แพทย์แผนไทย เภสัชกรรมไทย
ภาคผนวก
การสับยา
สมุนไพรสดหรือแห้งในส่วนต่างๆ มาทำให้มีขนาดเล็กลง
การอบยา
การอบยาที่ปรุงเป็นตำรับ : อบยาอุณหภูมิ 50 – 55 °C นาน 4-6 ชั่วโมง
การบดยา
นานครั้งละ 3 ชั่วโมง
การร่อนยา
- นำยาที่บดละเอียดแล้ว มาร่อนผ่านตะแกรง ( หรือ แร่ง )
- ได้ผงยาที่ละเอียดมากขึ้นตามความต้องการ
- ตระแกรงหรือแร่ง ที่ใช้ร่อนยา มี 3 ขนาด
-
- ขนาดเบอร์ 100 ละเอียดมาก
- ขนาดเบอร์ 80 ละเอียดปานกลาง
- ขนาดเบอร์ 60 ละเอียดน้อย
- ร่อนเสร็จแล้ว ใส่ชื่อยา ( เบอร์ยา ) วัน / เดือน / ปี ที่ผลิตยาเสร็จ
การดูแลรักษาเครื่องร่อนยา
- ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดที่ตะแกรง+ขอบ > ใช้ผ้าแห้งเช็ด > ใช้พัดลมเป่าให้แห้ง
- ปิดผาเครื่องร่อนยา
การเก็บรักษาตระแกรงหรือแร่ง
- แปรงปัดทำความสะอาดยา ที่ติดอยู่ที่ตะแกรง และขอบตะแกรง
- ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดที่ตะแกรง+ขอบ > ใช้ผ้าแห้งเช็ด > ใช้พัดลมเป่าให้แห้ง
- ใช้ช้อนสแตนเลส (หน้าตัดรูปสี่เหลี่ยม) ขูดตะแกรงร่อนยาเบาๆ เพื่อให้เสี้ยนยาที่ติดตะแกรงหลุดออก หรือใช้แหนมถอดเสี้ยนยาที่ติดตะแกรงร่อนยาออกให้หมด
- เก็บในตู้ > ห้ามล้างน้ำ > ตะแกรงชำรุด

ยาลูกกลอน
- กลม
- ผงยาชนิดเดียว หรือ หลายชนิด
- ผสมสารที่ทำให้ผงเกาะตัว เช่น น้ำ น้ำแป้ง น้ำผึ้ง
- มีน้ำอยู่น้อย แตกตัวช้า ออกฤทธิ์ได้นาน
- น้ำผึ้งใช้ผสมช่วยปรับรส, ช่วยบำรุงร่างกาย, รักษาโรคเรื้อรัง, โรคที่ต้องการบำรุง
- ข้อเสีย ต้นทุนสูง
ยาลูกกลอนน้ำผึ้ง
1. เคี่ยวน้ำผึ้ง
ฆ่าเชื้อโรค, ไล่น้ำในน้ำผึ้ง ให้ลูกกลอนไม่ขึ้นรา, เก็บได้นานขึ้นกับขั้นตอนนี้
1.1 น้ำผึ้ง / ยา = 1/1 ( น้ำหนัก )
- ใช้น้ำผึ้งมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะ ของผงยา
- เช่น ยาผงที่มีส่วนผสมของยาดำ มหาหิงคุ์ ยาพวกนี้ ต้องใช้น้ำผึ้งในการ ผสมน้อย มีพวกแก่นไม้ รากไม้ พวกเกสรดอกไม้ พวกนี้ต้องใช้น้ำผึ้งมาก
1.2 ตั้งไฟ ช่วงแรกใช้ไฟแรง คนให้เข้ากัน จนน้ำผึ้งเหนียวได้ที่
- น้ำผึ้งเดือดฟองจะใหญ่และผุดสูง เมื่อเคี่ยวได้ที่ฟองจะยุบ และมีขนาดเล็กละเอียด 10-15 นาที
- น้ำผึ้งจะมีสีน้ำตาลเข้มขึ้นกว่าเดิม เป็นก้อนแข็งและรวมตัวกัน
- เมื่อเคี่ยวน้ำผึ้งจนได้ที่แล้ว เติมน้ำเดือดลงไป 2 กาใหญ่
- กรองด้วยผ้าขาวบาง กวนจนกว่าน้ำผึ้งเย็น ผสมยาผง
2. ผสมยาผง
- เทราดบนยาผงทีละทัพพี
- ลองปั้นด้วยมือ ถ้ายาได้ที่แล้วจะไม่ติดนิ้วมือ
