คุณค่าทางโภชนาการ
- เห็ดเผาะ 100 กรัม
- ให้พลังงาน 47 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย
- น้ำ 85.7%
- โปรตีน 2.14%
- ไขมัน 0.39%
- คาร์โบไฮเดรต 8.40%
- แคลเซียม 0.038%
- ฟอสฟอรัส 0.083%
- ธาตุเหล็ก 0.004%
- วิตามิน 0.012%
การเตรียมหัวเชื้อเห็ดเผาะสำหรับใส่กล้าไม้ทำได้ 2 วิธี คือ
1. การเตรียมหัวเชื้อเห็ดในห้องปฏิบัติการ
- ดอกเห็ดสด
- แยกเชื้อจากดอกเห็ดเผาะ
- เพาะเชื้อเห็ดเผาะในอาหาร PDA
- การเลี้ยงเชื้อเห็ดเผาะในอาหาร PDB บนเครื่องเขย่า
- ตัวเนื้อเยื่อเห็ดถ้าเราใส่ลงไปในน้ำ
- มันจะไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ
- ต้องมีสารลดแรงตึงผิว เพื่อให้มันสามารถเกาะกับน้ำไม่ลอยขึ้นมา
- ซึ่งสารลดแรงตึงผิวที่คนทั่วไปสามารถหาได้ก็คือน้ำยาล้างจาน
- เราจะใส่ไปต่อขวดเพียง 2 – 3 หยด เท่านั้น
- แล้วทิ้งไว้ 2 – 3 คืน ให้สปอร์อิ่มน้ำ แล้วจึงสามารถนำไปเทราดตรงโคนต้นไม้ได้
2. การเตรียมหัวเชื้อเห็ดจากดอกเห็ดเผาะสด
- ดอกเห็ดแก่ 1 ส่วน : น้ำสะอาดปราศจากคลอรีน 2 ส่วน
- ปั่นส่วนผสมให้ละเอียด จะได้หัวเชื้อพร้อมใส่กล้าไม้
การเตรียมกล้าไม้สำหรับใส่เชื้อเห็ดเผาะ
- กลุ่มไม้วงศ์ยาง เช่น ยางนา, เหียง, พลวง, เต็ง, รัง และมะค่าโมง เป็นต้น
การเก็บเมล็ดสำหรับเพาะกล้าไม้
- คัดเลือกแม่ไม้ที่สมบูรณ์ ปลอดโรคและแมลงทำลาย
- ควรเก็บเมล็ดที่แก่สมบูรณ์ ปลอดโรคและแมลงทำลาย
การเพาะกล้าไม้
- วัสดุเพาะดินดำหรือดินร่วน 2 : แกลบดำ 1 : ปุ๋ยคอก 1
- ขนาดถุงเพาะชำ 2.5 x 9 นิ้ว
- กระตุ้นการเกิดรากของเมล็ดด้วยการแช่น้ำ โดยการหมักในกระสอบป่าน ให้รากงอกก่อนเพาะลงถุง
การใส่เชื้อเห็ดเผาะในกล้าไม้
- ใส่เชื้อเห็ดเผาะ 20 ม.ล. / ต้น เมื่อกล้าไม้อายุ 30 – 45 วัน
- ควรใส่ 2 ครั้ง ช่วงเวลาห่างกัน 15 – 30 วัน
การปลูกกล้าไม้
- ขุดหลุมลึก 2 เท่า ของถุงดินเพาะกล้าไม้
- รองพื้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ผสมคลุกกับหน้าดิน
- รดน้ำให้ชุ่ม ด้วยน้ำปราศจากคลอรีน
- คลุมดินด้วยเศษซากพืช
การดูแลต้นกล้าหลังปลูกและทำให้ออกเห็ด
- รดน้ำอยู่เสมอ
- คลุมดินด้วยซากพืช
- ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีสำหรับปราบศัตรูพืช
- ปีแรกจะออกดอกเห็ดน้อย
- ปีที่สองนำเชื้อมาราดซ้ำ
- ปีที่สามจะได้เห็ดมากมาย
วิธีการนำเชื้อไปราดที่ต้นไม้ใหญ่ที่โตแล้ว
- ต้นไม้ที่เห็ดเผาะจะขึ้นได้ดีที่สุดคือต้นยางนาและต้นพะยอม
- อีกทั้งตัวเชื้อราของเห็ดที่เกาะตามรากยังช่วยต้นไม้ย่อยสารอาหารโดยเฉพาะฟอสฟอรัสจากดินอีกด้วย
- สกุลไม้ยาง เช่น ยางนา ไม้เต็ง ไม้รัง และต้นพะยอม
- ไม้ที่เห็ดเผาะชอบที่สุดคือ ยางนา และต้นพะยอม
- ใช้จอบหรือเสียมไปแซะบริเวณรากฝอยที่บริเวณโดยรอบโคนต้นไม้ใหญ่
- แซะให้เกิดแผลเล็กน้อย ก่อนจะโรยเชื้อเห็ดลงไปที่บริเวณนั้น
- แล้วใช้ดินกลบใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ได้ผลแบบเดียวกับวิธีการแรกคือ
- ปีที่หนึ่งได้เห็ดน้อย พอเอาเชื้อมาราดซ้ำปีที่สามได้ผลผลิตมากเช่นเดียวกัน
การให้ผลผลิต ( ออกดอกเห็ด )
- ระยะเวลาในการเพาะเห็ดให้ออกดอกนั้นต้องใช้เวลา 3 ปี เป็นต้นไป
- โดยวิธีการที่ดีก็คือการราดเชื้อเห็ดลงไปที่โคนของต้นกล้าอายุ 1 ปี ที่เริ่มแข็งแรง 2 – 3 ครั้งต่อเดือน
- เมื่อต้นกล้าเริ่มแข็งแรงมีอายุ 2 – 3 ขวบ พอนำไปปลูกลงดิน
- เชื้อที่เราราดลงไปจะอยู่ในรากของต้นกล้า
- เมื่อเห็ดเผาะออกดอกแล้ว ถ้าได้รับการดูแลมันก็จะออกตลอดไป และมีจำนวนมากขึ้น
- ตราบอายุขัยของต้นไม้นั้นที่มันอยู่ด้วย
- มีโอกาสติดตามสถิติวิจัยถึง 97 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียวหากเพาะในเงื่อนไขที่ถูกต้องปีแรกให้ออกดอกเห็ดน้อย



