม เปรี้ยวมาก, ไม่อร่อย + มีโรคแทรก, จึงต้องมีตัวยาช่วย
- ตัวยาช่วย : โรคแทรก โรคตาม หรือโรคหลายโรครวมกัน, ใช้ตัวยาช่วยในการรักษาไอ มีตัวยากัดเสมหะช่วยด้วย
- ตัวยาประกอบ : ป้องกันโรคตาม ช่วยบำรุงแก้ส่วนที่หมอเห็นควร หรือาจจะใช้เป็นยาคุมฤทธิ์ยาอื่น เช่น ลูกผักชีล้อม ใส่เพื่อแก้อาการไซ้ท้องในยาต่างๆ
- ตัวยาชูกลิ่น ชูรส และแต่งสีของยา : ให้ทานง่าย น่ารับประทาน
1.2 ขั้นตอนการปรุงยา มี 5 ขั้นตอน – การปฎิบัติเพื่อให้ยามีสรรพคุณดี
- พิจารณาตัวยา : หลักเภสัชวัตถุ – ส่วนของพืช, บางตัวต้องสตุ, บางตัวฤทธิ์แรงอันตรายต้องฆ่าฤทธิ์
- พิจารณาสรรพคุณตัวยา : หลักสรรพคุณเภสัช รู้จักรสยา, รสยาไม่ขัดกัน, ไม่เพิ่มตัวยาที่ฆ่าสรรพคุณยา ทำให้รส หรือ สรรพคุณเสีย เช่น รางแดง รางจืด, ต้องรู้ว่าควรใส่อะไรสรรพคุณดี, อะไรอันตราย ควรใส่น้อย ( สะตุก่อน )
- พิจารณาขนาด ปริมาณตัวยา : ปริมาณ, น้ำหนัก ชั่งตวงถูกต้อง ( ยา ต้ม 1 บาท, ผง 1 สลึง, ดอง 1 เฟื้อง, พิจารณาความเหมาะสม
- ความสะอาด ละเอียดรอบครอบเภสัชกร : ความสะอาดเป็นส่ิงสำคัญมาก, นิสัยละเอียดรอบครอบ ไม่เผลอเรอมักง่าย
- ปรุงยาให้ถูกวิธี : 28 วิธี, ปรุงเสร็จ – เขียนชื่อยา, บอกขนาดวิธีใช้ – สรรพคุณ – ปรุงเมื่อไหร่
1.3 การปรุงยาตามแบบแผนโบราณ
- 28 วิธี แต่ก่อนมี 24 วิธี + 4 วิธีใหม่
-
- ตอก
- เม็ด + เคลือบ
- แคปซูล ( ต้องมีคำว่าแผนโบราณ )
- ยาขี้ผึ้งปิดแผล ( ยากวน )
- 24 ขนาน ( ตำรับยาสามัญประจำบ้าน 24 ขนาน )
- 10 กลุ่มอาการ
28 วิธี
- ยาน้ำ 11 วิธี
-
- ยาต้ม : สับเป็นชิ้น, ท่อนใส่หม้อต้ม > รินน้ำกิน
- ยาดอง ( ดอง 3-7 วัน ) : ดองแช่ด้วยน้ำท่า หรือ น้ำสุรา > รินน้ำกิน
- ยาดองเหล้า ( ดองนาน ) : กัดด้วยเหล้า หรือ แอลกอฮอล์ > หยดลงในน้ำ เติมน้ำกิน
- ยาน้ำด่าง : เผาเป็นด่าง แช่น้ำ > รินน้ำกิน
- ยากลั่น : กลั่นเหงื่อ เอามาแช่น้ำ > รินน้ำกิน
- ยาหุง : หุงด้วยมัน เอาน้ำมันใส่กล่อง > เป่าบาดแผล และฐานฝี
- ยาอม : ผสม ต้ม > น้ำบ้วนปาก
- ยาอาบ : ผสม ต้ม > เอาน้ำอาบ
