ผักหวานป่า (Melientha suavis Pierre)

ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 5-15 เมตร เนื้อไม้แข็ง เปลือกของลำต้นเมื่ออายุน้อยผิวเปลือกเรียบ สีเทาอมเขียว และเมื่ออายุมากขึ้นเปลือกแตกเป็นร่องรูปสี่เหลี่ยม สีเทาอ่อนอมน้ำตาล

ทองหลาง (Erythrina variegata Linn.)

ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง
ใบ เป็นใบประกอบแบบรูปขนนก มี 3 ใบย่อย ใบกลางจะโตกว่า 2 ใบข้าง เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบสีเหลือง

จำปาดะทองตาปาน (Artocarpus Integer Thongtapan.)

ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมแน่นทึบ คล้ายขนุน เปลือกต้นสีนํ้าตาลอมดำ เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นๆ ตามแนวยาว

ขนุนเหลืองบางเตย (Artocarpus Heterophyllus Lam.)

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ทรงพุ่มรูปทรงกระบอก ทุกส่วนของต้นมียางสีขาว เป็นไม้เนื้ออ่อน แก่นสีเหลือง ใบ มีสีเขียวเข้มเป็นมัน และแผ่นหนาเหมือนหนัง

ทุเรียนกบชายน้ำ (Durio Zibethinus Murr.)

ผลทรงรูปไข่ แต่ไม่เป็นระเบียบ ความยาวผลปานกลางรูปร่างหนามแหลมคม เปลือกหนา หนามปลายงุ้มเข้า หนามรอบขั้วผล หนามตรงไม่แหลม เนื้อหนาปานกลาง สีเนื้อเหลืองอ่อน มีกลิ่นอ่อน รสชาติของเนื้อมันพอดี

ทุเรียนโอวฉี่หนามดำ ( Durio Zibethinus Murr.)

ผลของทุเรียน จะมีสีดำที่บริเวณก้น อันเป็นลักษณะที่ไม่พบเห็นในทุเรียนสายพันธุ์อื่น มีทรงผลสวย เปลือกบาง เมล็ดเล็กและลีบ เนื้อสุกเป็นสีเหลืองอมส้ม เนื้อละเอียดเนียน รสชาติหวานมันและหวานแหลมมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ทุเรียนแดงอินโด (Durio Zibethinus Murr.)

ลักษณะเนื้อสีแดงเข้ม ละเอียดและเหนียว เมล็ดเล็กและลีบบาง รสชาติหวานหอมมันรับประทานอร่อยมาก รูปทรงของผลสวย ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง 2 กิโลกรัมต่อผล ลำต้นแข็งแรงทนต่อโรคแมลงได้สูง
ใบมีขนาดใหญ่กว่าใบทุเรียนพันธุ์ไทยทั่วไป

สมอไทย หรือ หมากแน่ะ,ม่าแน่,สมออัพยา,ลูกสมอ (Terminalia Chebula Retz.)

ต้น สมอเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีพุ่มขยายออกด้านข้าง เปลือกหุ้มจะมีรอยแตกเป็นร่องลึกและมีสีน้ำตาลเข้มปนดำหรือเทา กิ่งก้านมีความคดเคี้ยวแต่ยังดูเป็นระเบียบ ก้านขนาดเล็กจะมีขนอ่อนปกคลุม เนื้อไม้เหนียวและแข็ง

ผักติ้ว หรือ แต้วหิน,ผักเตา,เตา,ติ้วส้ม,กวยโชง,ตาว,ติ้วแดง,ติ้วยาง,ติ้วเลือด,ติ้วเหลือง,ติ้วเหลือง,แต้ว (Cratoxylum Formosum)

ต้นติ้ว จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีความสูงของต้นเฉลี่ยประมาณ 3-12 เมตร และอาจสูงได้ถึง 35 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลม โคนต้นมีหนาม กิ่งก้านเรียว ส่วนกิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่ทั่วไป

ส้มโอแดงเวียดนาม (Citrus Maxima Burm.)

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นเนื้อไม้แข็ง มีผิวเรียบ ลำต้นมีกิ่ง มีหนามยาวเล็กน้อย เปลือกมีสีน้ำตาล ใบ เป็นใบเลี้ยงคู่ มีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ จะให้เห็นใบเป็น 2 ตอน แตกเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ใบมีสีเขียวแก่ พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนา

มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง (Mangifera Indica L.)

มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งน้อย แลดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นสีดำอมเทา ใบออกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันบนกิ่งแขนง ใบมีรูปหอก โคนใบสอบแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบโค้งเป็นลูกคลื่น

มะพร้าวบิ๊กจัมโบ้ หรือ มะพร้าวแกงพันธุ์พื้นเมืองต้นสูง,มะพร้าวแกงบิ๊กจัมโบ้,มะพร้าวแกงทับสะแก (Cocos Nufiera L.)