- ถ้าบีบแล้วยาแตกร่วนอยู่ แสดงว่ายังเคล้ายาไม่เข้ากับน้ำผึ้ง
3. การเตรียมเครื่องรีด / รางกลิ้ง
- น้ำเดือดเทราด
- เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
- เช็ดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์อีกครั้ง
ยาไม่เป็นเม็ด หรือ ผิดปกติ
- น้ำผึ้งน้อย – ยาแห้งเกิน เส้นยาแข็งมาก
- น้ำผึ้งมาก – ยานิ่มเกิน กลิ้งเม็ดไม่ได้
- เส้ยรีดเล็กเกิน – ยาไม่เต็มเม็ด หรือ เป็นร่องตรงกลาง
- กลิ้งยาแรงไป – ยาแบนติดราง ไม่เป็นเม็ด
- น้ำมันโชคไป – ผิดเม็ดเปียก ลอด หลุด ติดรางยา – เม็ดถัดไปไม่เรียบ
อบ :
- ยาลูกกลอน หรือ ยาเม็ด อบ 50 – 55 °C
- อย่านานเกิน เม็ดยาแข็ง แตกตัวยาก

การทำ ยาเม็ดแบบปั้นมือ / แบบพิมพ์มือ ( พิมพ์ทองเหลือง )
การเตรียมเครื่องมือ และ อุปกรณ์
- น้ำเดือดเทราดพิมพ์มือทองเหลือง และกระจกแผ่นใส
- เช็ดให้แห้งสนิทด้วยผ้าสะอาด
- ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดอีกครั้งหนึ่ง
- วางกระจกแผ่นใสบนโต๊ะ และวางพิมพ์มือทองเหลืองบนกระจกแผ่นใส
วิธีทำยาเม็ด
- กวนแป้งมันกับน้ำให้ใส ( เป็นแป้งเปียกใส ) ในปริมาณที่พอเหมาะกับยาผง
- ยาผงมาผสมกับแป้งเปียก คลุกเคล้าจนเข้ากัน
- แผ่บนกระจก แล้วนำพิมพ์มือทองเหลืองกดลงบนยา
- อบอุณหภูมิ 50 – 55 °C นาน 4-6 ชั่วโมง

ยาตอกเม็ดฟ้าทลายโจร
- น้ำเย็น 1,500 g + แป้งมัน 150 g = แป้งเปียก 10% กวนจนเป็นสีขาวข้นเหนียว ผ่านน้ำเดือด
- แป้งเปียก ผงฟ้าทลายโจร ผสมให้เข้ากัน
- ผ่านแร่งเบอร์ 14
- อบแห้ง อุณหภูมิไม่เกิน 55 °C
- ผ่านแร่งเบอร์ 18
- ผสม ทัลคัม และแมกนีเซียม สเตียเรต
- ตอกเม็ด และควบคุมน้ำหนักเม็ด
- อบ อุณหภูมิไม่เกิน 50 – 55 °C นาน 4-6 ชั่วโมง
- การแตกตัวของเม็ดยา ไม่ควรเกิน 30 นาที
การเคลือบยาเม็ดด้วยน้ำตาล ( Sugar coating )
วัตถุประสงค์
- กลบ รส สี กลิ่น ที่ไม่น่ารับประทาน
- ป้องกัน สารสำคัญไม่ให้เสื่อมสลายเร็ว
- ให้เม็ดยา กลมมน สะดวกในการกลืน
- ความสวยงาม + น่ารับประทาน
- แยกตัวยา 2 ชนิดที่ไม่เข้ากัน > ยาเม็ดแกน > ส่วนที่เคลือบ
- ควบคุมการออกฤทธิ์ของยาเม็ด อันเนื่องมาจากการระคายเคือง เช่น ยาสหัศธารา ระคายเคืองต่อหลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร หรืออาจเนื่องจากต้องการให้ออกฤทธิ์ที่ลำไส้ เช่น ยาริดสีดวงทวาร
วิธีการเคลือบยาเม็ด
- นำยาลูกกลอนที่แห้งดีแล้ว ใส่ในเครื่องเคลือบยาเม็ด แล้วเทเชลแลค ซึ่งละลายด้วยแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน เชลแลค 40 ส่วน แอลกอฮอล์ 60 ส่วน
