ไผ่ Black Asper หรือ ไผ่ดำอินโดนีเซีย (Dendrocalamus asper cv. ‘Hitam’ (Black Asper or Betung Hitam))

มีลักษณะทรงพุ่มโปร่ง ลำต้นตั้งตรงมี สูงตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12-18 เซนติเมตร ลำต้นมีสีเขียว มีนวลแป้งสีขาวปกคลุม

ไผ่พรมรอกขม หรือ ไผ่หยาง (Bambusa Farinasia)

ลำอ่อนแตกมาจากตาของเหง้าใต้ดินเพียงบางตา ตรงส่วนของปลายเหง้าที่เจริญออกเป็นหน่อใหญ่ เหง้ามีระยะยาว แตกออกเป็นลำใหญ่ในปีต่อไปเรื่อยๆ เหง้าและลำจึงไม่อยู่ร่วมกัน มีทั่วทุกภาคแต่ในภาคใต้จะมีน้อยมาก

ผักเหลียงใบใหญ่ (Gnetum gnemon var. tenerum)

ใบ ผักเหลียง เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ มีลักษณะใบคล้ายใบยางพารา ใบแตกออกที่ปลายกิ่งแขนง แตกออกเป็นใบเดี่ยวตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ใบมีลักษณะรี มีก้านใบยาวประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลม

ไผ่นางฟ้า (dendrocalamus ninor amoenus)

ลำต้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.25 นิ้ว ใบ ใบใหญ่สีเขียวเข้มเป็นมันเงา ความสูงเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สูงได้ถึง 10 เมตร ความกว้างทรงพุ่มเมื่อโตเต็มที่ 4-6 เมตร

สละ พันธุ์ สุมาลี (ZALACCA EDULIS REINW.)

“สละพันธุ์สุมาลี” เป็นสายพันธุ์ใหม่ ที่จัดเป็นสุดยอดเหนือสละสายพันธุ์ใดๆที่นิยมปลูกแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ติดผลง่าย รสชาติของเนื้อ ผลยังหวานสนิท

หวาย ( Calamus caesius Blume)

ลำต้นหวายมีลักษณะกลม แต่บางชนิดมีรูปทรงสามเหลี่ยม ขนาดลำต้นเล็กจนถึงใหญ่ ขนาดตั้งแต่ 15 มิลลิเมตร จนถึง 10 เซนติเมตร

โป๊ยกั๊ก หรือ จันทน์แปดกลีบ (Illicium Verum Hook. f. )

โป๊ยกั๊กจัดเป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดเล็กอายุยืนมีใบเขียวตลอดปีและมีความสูงได้ถึง 18 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกมีสีขาวเทา

ไผ่ยักษ์น่าน (Dendrocalamus Giganteus)

ลำไผ่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีผิวเรียบเป็นมันและไม่มีขนโดยขนาดของลำไผ่ยักษ์น่านที่โตเต็มวัยสามารถโตได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12-16 นิ้ว

ส้มโอเหลืองไต้หวัน หรือ ส้มโอไร้เมล็ด (Citrus Maxima Burm.)

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นเนื้อไม้แข็ง มีผิวเรียบ ลำต้นมีกิ่ง มีหนามยาวเล็กน้อย เปลือกมีสีน้ำตาล

ส้มโอขาวน้ำผึ้ง (Citrus Maxima Burm.f.)

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นเนื้อไม้แข็ง มีผิวเรียบ ลำต้นมีกิ่ง มีหนามยาวเล็กน้อย เปลือกมีสีน้ำตาล ใบเป็นใบเลี้ยงคู่ มีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่

ละมุดกระสวยมาเลย์ (Manilkara Zapota P.Royen)

“ละมุดกระสวยมาเลย์ ละมุดมีวิตามินซีสูงช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันการเป็นหวัดจึงเป็นผลไม้ที่ขายดี เมล็ดของละมุดใช้เป็นยาบำรุงกำลัง

เชอรี่หวานมานัวร์ (Prunus Arium)

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีทรงพุ่มขนาดกลาง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ลำต้นมีลักษณะกลมๆ เนื้อแข็งเหนียว มีสีน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามรูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม

ส้มโอขาวแตงกวา (Citrus Maxima Burm.f. Merr.)

ผลมีรูปทรงกลมแป้น ไม่มีจุก กันผลป้านจนถึงเว้าเล็กน้อย เปลือกผิวมีสีเขียว ผิวเรียบมีลักษณะค่อนข้างเป็นมัน ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นเนื้อไม้แข็ง มีผิวเรียบ ลำต้นมีกิ่ง มีหนามยาวเล็กน้อย เปลือกมีสีน้ำตาล

ส้มเขียวหวาน หรือ มะเขียว,มะบาง,ส้มขี้ม้า,ส้มแก้วเกลี้ยง,ส้มแก้วโบราณ,ส้มจันทบูร,ส้มตรังกานู,ส้มแป้นกระดาน,ส้มแป้นขี้ม้า,ส้มแสงทอง,ส้มจุก,ส้มแป้นเกลี้ยง,ส้มแป้นหัวจุก,มะขุน,มะแง,มะจุก,ส้มจุก,ส้มเชียงตุง,ส้มเหม็น,ซาโบโค,ซ่าซุยโบโข่,ลีมากุเละนีปี้ห์,ลีมากุเละลอเก๊าะ,ลีมาจีนา,ลีมายือโบ,จวี๋,ชิงผี เฉินผีจวี๋,จวี๋เหอ,เปลือกส้มเขียวหวาน, ส้มจีนเปลือกล่อน (Citrus Reticulata Blanco )

ต้นส้มเขียวหวาน มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อม มีความสูงของต้นได้ประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก กิ่งอ่อนมีหนาม ใบส้มเขียวหวาน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่มนรี ปลายใบแหลม

มะนาวแป้น (Citrus Aurantifolia Christm. Swingle.)

ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากไม่เป็นระเบียบ มีหนามกิ่งก้านมาก ใบ ทรงรียาว ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบหยัก แผ่นใบมีจุดน้ำมันกระจายอยู่ ดอกมะนาวแป้น เมื่อออกดอก ดอกจะมีสีขาวเมื่อดอกบานกลีบในจะเห็นมีปลายแหลม เกสรตัวผู้มีสีเหลือง ความกว้างดอกจะกว้างประมาณ 2 – 3 เซ็นติเมตร

ส้มเขียวหวานบางมด ( Citrus Reticulata Blanco)

แหล่งที่ขึ้นชื่อว่าปลูกส้มเขียวหวานกันมากและมีชื่อเสียงในประเทศไทย คือ ตำบลบางมดในพื้นที่อำเภอราษฎร์บูรณะและอำเภอบางขุนเทียนของจังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันคือแขวงบางมดในเขตทุ่งครุและแขวงบางมดในเขตจอมทองของกรุงเทพมหานคร) จนได้ชื่อว่า “ส้มบางมด” 

มะม่วงหาวมะนาวโห่ญี่ปุ่น (Carissa Carandas L.)

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ต้นทรงพุ่มกลม ขยายแตกกิ่งก้าน ลำต้นมีหนามแต่ไม่มากเท่ากับพันธุ์ของไทย ลำต้นมีลักษณะกลม เป็นไม้เนื้อแข็งเหนียว เปลือกต้นเรียบ มียางสีขาว มีสีน้ำตาลอมเทา ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะรูปไข่ ทรงรีเล็ก โคนและปลายใบมน ใบเรียบเป็นมัน มีสีเขียว หนาและแข็ง

สละ (Salacca Zalacca)

ลำต้น เป็นเหง้ามีทรงพุ่มต้นเตี้ย ลำต้นมีลักษณะเป็นแกนกลม มีเนื้อไม้นุ่มยุ่น มีก้านใบปกคลุมลำต้น เปลือกมีสีน้ำตาล ราก เป็นระบบรากแขนง มีลักษณะกลมเล็กๆ แทงลึกลงในดิน มีรากแขนงและรากฝอยเล็กๆ แทงออกจากเหง้า มีสีน้ำตาล

มะหาด หรือ หาดขนุน,ปวกหาด,หาด,ฮัด,มะหาดใบใหญ่,กาอย,ตาแป,ตาแปง,เซยาสู้ (Artocarpus Lakoocha Roxb)

ถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของภูมิภาคเอเชียใต้ เช่น อินเดีย ศรีลังกา และ บังคลาเทศ แล้วมีการแพร่กระจายพันธุ์ไปในเขตร้อนของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พม่า,ไทย,ลาว,กัมพูชา,มาเลเซีย เป็นต้น

แคดอกแดง หรือ แคแดง,แค (Sesbania Grandiflora L.)

ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม.  ยาว 3-4 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว
ดอกจะออกเป็นช่ออยู่ตามบริเวณซอกใบประมาณ 2 – 4 ดอก มีสีแดง ซึ่งมีกลิ่นหอม

สุพรรณิการ์ดอกชั้นเดียว หรือ สุพรรณิการ์ดอกลา,สุพรรณิการ์,ฝ้ายคำ ( Cochlospermum religiosum L.)

มีถิ่นกำเนิดในอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย เป็นต้นไม้ผลัดใบสูง 7-15 เมตร กิ่งก้านคดงอ ใบรูปหัวใจ แผ่นใบเป็นแฉกลึก  5 แฉก ขอบใบเป็นคลื่น ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ร่วงยาก กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองสด ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

ชงโค หรือ เสี้ยวดอกแดง, กะเฮอ, สะเปซี, เสี้ยวหวาน (Bauhinia Qurpurea L.)

ใบนำมาตากแดด ใช้ชงเป็นชาดื่ม ใบนำมาขยี้ และผสมน้ำเล็กน้อยใช้ประคบรักษาแผล และช่วยในการห้ามเลือด ใบอ่อนใช้เคี้ยวเพื่อลดกลิ่นปาก ดอกนำมาต้มน้ำดื่ม ช่วยลดอาการไอ ทำให้ชุ่มคอ เปลือกลำต้นนำมาต้มน้ำดื่ม ใช้รักษาอาการท้องเสีย และอาหารเป็นพิษน้ำต้มจากเปลือกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