ลำต้นกลม ใหญ่ ตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน เปลือกต้นแข็ง สีเทา ขรุขระ มีรอยแผลใบ โคนต้นมีสะโพกใหญ่ โตเต็มที่สูงประมาณ 18 เมตร ทางใบใหญ่และยาว ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียน รูปพัดจีบ โคนใบและปลายใบแหลม

เสลา หรือ เกรียบ,ตะเกรียบ,ตะแบกขน,อินทรชิต,เสลาใบใหญ่ (Lagerstroemia Loudonii)

ไม้ต้นขนาดใหญ่  ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมหรือทรงกระบอก แน่นทึบ กิ่งห้อยย้อย เปลือกต้นสีเทาเข้มเกือบดำ ผิวขรุขระ มีรอยแตกเป็นทางยาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 6-10 ซม. ยาว 16-24 ซม. ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งโคนใบมน แผ่นใบค่อนข้างหนา และเหนียว สีเขียวเข้ม

กระถินณรงค์ (Acacia Auriculiformis)

กระถินณรงค์เป็นไม้ขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นทรงกลม ตั้งตรง แต่หากพื้นที่แห้งเลี้ยงมาก ลำต้นจะไม่สมมาตร เปลือกของต้นอายุน้อยมีสีเทา ผิวขรุขระ เมื่อต้นเจริญเต็มที่ เปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผิวเป็นร่องแตกสะเก็ด แตกกิ่งก้านมาก และหนาแน่นมากบริเวณเรือนยอด

มะขวิด หรือ มะฝิด,มะยม ( Limonia Acidissima L.)

มีแหล่งกำเนิดในประเทศอินเดีย พม่า ศรีลังกา และอินโดจีน ปลูกทั่วไปในบริเวณหมู่บ้านและสวน แล้วแพร่กระจายไปตามธรรมชาติ ในประเทศมาเลเซียและเกาะชวากับเกาะบาลี อินโดนีเซีย และมีการนำไปปลูกในแคลิฟอร์เนียและฟลอริดาเพื่อใช้ในการศึกษา

มะกอกฝรั่ง หรือ มะกอกหวาน,มะกอกดง,มะกอกเทศ (Spondias Dulcis)

ต้นมะกอกฝรั่ง จัดเป็นไม้ยืนต้น มีความสูงของต้นประมาณ 7-12 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลแดง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ออกดอกเป็นช่อแบบพานิเคิล (ช่อดอกที่มีช่อดอกแตกออกมาจากช่อดอกใหญ่อีกทีหนึ่ง)

ลำพู หรือ กาลา,คอเหนียง,สะบันงาช้าง,กระดังงาป่า,ตะกูกา,ลิ้นควาย,หงอกไก่,ขาเขียด,ลำพูขี้แมว,ลำแพน,ลำแพนเขา,ลำพูควน,เต๋น,ตุ้มเต๋น,ตุ้มบก,ตุ้มลาง,ตุ้มอ้า,ลาง,ลูกลาง,ลูกลางอ้า,ตะกาย,โปรง,บ่อแมะ,บะกูแม,กู,โก๊ะ,ซังกะ,เส่ทีดึ๊,ซิกุ๊,โก,ซ่อกวาเหมาะ,กาปลอง,เตื้อเร่อะ,ไม้เต๋น,ลำคุบ,ไม้เต้น,ซือลาง (Sonneratia Caseolaris L.)

ลำพูเป็นไม้ที่หิ่งห้อยชอบมาเกาะ ทำให้เกิดความสวยงามโดยเฉพาะในยามค่ำคืน ในอดีต ในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยเฉพาะในเขตพระนครมีต้นลำพูอยู่มาก เป็นที่มาของชื่อ “บางลำพู” ซึ่งเป็นชื่อย่านแห่งหนึ่งในเขต แต่ต่อมาต้นลำพูได้ถูกตัดทิ้งลงเป็นจำนวนมาก

กะบก หรือ กระบก,จะบก,ตระบก,จำเมาะ,ซะอัง,บก,หมากบก,มะมื่น,มื่น,มะลื่น,หมักลื่น,หลักกาย (Irvingia Malayana )

ต้นกระบก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ ทรงเรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ ลำต้นเปลา เปลือกต้นมีสีเทาอ่อนปนสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ โคนต้นมักขึ้นเป็นพูพอน มีใบเป็นใบเดี่ยวติดเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปรีแกมรูปขอบขนานจนถึงรูปใบหอก ใบกว้างประมาณ 2-9 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร

กันเกรา หรือ ตำเสา,ตาเตรา,ตะมะซู,ตำมูซู,มันปลา, (Fagraea Fragrans Roxb.)

ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เรือนยอดแน่นเป็นรูปกรวยคว่ำ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปรีแกมรูปใบหอก มีหูใบระหว่างก้านใบ ช่อดอกออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง มีดอกจำนวนมาก กลิ่นหอมเย็น ดอกแรกบานสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจนถึงเหลืองอมส้ม กลีบดอกติดกันคล้ายรูปแจกันมี 5 กลีบ

มะกอกป่า หรือ กอก,กอกเขา,กูก ( Spondias pinnata L. f. )

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ต้นทรงพุ่ม ขยายแตกกิ่งก้าน ลำต้นมีลักษณะกลม เป็นไม้เนื้อแข็งเหนียว เปลือกต้นมีร่องแตก มีสีน้ำตาลอมเทา ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเป็นคี่เวียนสลับกันบนก้านใบยาว มีลักษณะทรงรีเรียว โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ใบเรียบลื่น จะมีใบอ่อนและยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่มีสีเขียว

นนทรี หรือ สารเงิน,กระถินป่า,กระถินแดง,นนทรีบ้าน (Peltophorum Pterocarpum)

ถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยในประเทศไทยนั้นสามารถพบได้ทั่วไปตามชายป่าเต็งรัง หรือป่าเบญจพรรณในภาคตะวันออก ภาคอีสาน และภาคเหนือ

มะยม หรือ หมากยม,ยม ( Phyllanthus Acidus)

ถิ่นกำเนิดอยู่ที่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างบ้านเรานี่เอง สามารถพบได้ทั้งในประเทศไทย พม่า มาเลเซีย ลาว อินโดนีเซีย และได้มีการแพร่พันธุ์กระจายไปยังประเทศอินเดีย แถบอเมริกากลาง อเมริกาใต้และฮาวาย