เห็ดเป๋าฮื้อ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pleurotus abalonus (P.cystidiosus)
ชื่อสามัญ : abalone mushroom
สูตร
- ขี้เลื่อยยางพารา 100 กก.
- รำละเอียด 3 กก.
- ข้าวโพดป่น 3 กก.
- น้ำตาลทรายแดง 1 กก.
- ดีเกลือ 0.20 กก.
- น้ำเปล่า
การผลิตก้อนเชื้อ
การใช้ขี้เลื่อยเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ แม้จะให้ผลผลิตต่ำกว่าฟางหมัก แต่จะประหยัดและมีต้นทุนต่ำกว่า แต่มีข้อสังเกตเกี่ยวกับขี้เลื่อยที่ใช้กับเชื้อเห็ด ดังนี้
- สามารถนำขี้เลื่อยของไม้หลายชนิดมาใช้แต่มีข้อจำกัดแตกต่างกันไป เช่น ขี้เลื่อยไม้เลือดควาย ไม้นุ่น ไม้ฉำฉา ไม้สัก ไม้ยางแดง ไม้มะกอกป่า ไม้ไทร ไม้โพธิ์จะให้ผลผลิตไม่สูงหรืออาจไม่ได้ผล สำหรับขี้เลื่อยไม้ยางพาราจัดเป็นไม้เนื้ออ่อน ธาตุอาหารสามารถย่อยสลายและเห็ดเป๋าฮื้อ สามารถนำไปใช้ได้ดีกว่าไม้ในกลุ่มแรก และการใช้ขี้เลื่อยนั้นไม่จำเป็นต้องผ่านการหมัก
เห็ดเป๋าฮื้อ
เชื้อเห็ดเป๋าฮื้อในบางครั้งแม้ว่าจะเจริญมีเส้นใยเต็มถุงแล้ว จะหยุดนิ่งและใช้เวลานานกว่าจะสร้างดอก จึงควรเลือกเชื้อเห็ดที่แข็งแรง ผ่านการคัดเลือกและตรวจสอบความแข็งแรงของเส้นใยแล้ว
การผลิตก้อนเชื้อจากขี้เลื่อย
เริ่มจากนำขี้เลื่อยผสมกับรำละเอียดในอัตราส่วน 100 ต่อ 5-15 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากัน ข้อควรระวังในการใช้รำข้าวนั้น คือ หากใช้รำในอัตราส่วนสูงผลผลิตจะสูงตาม ในขณะเดียวกันความเสียหายเนื่องจากก้อนเชื้อเสียหายจะสูงตามด้วย
นอกจากจะใช้รำข้าวแล้ว อาจใช้ข้าวโพดป่นแทนรำข้าวบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพท้องถิ่นและราคาวัสดุหลังจากบรรจุลงในถุงแล้วจะเป็นขั้นตอนการนึ่งฆ่าเชื้อต่อไป
การต่อเชื้อเห็ดลงถุง
- หลังการนึ่งก้อนเชื้อเห็ดหรือก้อนปุ๋ยหมักในถุงแล้ว นำเข้าห้องบ่มเชื้อเขี่ยเชื้อที่มีลมสงบ หรือเป็นห้องที่ปิดมิดชิดและผ่านการฆ่าเชื้อให้สะอาดเพียงพอ
- การถ่ายเชื้อจากขวดเมล็ดธัญพืชลงถุงก้อนเชื้อจะต้องปฏิบัติอย่างรวดเร็ว โดยเปิดจุกสำลีออกลนไฟฆ่าเชื้อที่ปากขวดและช้อนตัก ก่อนที่จะใช้ช้อนตักควรทำให้หัวเชื้อบนเมล็ดธัญพืชให้กระจาย
- สำหรับถุงก้อนเชื้อควรใช้แท่งสแตนเลสขนาดเล็กยาวประมาณ 8-10 นิ้ว ลนไฟฆ่าเชื้อแทงลงในก้อนเชื้อ ก่อนเติมหรือเทเมล็ดธัญพืชลงไป
- พร้อมกับจุกสำลีและหุ้มด้วยกระดาษไว้ตามเดิม ขณะดึงจุกสำลีออกไม่ควรวางกับพื้น เพราะทำให้ติดเชื้อจุลินทรีย์บนพื้นได้ใช้มือ ( 2 นิ้ว ) จับเอาไว้และไม่ควรใช้มือกำ
การบ่มก้อนเชื้อเห็ด
นำก้อนเห็ดที่ผ่านการต่อเชื้อไปบ่มในโรงบ่มเชื้อจะวางเป็นชั้นเดียวในลักษณะตั้ง หรือวางนอนซ้อนกันเป็นชั้นๆ ก็ได้การบ่มเชื้อจะใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน ใช้อุณหภูมิประมาณ 28-32 องศาเชลเซียส
นำไปเข้าห้องเปิดดอกต่อไป
การทำให้เกิดดอกเห็ด
