ประดู่ หรือ ดู่บ้าน,ประดู่บ้าน,อังสนา,สะโน (Pterocarpus macrocarpus L.)

ต้นประดู่ เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย และอยู่ในแถบอันดามัน มัทราช เบงกอล ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ลำต้นสูง 15 – 30 เมตร หุ้มด้วยเปลือกหนาสีน้ำตาลซึ่งแตกสะเก็ดเป็นร่อง ลึก มีนํ้ายางมาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ

กะเพราแดง หรือ กะเพราบ้าน,ห่อตูปลู,ห่อกวอชู,กะเพราขน,กะเพราขาว,กอมก้อ,กอมก้อดำ,อีตู่ไทย (Ocimum Tenuiflorum L.)

ใบและลำต้นมีสีเขียวอมม่วงแดง ใบทั้งสองด้านมีขนมากโดยเฉพาะส่วนยอด เนื้อใบบาง ใบรูปร่างรีหรือรีขอบขนาน กว้าง 1 – 2.5 เซนติเมตร ยาว 2 – 4.5 เซนติเมตร ปลายใบและโคนใบอาจแหลมหรือมน ขอบใบค่อนข้างหยัก ใบและยอดรสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอม

กะเพราเขียว หรือ กะเพราขน,อีตู่ไทย (Ocimum Tenuiflorum L.)

เป็นพืชพื้นเมืองของเขตร้อนในถิ่นโลกเก่า คือบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชียและแอฟริกาแต่พบมากในแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ล้มลุกมีกิ่งก้านและขนปกคลุมมาก ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสีเขียวกันเป็นคู่ๆ รูปรี ปลายใบแปลม หรือมน ขอบใบหยักแบบพันเลื่อย ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกติดรอบแกนช่อเป็นระยะๆ

มะตูม หรือ มะปิน, มะปีส่า,มะตูม,พะโนงค์,กะทันตาเถร,ตุ่มตัง,ตูม (Aegle Marmelos L.)

มะตูมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีสีเทาและมีหนามแข็งยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ใบมะตูมเป็นใบประกอบที่มี 3 ใบย่อย เรียงตัวคล้ายทรงสามเหลี่ยม ลักษณะของแต่ละใบมีฐานกว้างปลายแหลม

ฝาง หรือ หนามโค้ง,ฝางแดง, ขวาง, ฝางเสน, ฝางส้ม,ง้าย (Caesalpinia Sappan L.)

เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชีย โดยสามารถพบได้ตามประเทศต่างๆ ที่อยู่ในเขตร้อนดังกล่าว เช่น อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา ศรีลังกา บังคลาเทศ เวียดนาม รวมถึงทางตอนใต้ของจีน สำหรับในประเทศไทยนั้น สามารถพบได้บริเวณป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง

มะกล่ำตาแดง หรือ มะกล่ำตาหนู ,กล่ำตาไก่, กล่ำเครือ, มะกล่ำแดง, มะกล่ำเครือ, มะแค้ก, มะแค๊ก (Abrus precatorius L.)

เป็นไม้เถาเลื้อยอายุหลายปี สูงถึง 5 เมตร เถาเนื้ออ่อน สีเขียว ขนาดเล็ก โคนเถาช่วงล่างจะแข็งและมีขนาดใหญ่ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ ก้านหนึ่งจะมีใบย่อย 8-20 คู่ ใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน  โคนใบมน ปลายใบมน ขอบใบเรียบขนาน หน้าใบเรียบ

เหลืองปรีดียาธร หรือ ตาเบเหลือง, ตะเบเหลือง, ตาเบบูย่าเหลือง, เหลืองสิรินธร ( Tabebuia argentea Britton)

ถิ่นกำเนิด ปารากวัย อาร์เจนตินา และบราซิล  ลำต้น มีเปลือกสีน้ำตาล แตกเป็นร่อง ใบประกอบรูปนิ้วมือ มีใบย่อย 5-7 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมน ใบเหลือบสีเงินทั้งสองด้าน