- ยาแช่ : ผสม ต้ม > เอาน้ำแช่
- ยาชะ : ผสม ต้ม > เอาน้ำชะ
- ยาสวน : ผสม ต้ม > เอาน้ำสวน
- ยาผง 7 วิธี
-
- กระสายยา : ยาตำเป็นผง บดละเอียด > ละลายน้ำกระสายกิน
- ยาสุม : เผา หรือ คั่วให้ไหม้ ตำละเอียด > ละลายน้ำกิน
- ยานัตถุ์ : ผง กวนให้ละเอียดใส่กล่อง > เป่าทางจมูกและคอ
- ยาทา : ผสม > ทา
- ยาประคบ : ผสม > ทำลูกประคบ
- ยาพอก : ผสม > พอก
- ยานั่งถ่าน : ผสม เผาไฟ หรือ โรยบนถ่าน > ใช้ควันรม
- ยาเม็ด 6 วิธี
-
- ยาเหน็บ: บดผง ปั้นเป็นแผ่น หรือ แท่ง > ใช้เหน็บ
- ยาลูกคลอน : บดละเอียดเป็นผง ปั้นเม็ด หรือ ลูกกลอน > กลืนกิน
- ยาตอกเม็ด : บดผง ผสม ตอกอัดเม็ด > กลืนกิน
- ยาเคลือบ : บดผง ทำเม็ด แล้วเคลือบ > กลืนกิน
- ยาแคปซูล ( ต้องมีคำว่า “แผนโบราณ” บนแคปซูล ) : ผสม ทำเม็ดแคปซูล > กลืนกิน
- ยากวน : กวนเป็นยาขี้ผึ้ง > ปิดแผล
- ยา ดม เป่า อบ สูบ 4 วิธี
-
- ยาดม : ผสม ห่อผ้าบรรจุลงกลัก > ดม
- ยาอบ : ผสม ต้ม > ไอรม หรือ อบ
- ยาเป่า : ใส่กล่องติดไฟ > ใช้ควันเป่าบาดแผล และ ฐานฝี
- ยาสูบ : ม้วนเป็นบุหรี่ หรือ ยัดกล้องสูบ > สูบ

2. การชั่งยา
2.1 เครื่องหมายตีนกา
2.2 มาตรา ชั่ง แบบ โบราณ
4 ไพ = 1 เฟื้อง
2 เฟื้อง = 1 สลึง
4 สลึง = 1 บาท
4 บาท = 1 ตำลึง
20 ตำลึง = 1 ชั่ง
50 ชั่ง = 1 หาบ
1 ชั่ง = 80 บาท
1 บาท = 15 กรัม ( เมตริก )
1 หาบ = 50 ชั่ง = 60,000 กรัม ( 60 ก.ก. )
2.3 มาตรา ชั่ง เปรียบเทียบ ไทย – สากล ( เมตริก )
1 หุน เท่ากับ 0.375 กรัม
1 ฬส ” 0.1171875 ”
1 อัฐ ” 0.234375 ”
1 ไพ ” 0.46875 ”
1 เฟื้อง ” 0.875 ”
1 สลึง ” 3.750 ”
1 บาท ” 15 ”
1 ตำลึง ” 60 ”
1 ชั่ง ” 1,200 ”
1 หาบ ” 60,000 กรัม หรือเท่ากับ 60 กิโลกรัม
2.4 มาตราวัด สำหรับตวงของเหลว
1 ทะนาน จุ เท่ากับ 1 ลิตร เท่ากับ 1,000 ซี.ซี. หรือเท่ากับ 1 กิโลกรัม
1/2 ทะนาน จุ 1/2 ลิตร 500 ซี.ซี.
15 หยด จุ ประมาณ 1 ซี.ซี.
1 ช้อนกาแฟ จุ ประมาณ 4 ซี.ซี.
1 ช้อนหวาน จุ ประมาณ 8 ซี.ซี.
1 ช้อนคาว จุ ประมาณ 15 ซี.ซี.
1 ถ้วยชา จุ ประมาณ 30 ซี.ซี.
