ชื่อ – ชนิด พันธุ์
พฤกษ์ ชื่ออื่น มะขามโคก มะรุมป่า ซึก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Albizia lebbeck (L.) Benth.
ประวัติ
ต้นพฤกษ์ หรือต้นซึก มีชื่อเรียกอื่นว่า มะขามโคก มะรุมป่า เป็นต้นไม้ในพุทธประวัติ โพธิญาณพฤกษา พันธุ์ไม้ที่พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ประทับตรัสรู้ในภาษาบาลีเรียกว่า “ต้นสิรีสะ” ชาวอินเดียเรียกต้นซึก ว่า “สิริสะ (Siris หรือ Sirisha)” เป็นพืชผักสมุนไพร มีสรรพคุณทางยา ปัจจุบัน ต้นซึกหรือต้นพฤกษ์เป็นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดมหาสารคาม
รูปร่าง รูปทรง ( ต้น ใบ ดอก ผล )
- ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 10 – 25 เมตร เรือนยอดรูปร่มแผ่กว้าง
- เปลือก สีเทาเข้มหรือน้ำตาลอม เหลืองขรุขระ และแตกเป็นร่องตามยาว เปลือกในสีแสด
- ใบ ประกอบรูปขนนกสองชั้น เรียงสลับมีก้านแขนงออกตรงข้ามกัน 2 – 4 คู่ แผ่นใบย่อยเล็ก 2 – 5 คู่ รูปขอบขนานเบี้ยว หรือรูปรี กว้าง 1.5 – 2.5 เซนติเมตร ยาว 3 – 5 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนสอบและเบี้ยว
- ดอก ดอกเล็กสีขาว กลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบกระจุกรูปร่มค่อนข้างกลม บริเวณซอกใบ และที่ปลายกิ่ง
- ผล เป็นฝักรูปขอบขนาน แบนและบาง กว้าง 3 – 4 เซนติเมตร ยาว 20 – 35 เซนติเมตร ปลาย และโคนมน สีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลแกมเหลือง ผิวเกลี้ยงเป็นมัน เมื่อแห้งสีฟางข้าว มีเมล็ดแบนรี 4 – 12 เมล็ด
ความสูงเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่
- สูง 10 – 25 เมตร
ความกว้างทรงพุ่มเมื่อโตเต็มที่
- 10 – 15 เมตร
ความต้องการแสง
- แสงแดด: ตลอดวัน
ความต้องการน้ำ
- ปานกลาง
ชอบดินประเภท
ชอบดินร่วน
ประโยชน์การใช้สอย
- ยอดอ่อนและช่อดอกอ่อนรับประทานได้ มีรสมัน เนื้อไม้แข็ง ลายไม้สวย ใช้ทำสิ่งปลูกสร้าง เครื่องมือทาง การเกษตร เปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง เปลือกมีรสฝาดใช้รักษาแผลในปาก ลำคอ เหงือก เมล็ดรักษาโรคผิวหนัง ใบใช้ดับพิษร้อนทำให้เย็น
การขยายพันธุ์
- โดยเมล็ด หรือตอนกิ่ง
คลิกเพิ่มเพื่อน! แจ้งเตือนบทความใหม่ก่อนใคร ฟรี!!
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
- สารบัญ