วิธีเลือกเห็ดเผาะ หรือ เห็ดถอบ

เห็ดหนุ่มใส วัยกระเตาะ
เป็นช่วงอายุที่ผู้คนนิยมมากที่สุด เปลือกภายนอกสีจะออกขาว ๆ ไล่ไปจนถึงน้ำตาลอ่อน เมื่อลองบีบดูจะรู้สึกได้ถึงความบาง และมีความอ่อนนุ่ม กัดแล้วมีความกรุบเหมือนกระดูกอ่อน ด้านใน เนื้อจะเป็นสีขาว เนื้อนุ่ม ให้ความรู้สึกฟินแบบสุด ๆ เมื่อเคี้ยวแล้วเห็ดแตกไส้ในไหลอยู่ในปาก

เห็ดหนุ่มน้อย วัยว้าวุ่น
เห็ดช่วงนี้จะมีอายุมากกว่าเกณฑ์การเป็นเห็ดอ่อนไปไม่กี่วัน เปลือกภายนอกแทบจะเหมือนเห็ดอ่อนแทบทั้งหมด ด้านใน เริ่มมีการเปลี่ยนสี และมีความแข็งตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ความฟินตอนเคี้ยวจะลดลงเพราะไส้ในบางอันก็นุ่ม บางอันก็เริ่มแข็งตัว ในสองช่วงอายุนี้จะนิยมนำไปต้มเกลือ เพราะไส้ในมีความฉ่ำ

