การเพาะเห็ดหอมในถุงพลาสติก
การเพาะเห็ดหอมในถุงพลาสติกประสบความสำเร็จมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2521 เป็นวิธีการเลียนแบบธรรมชาติ โดยไม่ต้องใช้ท่อนไม้หรือใช้ไม้ที่ควรสงวนและรักษา ช่วยแก้ปัญหาการนำไม่ก็มาใช้เพาะเห็ดหอมได้อีกทางหนึ่ง โดยใช้หลักการที่ว่าเห็ดหอมสามารถย่อยเซลลูโลสและลิกนินได้ ขี้เลื่อยถือเปืนวัสดุที่ใกล้เคียงที่สุดจึงถูกนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยง
สูตร
- ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม
- รำข้าวละเอียด 5 – 8 กิโลกรัม
- น้ำตาลทราย 1 – 2 กิโลกรัม
- ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
- ยิปซั่ม 0.5 – 1 กิโลกรัม
- แคลเซียม 0.5 – 1 กิโลกรัม
- น้ำ 65 – 75 ลิตร
การเตรียมก้อนเชื้อ
- วัสดุเพาะที่ให้ผลดี คือไม้มะขาม รองลงมาคือขี้เลื่อยไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้จามจุรี หรือขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณหมัก วัสดุเพาะประกอบด้วย
- ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6.5 x 12.5 หรือ 7 x 13 นิ้ว และอุปกรณ์การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก เช่น คอขวด จุกประหยัดสำลี ยางรัด กระดาษไม่มีลาย
- หม้อนึ่งหรือถังนึ่งไม่อัดความดันพร้อมอุปกรณ์การให้ความร้อน ในการนึ่งฆ่าเชื้อซึ่งการฆ่าเชื้อก้อนเห็ดหอม จำเป็นต้องใช้อุณหภูมิที่สูงและระยะเวลาในการนึ่งยาวนานกว่าเห็ดชนิดอื่น
- เพื่อลดการปนเปื้อนเพราะเห็ดหอมมีการเจริญของเส้นใยช้า ถ้านึ่งฆ่าเชื้อไม่ดี ก็จะมีจุลินทรีย์อื่นปนเปื้อนในก้อนเชื้อเห็ดได้ง่าย
- หัวเชื้อเห็ดหอมในข้าวฟ่าง
- โรงเรือนบ่มเส้นใยเห็ดและโรงเรือนเปิดดอก
วิธีการเพาะ
- ผสมวัสดุเพาะและวัสดุเสริมทั้งหมดให้เข้ากันอย่าให้แห้งหรือแฉะ ให้วัสดุพอจับตัวกันได้
- เมื่อบีบดูไม่มีหยดน้ำ เมื่อคลายมือออกส่วนผสมต้องไม่แตกร่อนออกอย่างรวดเร็ว
- ให้มีความชื้นประมาณ 70-75%
- บรรจุส่วนผสมลงในถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 6.5×12.5 นิ้ว น้ำหนัก 0.8-1 กิโลกรัม
- อัดถุงให้แน่น ใส่คอขวด ปิดด้วยจุกประหยัดสำลี
- นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่งที่ความรู้อนประมาณ 98-100 องศาเซลเซียส
- เริ่มจับเวลาตั้งแต่ไอน้ำเดือดพุ่งตรงสม่ำเสมอเป็นเวลา 2-4 ชั่วโมง
- ต้องระวังระดับไอน้ำไว้ตลอดเวลาด้วย การปรับความร้อนให้มีอุณหภูมิคงที่เสมอตลอดเวลา
- ทิ้งไว้ให้เย็นนำก้อนเห็ดออกจากหม้อนึ่ง
- นำไปห้องปลูกเชื้อต่อไป
การปลูกเชื้อ
- ปลูกเชื้อเห็ดโดยการแกะฝาครอบออก เปิดจุกสำลี
- ใส่เชื้อเห็ดที่ทำจากเมล็ดข้าวฟ่าง
- ทำในห้องปลูกเชื้อที่สะอาด ควรทำในบริเวณที่สะอาดป้องกันการปนเปื้อนของโรค
- นำไปห้องบ่มเส้นใย
หมายเหตุ : ช่วงเวลาการปลูกเชื้อที่ดีที่สุดคือช่วงเช้าตรู่เพราะอากาศนิ่งมีการฟุ้งกระจายของเชื้อโรคน้อย
การบ่มเส้นใย
- การบ่มเส้นใยเห็ดหอมจะมีการบ่ม 2 ระยะ
- ระยะในฤดูกาลปกติจะบ่มเส้นใย นาน 4 เดือน ( ช่วงมิถุนายน – พฤศจิกายน )
- ระยะนอกฤดูกาลจะบ่มเส้นใยนาน 8 เดือน ( ธันวาคม – กรกฎาคม )
การกระตุ้นเห็ดหอมให้เกิดดอก
- เมื่อก้อนเชื้อมีอายุบ่มนาน 120 วัน แล้วถอดกระดาษที่ปิดบนจุกออก