- นขณะที่ถังหมุนไปเรื่อยๆ เชลแลคจะเคลือบเม็ดยาลูกกลอน
- เมื่อใช้ลมเย็นเป่าเชลแลคจะแห้งติดผิว และป้องกันไม่ให้เม็ดยาแตก
- เมื่อเชคแลคแห้งดี ให้ร่อนเอาเม็ดที่เกาะติดกันออก ทำซ้ำอีก 1 หรือ 2 ครั้ง
- ผสม แป้งทัลคัม 20 – 35% กัมอาคาเชีย 5 – 10% น้ำตาล 40 – 50% และน้ำ 20 –30% โดยต้มให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
- เทลงบนเม็ดยาขณะที่ถังกำลังหมุน พร้อมโปรยผงทัลคัมลงไปเป็นระยะๆ ดูให้พอเหมาะ
- ขณะเดียวกันใช้ลมร้อนอุณหภูมิ 60 – 70 °C เป่าบนเม็ดยาตลอด เพื่อให้น้ำแป้งแห้งติดเม็ดยา
- เมื่อแห้งดีแล้วให้ร่อนเอาเม็ดที่ติดกันออก ทำซ้ำประมาณ 8 – 10 ครั้ง เม็ดลูกกลอนในขั้นสุดท้ายจะเป็นสีขาวเหมือนแป้งทัลคัม
- เคลือบสีรองพื้น ด้วยการเติมสีในปริมาณเพียงเล็กน้อยในน้ำแป้งทัลคัม เคลือบโดยการเทน้ำสีลงในขณะที่เครื่องเคลือบหมุนไปเรื่อยๆ แล้วปล่อยให้เม็ดยาแห้งสนิท แล้วจึงเคลือบครั้งต่อไป เคลือบซ้ำ 3 – 4 ครั้ง
- เคลือบสีที่ต้องการ โดยใช้น้ำเชื่อมทำจากน้ำตาล 2 ส่วน น้ำ 1 ส่วน แล้วเติมสีให้ได้ความเข้มข้นตามต้องการ เคลือบซ้ำตามวิธีเดิม จนได้สีสวยงาม
- เคลือบเงาเพื่อให้สีสดใสขึ้น โดยใช้ขี้ผึ้งคานูบาผสมขี้ผึ้งขาว ผสมในอัตราส่วน 4%, 0.4% ตามลำดับ ละลายในคาร์บอนเตตระคลอไรด์ 95%
- นำมาใส่ในเครื่องขัดเงายาเม็ด ให้หมุนไปเรื่อยๆ จนเม็ดยาเงา
การสุมยา
- ยาตำรับ ใส่รวมในหม้อดิน ปิดฝาหม้อให้มิดชิด
- สมไฟให้ร้อนจัด ( สุมด้วยฟืน ) จนยากลกายเป็นสีดำ ( ถ่าน )

อายุของยา
ยาลูกกลอน
- ตัวยา : ใบไม้ล้วน > 6-8 เดือน > หมดอายุ : หลัง 1 ปี
- ตัวยา : แก่นไม้ล้วน > 1 ปี > หมดอายุ : หลัง 2 ปี
- ตัวยา : หัว – เหง้า แก่นไม้ โกฐ เทียน แร่ธาตุต่างๆ > 1-1.5 ปี > หมดอายุ : หลัง 2 ปี
ยาต้ม : รักษาอาการป่วยปที่เปิดปัจจุบัน ไม่เรื้อรัง
- ตัวยา : ใบไม้ล้วน > ใช้ครั้งเดียว
- ตัวยา : แก่นไม้ เครื่องเทศ โกฐ เทียน > ภายใน 7-10 วัน
- ตัวยา : แก่นไม้ เครื่องเทศ โกฐ เทียน หัวพืชแห้ง > ภายใน 7-15 วัน
ยาดอง :
- ไม่เข้าตัวยา รสเค็ม > ภายใน 1 ปี > หลังจากนั้นเริ่มเสื่อม
- เข้าตัวยาที่มีรสเค็ม เช่น ดีเกลือ เกลือ > ภายใน 2 ปี
ยาผง :
- ตัวยา : ใบไม้ล้วน > 3 เดือน > หมดอายุ : หลัง 6 เดือน
- ตัวยา : ใบ และ แก่นไม้ > 4 เดือน > หมดอายุ : หลัง 8 เดือน
- ตัวยา : แก่นไม้ล้วน > 6 เดือน > หมดอายุ : หลัง 12 เดือน เสื่อม
ยาเม็ด :
- ไม่มีแก่นผสม > 6 เดือน
- แก่นล้วน > 1 ปี