เห็ดหนุ่มใหญ่ วัยกร้านโลก
หลังจากพ้นช่วงเด็กน้อยมา 5 – 7 วัน เริ่มก้าวสู่ความเป็นหนุ่มเปลือกภายนอกสีจะเริ่มเข้มขึ้น มีความแข็งและความเหนียวเพิ่มขึ้นมาจากตอกแรกค่อนข้างเยอะ เมื่อลองบีบจะรู้สึกได้ถึงความยืดหยุ่นของเปลือกด้านใน เริ่มเปลี่ยนเป็นสีออกเทา ๆ ไปจนถึงดำสนิท แต่จะยังคงความชุ่มชื้นภายในเอาไว้อยู่ เพียงแต่เนื้อไม่เหลว กินแล้วไม่ค่อยฟิน

เห็ดพ่อเฒ่า วัยดึก
นับเป็นระยะสุดท้ายของเห็ดเปลือกภายนอกสีจะออกน้ำตาลดำเข้ม เมื่อเอานิ้วบีบลงไปจะสามารถรู้สึกถึงความแข็ง และเหนียวได้อย่างชัดเจน ด้านในมีความแห้ง เนื้อสีดำสนิท เมื่อเคี้ยวจะรู้สึกถึงเพียงความเหนียวของเปลือก แต่ไม่ได้ความฉ่ำของเนื้อในเหมือนช่วงอายุอื่น ๆ ในสองช่วงอายุนี้จะนิยมนำไปใส่แกง หรือคั่วเพราะมีเนื้อเหนียว

เมนูยอดนิยมของคนทางเหนือนั้นก็หนีไม่พ้น “เห็ดถอบต้มเกลือ” และ “คั่วเห็ดถอบใส่ยอดมะขาม”โดยกินพร้อมน้ำพริกอย่าง น้ำพริกข่า น้ำพริกตาแดง


เมื่อได้เห็ดถอบมาหากยังไม่ทำอาหาร แนะนำว่าอย่าเพิ่งล้างเพราะจะทำให้เห็ดเกิดการช้ำน้ำ และเสียได้ง่าย แต่ให้ห่อไว้ด้วยใบตอง หรือกระดาษหนังสือพิมพ์แล้วแช่ตู้เย็นไว้ หรืออาจจะล้างทำความสะอาด เอาดินที่ติดอยู่ออกมาให้หมด จากนั้นจึงนำไปต้มในน้ำเกลือ แล้วแช่ไว้ในช่องฟรีซเก็บไว้ก็ได้
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
- วิธีการเพาะเชื้อเห็ดในอาหารเหลว พี.ดี.เอ. และขยายเชื้อ
- โรงเพาะเห็ดระบบ Evaporative ( EVAP )
- วิธีการเพาะเห็ดขอนขาว
- วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า ( เห็ดนางรมอินเดีย ) เห็ดนางฟ้าภูฐาน ( เห็ดนางรมภูฐาน หรือเห็ดภูฐาน )
- วิธีการเพาะเห็ดสกุลนางรม ( เห็ดนางฟ้า ) : ม. แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดหลินจือ ม.แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดยานางิ หรือเห็ดโคนญี่ปุ่น
- วิธีการเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ
- วิธีการเพาะเห็ดแครง
- วิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟางวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง แบบ กอง, โรงเรือน และ ในตะกร้า
- วิธีการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ หรือ เห็ดร่างแห
- วิธีการเพาะเห็ดแชมปิญอง หรือ เห็ดกระดุม
- วิธีการเพาะเห็ดเข็มทอง
- วิธีการเพาะขยายพันธุ์ เห็ดเผาะ หรือ เห็ดถอบ : ม.แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะ
- วิธีเพาะเห็ดนางรมหลวง หรือเห็ดออรินจิ
- วิธีการเพาะเห็ดหูหนูขาว หรือเห็ดแม่ไก่
- วิธีเพาะเห็ดหูหนูดำหลังขาว หรือเห็ดหูช้าง