- พร้อมทั้งถอดคอขวดพลาสติกออก แล้วดึงปากถุงพลาสติกให้ชูขึ้น เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้หน้าก้อนเชื้อเห็ดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลให้มากที่สุด จะใช้เวลาประมาณ 15 – 30 วัน
- เมื่อตรวจดูก้อนเชื้อเห็ดพบว่า หน้าก้อนเชื้อได้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
- ตัดปากถุงเสมอไหล่ของก้อนออกทิ้ง แล้วกรีดก้นถุงเพื่อระบายน้ำที่ขังอยู่ในก้อนเห็ดจำนวน 4 แผล โดยรอบทั้ง 4 มุม ยาวประมาณแผลละ 1 นิ้ว
- นำไปห้องเปิดดอกต่อไป
วิธีการทำให้ก้อนเชื้อออกดอกสามารถทำได้โดย
- แช่น้ำเย็น 10 – 15 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมงหรือ
- ใช้กระสอบป่านชุบน้ำแล้วนามาคลุมหน้าก้อนเห็ดประมาณ 24 ชั่วโมงหรือ
- ตบหน้าก้อนเชื้อเห็ดให้ได้รับการกระทบกระเทือนประมาณ 3 ครั้ง ด้วยแผ่นพลาสติกที่มีความยืดหยุ่น หรือคว่ำหน้าก้อนเห็ดลงบนพื้นทรายนาน 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นหงายหน้าก้อนเห็ดขึ้น
หมายเหตุ วิธีการกระตุ้นอาจใช้วิธีการใด วิธีการหนึ่งแล้วแต่ความสะดวก
หลังจากเลือกใช้วิธีกระตุ้นแล้วควรรดน้ำหน้าก้อนเชื้อให้ชุ่ม
- รดน้ำในก้อนเห็ดให้ชุ่มมากที่สุดประมาณ 1 วัน ห่างกันครั้งละ 1 – 2 ชั่วโมง
- หลังจากนั้นอีกประมาณ 2 – 3 วัน จะเริ่มมีตุ่มดอกเห็ดเกิดขึ้นและพัฒนาการเป็นดอกเห็ด
- สามารถเก็บเกี่ยวภายในระยะเวลา 4 – 5 วัน
- สังเกตจากเนื้อเยื่อของหมวกดอก เริ่มขาดจากก้านเห็ดประมาณ 20 – 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นระยะที่เห็ดมีคุณภาพที่สุด
- หลังจากเก็บผลผลิตรุ่นเสร็จแล้ว ให้พักก้อนเห็ดนาน 15 – 30 วัน แล้วกระตุ้นในรุ่นต่อไป โดยทำตามขั้นตอนที่กล่าวข้างต้น
- เห็ดหอมแต่ละก้อนจะเก็บได้ประมาณ 6 รุ่น และอาจเก็บผลผลิตดอกเห็ดหอมได้ 150 – 200 กรัมต่อก้อน
- ตั้งแต่ดอกแรกจนถึงดอกสุดท้าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ การปฏิบัติดูแลรักษาและสภาพแวดล้อมที่ก้อนเชื้อเห็ดได้รับในขณะนั้น
ตารางสรุปขั้นตอนการปฏิบัติและระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เห็ดหอมต้องการ


การเก็บเกี่ยวผลผลิต
- หลังจากการกระตุ้นเห็ดแล้วประมาณ 5 – 7 วัน จะเริ่มเก็บดอกเห็ดหอมได้
- โดยต้องเก็บดอกเห็ดในลักษณะยังตูมอยู่ คือขอบหมวกเห็ดแยกออกจากก้านดอกประมาณ 20 – 50 เปอร์เซ็นต์
- จับดอกเห็ดโยกไปมา แล้วหมุนจนดอกเห็ดหลุดจากหน้าก้อนเห็ด จากนั้นนำดอกเห็ดที่เก็บเกี่ยวได้ไปตัดแต่ง ตัดโคนทิ้ง ให้ก้านเห็ดยาวติดกับดอกประมาณ 2.5 เซนติเมตร แล้วนำไปคัดขนาดต่อไป
- ควรลดการให้น้ำก่อนเก็บผลผลิตเพราะจะเน่าเสียหายง่ายหากมีความชื้นในดอกเห็ดสูง
- การยืดอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้นสามารถทำได้โดยบรรจุในถุงพลาสติกเก็บในตู้เย็นได้นาน 3 – 4 สัปดาห์
- เห็ดหอมที่เพาะในประเทศไม่นิยมทำแห้งเพราะเป็นสายพันธุ์ทนร้อน มีน้ำหนักแห้งต่ำ เมื่อทำแห้งแล้วไม่ได้คุณภาพโดยเฉพาะสีของดอกเห็ดจะเป็นสีคล้ำไม่ได้รูปทรง
ข้อเสนอแนะในการเพาะเห็ดหอม
- การเพาะเห็ดหอมสามารถให้เห็ดออกดอกตลอดทั้งปีได้
- อาศัยการบ่มเส้นใยเห็ดที่ต่างกัน โดยปกติจะเริ่มผลิตก้อนเชื้อเห็ดในช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ถึงต้นฤดูหนาว ( เดือนพฤศจิกายน ) ในฤดูกาลนี้จะบ่มก้อนเชื้อนานประมาณ 4 เดือน ก็จะสามารถทำให้เห็ดออกดอกได้