2.5 มาตรวัด แบบโบราณ
คำว่า องคุลี ท่านหมายเอา 1 ข้อของนิ้วกลาง ตามมาตรา ดังนี้ คือ
2 เมล็ดงา เป็น 1 เมล็ดข้าวเปลือก
4 เมล็ดข้าวเปลือก เป็น 1 องคุลี ( วัดตามยาว )
15 องคุลี เป็น 1 ชั้นฉาย
คำว่า กล่ำ ท่านเทียบมาจาก เมล็ดมะกล่ำตาช้าง ตามมาตราดังนี้ คือ
2 เมล็ดงา เป็น 1 เมล็ดข้าวเปลือก
4 เมล็ดข้าวเปลือก ” 1 กล่อม
2 กล่อม 1 กล่ำ เท่ากับ ครึ่งไพ
2 กล่ำ 1 ไพ
4 ไพ 1 เฟื้อง
2 เฟื้อง 1 สลึง
4 สลึง 1 บาท
4 บาท 1 ตำลึง
20 ตำลึง 1 ชั่ง
20 ชั่ง 1 ดุล
20 ดุล 1 ภารา
คำว่า หยิบมือ กำมือ กอบมือ เทียบไว้ดังนี้ คือ
150 เมล็ดข้าวเปลือก เป็น 1 หยิบมือ
4 หยิบมือ 1 กำมือ
4 กำมือ 1 ฟายมือ
2 ฟายมือ 1 กอบมือ
3 กอบมือ 1 ทะนาน
20 ทะนาน 1 สัด
40 สัด 1 บั้น
2 บั้น 1 เกวียน

3. การคัดเลือกเก็บตัวยา ( 3 คัด )
3.1 ชนิดของตัวยา
ตัวยาถูกต้องกับชื่อในตำรับ
3.2 คุณภาพ
เก็บนาน คุณภาพเสื่อม, ไม่มีสรรพคุณตามระบุ, ระยะเวลาเก็บ
3.3 ความสะอาด
- ไม่มีสิ่งเจือปน
- เก็บในที่ ไม่ถูกแสงแดด อากาศถ่ายเทดี เก็บได้นาน สรรพคุณไม่เสื่อม
- ไม่เก็บที่ อากาศร้อนจัด อากาศชื้น ฝน

4. การใช้ตัวยาอันตราย
วัตถุธาตุนานาชนิดในโลกล้วนแต่เป็นยาทั้งสิ้น ตัวยาบางอย่างที่มีฤทธิ์แรง หากใช้เกินขนาดหรือใช้ ไม่ถูกวิธี ก็อาจทำอันตรายถึงแก่ชีวิต
4.1 ยาที่มีฤทธิ์แรง
-
ฤทธิ์ : ถ่าย ( 7 ตัว )
-
- เมล็ดสลอด : เสมหะ โลหิต น้ำเหลือง พยาธิ > อ่อนเพลีย เสียน้ำ
- เมล็ดสบู่แดง : เผาให้สุกรับประทาน ถ่ายอุจจาระ ทำให้อาเจียน ตำพอกบาดผล แก้โรคผิวหนัง > ท้องร่วงอย่างแรง คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วงอย่างแรง กดหัวใจ กดการหายใจ
- ยางตาตุ่ม : เสมหะ โลหิต พยาธิ อุจจาระ > หมดกำลัง
- ยางสลัดได : น้ำเหลือง พยาธิ อุจจาระ พิษตาซาง > หมดกำลัง อ่อนเพลีย
- ยางรักดำ ( เมาเบื่อ ) : เสมหะ น้ำเหลือง พยาธิ อุจจาระ > หมดกำลัง
- ยางเทพทาโร : น้ำเหลือง พยาธิ > อ่อนเพลีย เสียน้ำ
- ยางหัวเข้าค่า : ฆ่าพยาธิภายนอก แก้ฟกบวม แก้คุดทะราด > ท้องร่วงอย่างแรง อ่อนเพลีย หมดน้ำ
-
ฤทธิ์ : เมาเบื่อ ( 6 ตัว )
-
- เมล็ดลำโพง : บำรุงประสาท แก้กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ > หลอนประสาท เสียสติ ตาแข็ง หายใจขัด
- ยางรักดำ : เสมหะ น้ำเหลือง พยาธิ อุจจาระ > ถ่ายมากหมดกำลัง
- ยางฝิ่น : แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย โรคบิด > ระงับประสาท ทำให้หมดสติ ( เป็นยาเสพติด )
- ลูกแสลงใจ ( ลูกกะจี้ ) : บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท แก้พยาธิผิวหนัง ลมอันกระเพื่อมในอุทร > ชักกระตุก
- สารหนู : แก้มะเร็ง คุดทะราด โรคเรื้อน ประดง โรคผิวหนัง รักษาน้ำเหลืองเสีย บำรุงโลหิต > ชักกระตุก
- ปรอท : แก้มะเร็ง คุดทะราด โรคเรื้อน รักษาโรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย > เปื่อยพุพอง เบื่อเมา
-
ฤทธิ์ : เมา, ขับเหงื่อ, กัดทำลาย ( 3 ตัว )
-
- กัญชา : เมา > แก้ประสาทพิการ และเจริญอาหาร > ประสาทหลอน เสียจริต เป็นบ้า
