เห็ดเข็มเงิน เห็ดเข็มทอง อยู่ในตระกูลเดียวกัน แต่เดิมนั้นเกิดขึ้นเองบนตอไม้ผุในป่า ต่อมาได้นำมาเพาะเลี้ยงและพัฒนาการเพาะเลี้ยงมาเรื่อย ๆ ถือเป็นเห็ดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง เห็ดเข็มเงินหรือเห็ดเข็มทองมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาแตกต่างกันเล็กน้อย
คุณค่าทางโภชนาการ เห็ดเข็มทอง
- โปรตีน 31.2
- ไขมัน 5.8
- เยื่อใย 3.3
- เถ้า 7.6
สำหรับวิธีการเพาะเห็ดเข็มทองมีขั้นตอนคล้ายคลึงกับการเพาะเห็ดอื่นๆ คือ
การเตรียมเชื้อเห็ด
- นำเชื้อเห็ดมาเพาะเส้นใยเห็ดในอาหารวุ้นพีดีเอ
- และนำมาขยายเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่างที่ผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้ว
- ซึ่งเส้นใยเมล็ดเห็ดเข็มทองจะเจริญเต็มเมล็ดข้าวฟ่าง 100 กรัม ในเวลา 12 วัน
- หลังจากเชื้อเห็ดเจริญเต็มเมล็ดข้าวฟ่าง
- ก็ให้นำเมล็ดข้าวฟ่างมาลงวัสดุเพาะที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
วัสดุเพาะเห็ด
- ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 75 กิโลกรัม ( ทำการรดน้ำแล้วกองไว้จนมีน้ำสีใสไหลซึมออกมา )
- รำละเอียด 20 กิโลกรัม
- ข้าวโพดอบ บด 5 กิโลกรัม
- น้ำ 60 กิโลกรัม
- เชื้อเห็ด
- ขวดหรือโหลพลาสติกทนความร้อน
วิธีเพาะ
- ผสมวัสดุทั้งหมดนี้นำเข้าคลุกให้เข้ากันอย่างดี
- มีความชื้นร้อยละ 60 – 65
- นำอาหารที่เตรียมนี้ไปบรรจุที่ถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7 x 12 นิ้ว
- อาจบรรจุในถุงพลาสติกอัดได้ อัดให้แน่น ให้ได้ปริมาณอาหารถุงละ 600 กรัม
ใส่คอขวด ปิดจุกสำลี
นอกจากนี้อาจใช้ขวดพลาสติกทนความร้อนสูง มีลักษณะทั่วไปโดยประมาณดังนี้
- ความจุ 1 ลิตร
- ปากกว้าง 6 เซนติเมตร
- ใส่วัสดุเพาะหมัก 750 กรัม
- บรรจุขี้เลื่อยด้วยเครื่องบรรจุ พร้อมทั้งอัดและเจาะรูตรงกลางโดยอัตโนมัติ
- ปิดปากขวดด้วยฝาพลาสติก และจุกประหยัดสำลี
การนึ่งอาหาร
- ถุงอาหารขี้เลื่อยผสมที่เตรียมไว้แล้วนี้
- นำไปผ่านการฆ่าเชื้อ โดยนึ่งในหม้อนึ่งไม่อัดความดันอุณหภูมิประมาณ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง
- หรือนึ่งด้วยหม้อนึ่งอัดความดัน อุณหภูมิประมาณ 212 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 – 2 ชั่วโมง
การใส่เชื้อเห็ดเข็มทอง
- ถุงอาหารขี้เลื่อยผสม ซึ่งผ่านการนึ่งแล้วทิ้งไว้ให้เย็นลง
- นำมาใส่เชื้อเห็ดเข็มทองที่เจริญในเมล็ดข้าวฟ่าง ถุงละ 15 – 20 เมล็ด
- หลังจากนั้นให้นำขวดหรือถุงเพาะที่ใส่เชื้อเห็ดไปตั้งไว้ในห้องบ่มเชื้อ
การบ่มเชื้อ
- ห้องที่มีอุณหภูมิ อยู่ระหว่าง 18 – 21 องศาเซลเซียส
- ใช้เวลา 25 – 30 วัน เชื้อก็เจริญเต็ม
- เมื่อเชื้อเจริญเต็มขวดหรือถุง ให้เปิดฝาออกแล้วใช้สแตนเลสปลายแบนงอเหมือนช้อน ขุดเอาส่วนหน้าหรือส่วนที่เป็นเชื้อขี้เลื่อยออกให้หน้าเรียบ
- นำไปห้องเปิดดอกต่อไป
ห้องเปิดดอกที่ใช้ เครื่องปรับอากาศควบคุมอุณหภูมิ เพาะให้ออกดอก
- ห้องเปิดดอก อุณหภูมิที่ 10 – 15 องศาเซลเซียส แล้วแต่สายพันธุ์เห็ด