- ส่วนการผลิตก้อนเชื้อในช่วงเดือนธันวาคม จนข้ามปีถึงเดือนกุมภาพันธ์ จะต้องมีการบ่มเส้นใยเห็ดเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวคือ ประมาณ 6 – 8 เดือน
- จึงจะสามารถเปิดดอกเห็ดได้ คือจะเปิดดอกเห็ดในช่วงเดือนสิงหาคม เป็นต้นไป
- เห็ดหอมเป็นเห็ดที่สามารถวางแผนการออกดอกเห็ดได้ตามเป้าหมาย โดยใช้เทคนิคการบังคับให้ออกดอกตามการกำหนด ซึ่งสามารถกำหนดผลผลิตที่ออกได้ ถ้าหากผลผลิตมีมากอาจชะลอไม่ให้ออกมามาก
- เห็ดหอมเป็นเห็ดที่สามารถเก็บรักษาผลผลิตในรูปเห็ดสดได้ยาวนาน โดยการเก็บไว้ในตู้เย็นหรือแช่ในถังน้ำแข็ง ก็สามารถชะลอในการเก็บรักษาได้ประมาณ 7 – 15 วัน จึงแก้ปัญหาเห็ดล้นตลาดได้ในบางช่วง
- เห็ดหอมเป็นเห็ดที่มีศักยภาพด้านราคาและการผลิตในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จึงเป็นโอกาสที่ดีของผู้เพาะเลี้ยงแต่มีข้อเสียคืออายุการบ่มก้อนเชื้อค่อนข้างนาน
- การจำหน่ายผลผลิตเห็ดหอมควรจำหน่ายในรูปเห็ดสดดีกว่า และไม่นิยมแปรรูปเป็นเห็ดแห้งเพราะว่าสายพันธุ์ที่ใช้เพาะในประเทศไทย ไม่เหมาะสมที่จะทำเป็นเห็ดแห้งเพราะว่ามีน้ำหนักแห้งต่ำเมื่อทำแห้งแล้วเห็ดจะมีสีดำและไม่คงรูปทรง
- เห็ดหอมเป็นเห็ดที่มีการจัดชั้นมาตรฐาน หรือการคัดเกรดตามขนาดของดอกเห็ดและต้องมีการตัดแต่งก้านเห็ดยาวติดกับดอกประมาณ 2 เซนติเมตร
- ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งของเห็ดหอม คือต้องมีการรีบเก็บดอกเห็ดก่อนที่ดอกเห็ดจะบานเพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียราคา
- ในการเก็บดอกเห็ดต้องเก็บดอกที่ยังตูมอยู่ค่อนข้างจะมีเวลาช่วงเวลาที่จำกัดเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวต้องใช้แรงงานในการเก็บให้ทัน
- เห็ดหอมเป็นเห็ดที่ใช้พื้นที่ในการตั้งวางในการบ่มก้อนเชื้อเห็ดมาก ไม่นิยมตั้งเรียงทับซ้อนกัน และการเปิดดอกเห็ดจะนิยมตั้งเรียงก้อนเห็ดบนพื้นของโรงเรือนเปิดดอก ไม่มีการเปิดดอกเห็ดบนชั้นวาง
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
- วิธีการเพาะเชื้อเห็ดในอาหารเหลว พี.ดี.เอ. และขยายเชื้อ
- โรงเพาะเห็ดระบบ Evaporative ( EVAP )
- วิธีการเพาะเห็ดขอนขาว
- วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า ( เห็ดนางรมอินเดีย ) เห็ดนางฟ้าภูฐาน ( เห็ดนางรมภูฐาน หรือเห็ดภูฐาน )
- วิธีการเพาะเห็ดสกุลนางรม ( เห็ดนางฟ้า ) : ม. แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดหลินจือ ม.แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดยานางิ หรือเห็ดโคนญี่ปุ่น
- วิธีการเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ
- วิธีการเพาะเห็ดแครง
- วิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟางวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง แบบ กอง, โรงเรือน และ ในตะกร้า
- วิธีการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ หรือ เห็ดร่างแห
- วิธีการเพาะเห็ดแชมปิญอง หรือ เห็ดกระดุม
- วิธีการเพาะเห็ดเข็มทอง
- วิธีการเพาะขยายพันธุ์ เห็ดเผาะ หรือ เห็ดถอบ : ม.แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะ
- วิธีเพาะเห็ดนางรมหลวง หรือเห็ดออรินจิ
- วิธีการเพาะเห็ดหูหนูขาว หรือเห็ดแม่ไก่
- วิธีเพาะเห็ดหูหนูดำหลังขาว หรือเห็ดหูช้าง