ในการทำให้เห็ดเกิดดอกต้องย้ายก้อนเชื้อจากโรงบ่มไปไว้โรงเปิดดอก โรงเรือนที่เหมาะสำหรับการเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ ควรเป็นโรงเรือนที่สามารถเก็บความชื้นได้ดี มีระบบถ่ายเทอากาศดีและสะดวกต่อการทำความสะอาด การคัดแยกก้อนเชื้อจากโรงบ่มให้สังเกตดูว่าก้อนเชื้อนั้นมีเส้นใยเดินเต็มถุงแล้ว และให้คัดแยกถุงที่มีการออกดอกไปวางไว้ในโรงเปิดดอกเป็นรุ่นแรก ส่วนถุงที่ยังไม่มีการออกดอกให้เก็บที่โรงบ่มเชื้อต่อไป เพื่อความสะดวกในการดูแลรักษา
สำหรับวิธีการจัดวางก้อนเชื้อในโรงเปิดดอกอาจทำได้ 2 วิธีคือ
- วางก้อนเชื้อในแนวนอนบนชั้นวางซ้อน ๆ กันหรือใช้เชือกแขวนแล้วเปิดจุกสำลีให้เห็ดออกมาทางคอขวด วิธีนี้เหมาะสำหรับวัสดุเพาะที่ทำจากขี้เลื่อยและซังข้าวโพด
- รดน้ำสร้างความชื้นในโรงเรือนเช่นเดียวกับเห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดจะเริ่มทยอยออกดอกภายใน 1 อาทิตย์หลังจากเข้าโรงเรือน อุณหภูมิโรงเรือนเปิดดอก 29-32 องศา ความชื้นสัมพัทธ์ 70- 80 เปอร์เซ็นต์
- วางก้อนเชื้อในแนวตั้ง แล้วเปิดจุกสำลีให้เห็ดออกมาทางคอขวด หลังจากเก็บดอกเห็ดรุ่นแรกแล้ว
ให้นำคอขวดออก
- พับปากถุงให้สูงจากก้อนเชื้อ 1 นิ้ว แล้วคลุมด้วยดินสะอาดหนา 1 ซม.
- ดินที่ใช้ต้องไม่มีอินทรีย์วัตถุ ไม่มีจุลินทรีย์โรคแมลงปะปน หากเป็นดินร่วนปนทรายที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อได้ยิ่งดี
- โดยก่อนใช้ควรผสมหินปูน 2-3 % หรือปูนขาว 1% ของน้ำหนักดินแห้ง
- เพื่อปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
- หลังจากคลุมดินแล้วให้รดน้ำพอหมาด ๆ
- รักษาระดับความชื้นให้คงที่ประมาณ 1 สัปดาห์ จะสามารถเก็บเห็ดรุ่นต่อไปได้
การเก็บดอกเห็ด
- ควรเก็บดอกเห็ดที่มีอายุปานกลาง ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ควรเก็บก่อนดอกเห็ดจะปล่อยสปอร์โดยสังเกตขอบดอกยังโค้งงออยู่ ดอกแก่จะมีขอบดอกโค้งขึ้น
- ใช้มือจับดอกเห็ดแล้วดึงเบาๆ ดอกเห็ดจะหลุดออกมาแล้วใช้มีดตัดส่วนสกปรกที่บริเวณโคนเห็ดออก
- ก้อนเชื้อเห็ดหนัก 800 กรัม จะให้ดอกเห็ดหนักประมาณ 300-400 กรัม หรือ 35-50% ของน้ำหนักก้อนเชื้อ
- ใช้ระยะเวลาในการเก็บผลผลิตประมาณ 3-4 ครั้ง ๆ ละประมาณ 100 กรัม
- ไม่ควรวางดอกเห็ดซ้อนกันเป็นจำนวนมาก เพราะเนื้อเยื่อเห็ดจะโตช้าได้
- ควรมีผ้าขาวยาววางรองบนภาชนะที่ใช้เก็บเพื่อช่วยลดการเสียดสี
- ภาชนะควรจะโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ เช่น ตะกร้าหรือกระจาด
การเก็บรักษา
- ในถุงพลาสติกควรเจาะรูไว้ หรือไม่ควรปิดปากถุงเพราะยังมีขบวนการหายใจมีไอน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ดอกเห็ดเน่าเสียเร็ว
- ควรเก็บไว้ในที่ร่มหากเก็บในตู้เย็นต้องบรรจุในถุงพลาสติกปิดปากถุงให้แน่น จะเก็บได้นานประมาณ 7 วัน
ปัญหาที่มักพบหลังการเปิดดอกและแนวทางแก้ไข
1. มีเชื้อจุลินทรีย์เจริญอยู่บนคอขวด หรือด้านบนของถุงก้อนเชื้อ
สาเหตุ
ห้องที่ใช้ต่อเชื้อไม่สะอาดพอ หัวเชื้อขาดความบริสุทธิ์
การแก้ไข
ปรับปรุงห้องต่อเชื้อให้สะอาดอยู่เสมอ
