แพทย์แผนไทย เภสัชกรรมไทย
บทที่1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเภสัชกรรม
1. ประวัติความเป็นมา
1.1 ประวัติแพทย์แผนโบราณ
- พุทธกาล มีมาก่อนพุทธกาล / เริ่มบันทึกสมัยพุทธกาล
ปู๋ชีวกโกมารภัทร
- ศึกษาเพราะเป็นวิชาชีพที่ไม่เบียดเบียนผู้ใด
- ศึกษาที่สำนักทิศาปาโมกข์ เมือง ตักศิลา
- นิสัย
-
- เมตตากรุณา / ปราถนาให้มนุษย์มีความสุข
- ฉลาด / เรียนได้มาก / เร็ว / จำดี / ใช้เวลาเรียนน้อย
- รักษาครั้งเดียวหาย รักษา ริดสีดวงทวาร ( พระภคันทละ ) พระเจ้าพิมพิสาร / ทายาครั้งเดียวหาย
- เป็นแพทย์หลวงประจำพระเจ้าพิมพิสาร และ บำรุงสงฆ์
1.2 ประวัติการแพทย์แผนโบราณในประเทศไทย
1.2.1 ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
- อาณาจักรขอม
-
- พ.ศ. 1725 – 1729 : พบศิลาจารึก
-
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 : อโธคยาศาลา มี หมอ พยาบาล เภสัชกร รวม 92 คน
-
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 : บวงสรวงพระไภสัชยคุรุไวฑูรย์ ด้วยยา และอาหาร
- พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 : ขอมดำดินเวลา 17.25 น. 4 นาที โผล่
- ทวาราวดี
พบหินบดยา
- สุโขทัย
พ่อขุนรามคำแหง สร้างสวนสมุนไพร ( เขาหลวง / เขาสรรพยา )
- อยุธยา
-
- พระนารายมหาราช
- นวดรุ่งเรือง
- โรงพระโอสถ
- สมุนไพรขาย นอก – ใน กำแพงเมือง
- ตำรา “พระโอสถพระนารายณ์”
- ตำราแพทย์แผนโบราณ ครั้งแรก
- ฝรั่งเศส สร้างโรงพยาบาล
- ฝรั่งเศส : อยุธยา
- อเมริกา : รัตนโกสินทร์
1.2.2 สมัยกรุงรันตนโกสินทร์
รัชกาลที่ 1 : พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- บูรณะวัดโพธิ์ / วัดโพธาราม เป็นอารามหลวง ชื่อ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- ตั้งโรงพระโอสถ กรมหมอ เหมือนสมัยอยุธยา
- ตำรายา / ตำรานวด / ฤาษีดัดตน ไว้ที่ศาลาราย
- กรมหมอ หมอหลวง ( ราชสำนัก ) หมอราษฎร ( เชลยศักดิ์ )
รัชกาลที่ 2 : พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
- กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย พ.ศ. 2359
- กฎหมายพนักงานพระโอสถ ถวาย 2 มือ ก่อนเที่ยงคืน 1 นาที
- รบกับพม่า ตำราหาย ชาวบ้านเอาตำรามารวบรวม จดเป็นตำราหลวงสำหรับโรงพระโอสถ
รัชกาลที่ 3 : พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
- บูรณะวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ แห่งแรก ( โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดโพธิ์ )
- ตำรายา / ตำรานวด / ฤาษีดัดตน ( ที่เสา, วิหาร, ผนังโบสถ์ ) บนหินอ่อน ท่า 80 ( ปัจจุบันแนะนำแค่ 15 ท่า ) รูป 60 เป็นตำราใช้บอก สมุฏฐานของโรค / วิธีการรักษา / ผู้ประสงค์อยากเป็นแพทย์
- ปลูกฝี ป้องกันไข้ทรพิษ / ไข้จับสั่น / ( ใช้ยาควินิน ) หมอบรัดเลย์ อเมริกา
รัชกาลที่ 4 : พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สูติกรรม ( ตะวันตก )
- จุดนวดวัดกลาง จ.สงขลา
รัชกาลที่ 5 : พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สร้าง รพ ศิริราช พ.ศ. 2431
- เรียนแพทย์ ปัจจุบัน + โบราณ หลักสูตร 3 ปี
- ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ “พระยาพิษณุประสาทเวช” พ.ศ.2438 ( ตำราแห่งชาติฉบับแรก )
รัชกาลที่ 6 : พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ยกเลิกแผนโบราณ
- พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ เพื่อป้องกันอันตรายกับประชาชน
รัชกาลที่ 7 : พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
- กฎหมายเสนาบดี พ.ศ. 2479 : แบ่ง แผนโบราณ / ปัจจุบัน
รัชกาลที่ 9 : ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
- สมาคมโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ พ.ศ. 2500
- สร้างอายุรเวทวิทยาลัย ( ชีวกโกมารภัจจ์ ) วัดบวรฯ พ.ศ. 2525
- นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ ( เป็นแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทำคลอดได้ )