- พระขรรค์ไชยศรี ( หนาวเดือน 5 ) : ขับเหงื่อ > แก้ไข้ ดับพิษร้อน ลดความร้อนในร่างกาย ขับเหงื่อ > ทำให้กายเย็นมาก
- จุนสี : กัดทำลาย > กัดหัวฝี หัวหูด รักษาคุดทะราด รักษาฟัน > กัดทำลายกระเพาะอาหาร และลำไส้ ทำให้ฟันโยกหลุด
4.2 การสะตุ ประสะ ฆ่าฤทธิ์ยา
- การสะตุ : ตัวยามีฤทธิ์อ่อนลง พิษตัวยาน้อยลง สะอาดมากขึ้น
-
- เหล็ก : เหล็กมาครางด้วยตะไบ > ผงเหล็กใส่ในฝาละมี หรือ หม้อดิน > บีบมะนาวลงไปให้ท่วมผงเหล็ก > เอาขึ้นตั้งไฟให้แห้ง > ทำให้ได้ 7 – 8 ครั้งจงผงเหล็กกรอบดี > ปรุงยา
- สารส้ม : บดละเอียด > ใส่หม้อดิน ตั้งไฟจนสารส้มละลายฟู ขาวดี ยกลง > ปรุงยา
- น้ำประสานทอง : ใส่หม้อดิน ตั้งไฟจนละลายฟูขาวทั่วกันดี > ปรุงยา
- รงทอง : บดละเอียด > ห่อด้วยใบบัว หรือ ใบข่า 7 ชั้น > ปิ้งไฟจนสุกกรอบดี > ปรุงยา
- มหาหิงคุ์ : ใส่ภาชนะ > ใช้ใบกะเพราแดง ใส่น้ำต้มจนเดือด > เทน้ำกะเพราแดงต้ม ลงละลายมหาหิงคุ์ > กรองให้สะอาด > ปรุงยา
- ดินสอพอง : ใส่หม้อดิน ปิดฝายกขึ้นตั้งไฟ ดินสอพองสุกดี > ปรุงยา
- ยาดำ : ใส่หม้อดิน เติมน้ำเล็กน้อย > ยกขึ้นตั้งไฟ จนยาดำกรอบดี > ปรุงยา
- การประสะ : พิษยาอ่อนลง ตัวยา 1 ตัว ในขนานนั้น ขนาดเท่าตัวยาอื่นๆ หนักรวมกัน เช่น ยาประสะไพล มีไพล จำนวนเท่าตัวยาอื่นทั้งหมดหนักรวมกัน
การประสะยางสลัดได ยางตาตุ่ม ยางหัวเข้าค่า : ใส่ลงในถ้วย > ใส่น้ำต้มเดือดๆ เทลงไปในถ้วยยานั้น กวนให้ทั่วจนเย็น > รินน้ำทิ้งไป > เทน้ำเดือดลงในยา > กวนให้ทั่วอีก ทำอย่างนี้ประมาณ 7 ครั้ง จนตัวยาสุกดี > ปรุงยา
- การฆ่าฤทธิ์ยา : พิษยาอ่อนลง ทำให้ตัวยามีพิษมาก อ่อนลง หรือ หมดไป จนไม่อันตราย
-
- สารหนู : บดให้ละเอียด > ใส่ฝาละมี หรือ หม้อดิน > บีบน้ำมะนาว หรือ น้ำมะกรูดให้ท่วมตัวยา > ตั้งไฟจนแห้ง > ทำให้ได้ 7 – 8 ครั้ง จนกว่าสารหนูกรอบดี > ปรุงยา
- ปรอท : ทองแดง ทองเหลือง หรือเงิน ใส่ไว้ในปรอท ให้ปรอทกินจนอิ่ม > ปรุงยา
- ชะมดเช็ด : หั่นหัวหอม หรือ ผิวมะกรูด ให้เป็นฝอยละเอียด ผสมกับชะมดเช็ด ใส่ลงไปในใบพลู หรือ ช้อนเงิน > นำไปลนไฟเทียน จนชะมดเช็ดละลาย จนหอมดีแล้ว > กรองเอาน้ำชะมดเช็ด > ปรุงยา
- ลูกสลอด :
วิธีที่ 1 : เอาลูกสลอดห่อรวมกับข้าวเปลือก ใส่เกลือพอควร นำไปใส่หม้อดิน ใส่น้ำลงตั้งไฟ > จนข้าวเปลือกบานทั่วกัน > เอาลูกสลอดมาล้างให้สะอาด > ตากให้ให้แห้ง > ปรุงยา
วิธีที่ 2 : เอาลูกสลอด ต้มกับใบมะขาม 1 กำมือ ใบส้มป่อย 1 กำมือ > เมื่อสุกดีแล้วจึงเอาเนื้อในลูกสลอด > ปรุงยา
4.3 กระสายยา
น้ำ หรือ ของเหลวใช้ละลายยา หรือ ทานพร้อมยา
- เพื่อให้กลืนง่าย ไม่ฝืดคอ แต่งให้มีรส สี กลิ่น น่ารับประทาน
- ให้ยามีฤทธิ์ตรงต่อโรค นำฤทธิ์ยาให้แล่นเร็ว ทันต่ออาการของโรค
- เพิ่มสรรพคุณของยา ให้มีฤทธิ์แรงขึ้น หรือให้มีฤทธิ์ช่วยตัวยาหลัก ในการรักษาอาการข้างเคียง
- ยาขนานใด ไม่ได้แจ้งน้ำกระสายยา ใช้น้ำสุกสะอาด
กระสายยาแก้โรคทางเดินอาหาร ( 7 )