2. มีเชื้อจุลินทรีย์ขึ้นปะปนส่วนกลาง หรือส่วนล่างของถุง
สาเหตุ
ถุงมีรอยรั่วหรือรูรั่ว เนื่องจากคุณภาพถุงไม่ดีหรือของแหลมทิ่มตำ หรือมีมด แมลงเจาะ และการนึ่งฆ่าเชื้อไม่ดีพอ
การแก้ไข
ระวังอย่าให้เกิดรูรั่วในขณะขนย้าย หรือวางก้อนเห็ด กำจัดมดแมลงและเพิ่มเวลาในการนึ่งฆ่าเชื้อให้นานมากขึ้นกว่าเดิม
3. เกิดเชื้อราสีเขียวมะกอก
สาเหตุ
แมลงเจาะข้างถุง กัดกระดาษที่หุ้มและเจาะสำลีลงไป พร้อมนำเชื้อจุลินทรีย์อื่นเข้าไปด้วย เช่น ไรเจาะสำลีเข้าไปทำรังในก้อนเชื้อ และนำเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปแพร่ระบาดในก้อนเชื้อเห็ด
การแก้ไข
ทำความสะอาดโรงเรือน อย่าปล่อยให้เป็นแหล่งสะสมของแมลง
4. เชื้อเห็ดเดินในก้อนเชื้อเล็กน้อย เดินไม่เต็มก้อนเชื้อ และไม่เดินอีก
สาเหตุ
มีปุ๋ยหมักมากเกินไป มีน้ำไหลเยิ้มแสดงว่าเชื้อแบคทีเรียทำให้ก้อนเห็ดเสียหายได้ การนึ่งฆ่าเชื้อไม่ถูกต้อง เพราะหม้อนึ่งลูกทุ่งจะเป็นเพียงการฆ่าและชะงักการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดเท่านั้น
การแก้ไข
หลังการผสมปุ๋ยหมักแล้ว ก่อนบรรจุถุงควรปรับความชื้นให้เหมาะสมหากมีความชื้นสูงเกินไป โดยเกลี่ยปุ๋ยหมักผึ่งลม หรือใช้เวลานึ่งให้นานกว่าปกติเพื่อให้เชื้อแบคทีเรียตายทั้งหมด หรือเหลือน้อยที่สุด หากปุ๋ยหมักไม่ชื้นเกินไปเชื้อเห็ดสามารถเจริญแข่งกับเชื้อ แบคทีเรียได้
5. เชื้อเห็ดเจริญเต็มถุง แต่ไม่เกิดดอกเห็ด
สาเหตุ
ขาดความเอาใจใส่ในความสะอาดโรงเรือน แมลงหวี่จะกัดทำลายเส้นใยที่เดินเต็มถุงอยู่นั้น และหัวเชื้อเป็นเชื้ออ่อน ผ่านการต่อเชื้อมาหลายครั้งเชื้อเห็ดจึงไม่แข็งแรง
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
- วิธีการเพาะเชื้อเห็ดในอาหารเหลว พี.ดี.เอ. และขยายเชื้อ
- โรงเพาะเห็ดระบบ Evaporative ( EVAP )
- วิธีการเพาะเห็ดขอนขาว
- วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า ( เห็ดนางรมอินเดีย ) เห็ดนางฟ้าภูฐาน ( เห็ดนางรมภูฐาน หรือเห็ดภูฐาน )
- วิธีการเพาะเห็ดสกุลนางรม ( เห็ดนางฟ้า ) : ม. แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดหลินจือ ม.แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดยานางิ หรือเห็ดโคนญี่ปุ่น
- วิธีการเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ
- วิธีการเพาะเห็ดแครง
- วิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟางวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง แบบ กอง, โรงเรือน และ ในตะกร้า
- วิธีการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ หรือ เห็ดร่างแห
- วิธีการเพาะเห็ดแชมปิญอง หรือ เห็ดกระดุม
- วิธีการเพาะเห็ดเข็มทอง
- วิธีการเพาะขยายพันธุ์ เห็ดเผาะ หรือ เห็ดถอบ : ม.แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะ
- วิธีเพาะเห็ดนางรมหลวง หรือเห็ดออรินจิ
- วิธีการเพาะเห็ดหูหนูขาว หรือเห็ดแม่ไก่
- วิธีเพาะเห็ดหูหนูดำหลังขาว หรือเห็ดหูช้าง