2. จรรยาเภสัช 5 ประการ ( ต้องการความเจริญรุ่งเรือง ยึด จรรยา )
- ขยันหมั่นเพียร หาความรู้ให้เหมาะแก่กาลสมัย
- ต้องพิจาณาหาเหตุผลในการปฏิบัติงานด้วยความสะอาด ประณีต ไม่ประมาท ไม่มักง่าย
- ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต มีเมตตาจิตแก่ผู้ใช้ยา ไม่โลภเห็นแก่ลาภ โดยหวังผลกำไรมากเกินควร
- ต้องละอายต่อบาป ไม่กล่าวเท็จหรือกล่าวโอ้อวด ให้ผู้อื่นหลงเชื่อในความรู้ ความสามารถอันเหลวไหลของตน
- ต้องปรึกษาผู้ชำนาญ เมื่อเกิดการสงสัยในตัวยาชนิดใด หรือวิธีปรุงยา โดยไม่ปิดบังความเขลาของตน

3. หลักเภสัช 4 ( เภสัชที่ดี ยึด เภสัช 4 )
- เภสัชวัตถุ : ชื่อ ลักษณะ สี กลิ่น รส ( พืช / สัตว์ / ธาตุ )
- สรรพคุณเภสัช : สรรพคุณวัตถุ / รสตัวยา ( ยารสประธาน / รสตัวยา )
- คณาเภสัช : จัดหมวดหมู่ยา ( จุลพิกัด / พิกัด / มหาพิกัด )
- เภสัชกรรม : ปรุงยา ตามตำรับ / ใบสั่งยา ( วิธีปรุงยา / การใช้ยาอันตราย / ยาสามัญประจำบ้าน )

4. ประวัติยาเบญจกูล + ตัวยาประจำธาตุ ( ฤาษี 6 ตน ได้ค้นคว้าตัวยาโดยบังเอิญ )
- ปถวี ธาตุ ( 20 ประการ ) – ฤาษี : ปัพพะตัง > บริโภค : ผลดีปลี > ระงับ : อชิณโรค ( แพ้ของแสลง )
- อาโป ธาตุ ( 12 ประการ ) – ฤาษี : อุธา > บริโภค : รากช้าพลู > ระงับ : เมื่อยขบ
- วาโย ธาตุ ( 6 ประการ ) – ฤาษี : บุพเทวา > บริโภค : เถาสะค้าน > ระงับ : เสมหะ และ วาโย
- เตโช ธาตุ ( 4 ประการ ) – ฤาษี : บุพพรต > บริโภค : รากเจตมูลเพลิง > ระงับ : หนาว และเย็น
- อากาศ ธาตุ ( 10 ประการ ) ทวารของร่างกาย – ฤาษี : มหิทธิธรรม > บริโภค : ขิงแห้ง > ระงับ : ตรีโทษ
- รวมทั้งหมดเข้าด้วยกัน – ฤาษี : มุรทาธร > ชื่อยา : เบญจกูลเสมอภาค > ระงับ : ทวัตติงสาการ ( อาการ 32 ของร่างกาย )