- แก้ อาเจียน : ลูกยอหมกไฟ ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา หรือเอาลูกผักชีและเทียนดำ ต้มเอาเป็นกระสายยา
- แก้ ท้องเดิน : เปลือกต้นมะเดื่อชุมพร ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
- แก้ อาเจียนเป็นเลือด : ว่านหอยแครง หรือเปลือกลูกมะรุม รากส้มซ่า ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
- แก้ บิด : กะทือ หรือไพล หมกไฟ ฝนกับน้ำเป็นกระสายยา
- แก้ กินผิดสำแดง ( อาหารเป็นพิษ ) : เปลือกแคแดง ต้มน้ำเป็นกระสายยา หรือเอาทับทิมทั้ง 5 ต้มกับน้ำปูนใส เอาน้ำเป็นหระสายยา
- แก้ ลมจุกเสียด : ข่า ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
- แก้ ท้องขึ้น : กะเพรา ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
กระสายยาแก้โรคทางเดินหายใจ ( 2 )
- แก้ หอบ : ใบทองหลางใบมน ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
- แก้ สะอึก : รากมะกล่ำเครือ ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
กระสายยาบำรุง ( 5 )
- แก้ อกแห้งชูกำลัง : น้ำผึ้ง เป็นกระสายยา
- แก้ อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง : น้ำข้าวเช็ด รังนกนางแอ่น ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
- ทำให้มีกำลัง : น้ำนมสัตว์ เป็นกระสายยา
- ขับลมให้แล่นทั่วกาย : น้ำส้มสายชู เป็นกระสายยา
- ชูกำลังชื่นใจ : น้ำตาล ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
กระสายยาแก้โรคไข้ ( 8 )
- แก้ ไข้เชื่อมมึน : น้ำดอกไม้ เป็นกระสายยา
- แก้ ไข้มัว : น้ำจันทน์เทศ เป็นกระสายยา
- แก้ ไข้เพ้อคลั่ง : ใบมะนาว 108 ใบ ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
- แก้ ไข้ระส่ำระส่าย : รากบัว ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
- แก้ สวิงสวาย : น้ำซาวข้าว เป็นกระสายยา
- แก้ สะบัดร้อนสะบัดหนาว : น้ำมูตร เป็นน้ำกระสายยา
- แก้ ไข้หวัดไอ : ลูกมะแว้ง คั้นเอาน้ำผสมเกลือ เป็นกระสายยา
- กระทุ้งพิษไข้ : รากผักชี ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
กระสายยาแก้อาการสัมพันธ์ไข้ ( 10 )
- แก้ เบื่ออาหาร : ลูกผักชีลา ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
- แก้ น้ำลายเหนียว : เทียนดำห่อผ้า ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
- แก้ ขัดเบา : กาฝากมะม่วง ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
- แก้ นอนไม่หลับ : กาฝากมะม่วง ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
- แก้ กินอาหารไม่รู้รส : โกฐหัวบัว ชะเอมเทศ ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
- แก้ ทรางขึ้นในทรวงอก : ผักเสี้ยนผี ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยา
- แก้ เด็กเป็นลมชัก : ตะไคร้ ใบสะระแหน่ บดละลายน้ำดอกมะลิ เป็นกระสายยา
- แก้ กระหายน้ำ : เมล็ดมะกอกเผาไฟ แช่น้ำเป็นกระสายยา
- แก้ ชีพจร : รากกะเพรา ฝนกับน้ำดอกมะลิ เป็นกระสายยา
- แก้ เสมหะแห้ง : น้ำมะนาว ผสมเกลือ เป็นกระสายยา