- ความชื้นร้อยละ 80 – 85
- ไม่ต้องให้แสงสว่าง รักษาอุณหภูมิและความชื้นให้สม่ำเสมอ
- ใช้เวลา 5 – 10 วัน เห็ดก็จะสร้างตุ่มดอก
- เปิดจุกสำลีออก เมื่อเกิดดอกเล็ก ๆ
- เริ่มให้แสงสว่าง และถอดคอขวดพลาสติกออก
- เลี้ยงต่อจนดอกเห็ดโผล่พ้นปากขวด 2 – 3 เซนติเมตร
- ก้านดอกจะชูหาแสงสว่าง ทำให้ก้านยาวและหมวกดอกโตอย่างสมบูรณ์
- ช่วงนี้ปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้นเป็น 16 – 18 องศาเซลเซียส
- หลังจากนั้นให้นำแผ่นพลาสติกหรือกระดาษห่อหุ้มปากขวดหรือปากถุงเป็นทรงกรวย
- เพื่อประคองให้ลำต้นขึ้นตั้งตรงเป็นกลุ่ม จนกระทั่งได้ดอกสูง 12 – 14 เซนติเมตร
เก็บเกี่ยวผลผลิต
- ก้านดอกเห็ดยาวประมาณ 9 – 14 เซนติเมตร
- หมวกดอกจะมีขนาด 1 – 2 เซนติเมตร
- จึงเอาพลาสติกออกเก็บดอกเห็ดโดยจับโคนดอกบิดดึงให้หลุดออกทั้งกอ เพราะบริเวณโคนดอกจะเชื่อมติดกันด้วยเส้นใยเห็ด
- เก็บดอกครั้งเดียวพอ เพราะดอกชุดต่อไปจะออกน้อย คุณภาพไม่ดีไม่คุ้มกับเวลาและค่าใช้จ่าย
- ระยะเวลาตั้งแต่สร้างตุ่มดอกจนถึงเก็บเห็ดได้ใช้เวลา 25 – 28 วัน
- ได้ผลผลิต 150 – 200 กรัมต่อขวด
- เห็ดเข็มทองจะเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นได้ไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยยังคงความสดของดอก และสีไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
- ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 บาท ( ต้นทุนครึ่งหนึ่งเป็นค่าไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ )
- เมื่อหักต้นทุนแล้วการจำหน่ายเห็ดเข็มทองจะได้กำไรจากการขายส่ง กิโลกรัมละ 20 – 40 บาท
ซึ่งเห็ดเข็มทองยังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกมาก
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
- วิธีการเพาะเชื้อเห็ดในอาหารเหลว พี.ดี.เอ. และขยายเชื้อ
- โรงเพาะเห็ดระบบ Evaporative ( EVAP )
- วิธีการเพาะเห็ดขอนขาว
- วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า ( เห็ดนางรมอินเดีย ) เห็ดนางฟ้าภูฐาน ( เห็ดนางรมภูฐาน หรือเห็ดภูฐาน )
- วิธีการเพาะเห็ดสกุลนางรม ( เห็ดนางฟ้า ) : ม. แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดหลินจือ ม.แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดยานางิ หรือเห็ดโคนญี่ปุ่น
- วิธีการเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ
- วิธีการเพาะเห็ดแครง
- วิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟางวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง แบบ กอง, โรงเรือน และ ในตะกร้า
- วิธีการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ หรือ เห็ดร่างแห
- วิธีการเพาะเห็ดแชมปิญอง หรือ เห็ดกระดุม
- วิธีการเพาะเห็ดเข็มทอง
- วิธีการเพาะขยายพันธุ์ เห็ดเผาะ หรือ เห็ดถอบ : ม.แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะ
- วิธีเพาะเห็ดนางรมหลวง หรือเห็ดออรินจิ
- วิธีการเพาะเห็ดหูหนูขาว หรือเห็ดแม่ไก่
- วิธีเพาะเห็ดหูหนูดำหลังขาว หรือเห็ดหูช้าง