สูตรที่ใช้ในการเขี่ยเชื้อ เป็นสูตร RDA คือ
- ใช้มันฝรั่ง 200 กรัม น้ำสะอาด 1 ลิตร กลูโคส 20 กรัม ผสมกันแล้วต้มให้มันฝรั่งเปื่อย แล้วใส่ขวดแก้วทิ้งไว้ให้เย็น
- แล้วนำหมวกเห็ดมาเขี่ยสปอร์เชื้อเห็ดใส่
- นำมาวางไว้ในที่ร่ม ประมาณ 30 วัน
- อุณหภูมิที่ดีคือ ประมาณ 22-25 องศาเซลเซียส
- ถ้าอากาศหนาวเกินกว่านี้เชื้อจะเดินค่อนข้างช้ากว่าปกติ
- เมื่อเชื้อเดินดีแล้ว จึงนำมาเขี่ยใส่ขวดเพาะเชื้อ
- โดยใช้สูตร ข้าวฟ่างนึ่ง จนสุกดีแล้วนำมาผึ่งให้คลายร้อน
- แล้วบรรจุขวดเพียงครึ่งขวด รอให้เชื้อเดินจนเต็มที่
สูตรก้อนเห็ด
- ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 94 เปอร์เซ็นต์
- รำละเอียด 5 เปอร์เซ็นต์
- ปูนขาว 0.8 เปอร์เซ็นต์
- ดีเกลือ 0.2 เปอร์เซ็นต์
- ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำมาบรรจุถุง
- ขนาดของถุงที่บรรจุเชื้อเห็ดปกติแต่ใส่ในปริมาณแค่ 60 เปอร์เซ็นต์ คือประมาณ 500-600 กรัม
- ซึ่งถ้าใส่วัสดุจนเต็ม เชื้อเห็ดจะเดินช้ากว่าปกติ และมีโอกาสเป็นเชื้อราดำได้มาก
- เมื่อบรรจุถุงเสร็จแล้ว นำมาเก็บในอุณหภูมิประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส
- เมื่อเชื้อเห็ดเดินเต็มก้อนสามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน
- เพราะก้อนเห็ดที่เชื้อเดินเต็มแล้วจะไม่มีรารบกวน
การเพาะเห็ด
- วัสดุที่เตรียมเพาะเห็ดคือ มะพร้าวสับแช่น้ำให้ชุ่ม อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
- โรยชั้นล่างสุดของตะกร้า ขนาด 40 x 50 เซนติเมตร โรยสูงประมาณ 1 นิ้ว
- ส่วนชั้นที่สองให้โรยด้วยไม้ไผ่สับชิ้นเล็กๆ หรือเป็นขี้เลื้อยไม้เก่าก็ได้
- แต่ก่อนนำมาใช้ต้องแช่ด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์หรือน้ำหมักจาวปลวก 7 วัน
- นำมาโรยเป็นชั้นที่สอง หนาประมาณ 1 นิ้ว
- ส่วนชั้นสุดท้ายเป็นหน้าดินหมัก โรยหนาประมาณ 2 นิ้ว
- หน้าดินหมักที่ว่านี้จะต้องมีส่วนผสมตามสูตร
- คือ หน้าดินทั่วไปจำนวน 50 เปอร์เซ็นต์ ที่ผ่านการตากแดดจัดอย่างน้อย 5 วัน เพื่อกำจัดไข่แมลงหรือสัตว์ที่กัดกินเห็ดให้ตายให้หมด
- ขุยมะพร้าว 30 เปอร์เซ็นต์ ขี้วัว 20 เปอร์เซ็นต์ หมักน้ำจุลินทรีย์หรือใส่จุลินทรีย์ พด.1 ของกรมพัฒนาที่ดิน
- หมั่นกลับกองทุกวันจนไม่มีความร้อนจึงนำมาใช้ได้
- เมื่อโรยวัสดุในการเพาะเห็ดครบหมดแล้วก็รดน้ำให้ชุ่ม
- เอาเชื้อเห็ดตัดเป็นท่อนๆ ตามขวาง วางบนตะกร้า ตะกร้าละ 6 แว่น
- นำผ้าพลาสติกคลุม หรือถ้าเป็นตะกร้าก็ให้สวมด้วยถุงขยะดำ วางไว้ในที่ร่มหรือใต้สแลน 80 เปอร์เซ็นต์ และควรอยู่ในหลังคา
- ในระหว่างนี้ไม่ต้องรดน้ำ เพราะความชื้นที่รดไว้มีเพียงพอ
- ใช้เวลาประมาณ 20-25 วัน แล้วแต่สภาพอากาศ เส้นใยของเห็ดจะเริ่มเดินกระจายไปทั่วตะกร้า
- ก็จะเอาถุงดำหรือพลาสติกที่คลุมออก วางไว้ในที่ร่ม
- ในตอนนี้จะต้องรดน้ำเช้า-เย็น ด้วยหัวพ่นฝอยจะดีกว่ารดด้วยมือหรือสปริงเกอร์
- ในช่วงนี้อาจมีการโรยแกลบดิบหรือฟางข้าวเพื่อรักษาความชื้นบนหน้าดิน
- ในหน้าฝนให้โรยแค่บางๆ ส่วนหน้าร้อนจะต้องใส่มากหน่อย
- ในอุณหภูมิปกติจะใช้เวลาประมาณ 30-35 วัน
- หลังจากนี้ จะเกิดเป็นตุ่มเห็ดขนาดเท่าไข่จิ้งจก
- ใช้เวลาต่อจากนี้ไปอีก 15 วัน
- ก็จะโตเท่าไข่ไก่ เนื้อข้างในจะเป็นชั้นๆ เหมือนเห็ดตูมทั่วไป
- เห็ดที่มีขนาดเท่าไข่ไก่นี้สามารถนำไปทำเป็นอาหารได้หลายอย่างเหมือนกับเห็ดฟาง
- สามารถเก็บในตู้เย็นได้ไม่กี่วัน
- แต่เห็ดเยื่อไผ่ในขั้นตอนนี้ไม่มีการจำหน่ายโดยทั่วไป
- เนื่องจากยากแก่การขนส่ง แต่สรรพคุณในช่วงนี้เยอะมาก
- รออีกประมาณ 7-12 วัน เห็ดจะเจริญเติบโตไปเรื่อย จนหัวเห็ดจะดันหมวกเห็ดออกมา
- และจะโผล่ลำต้นที่เป็นร่างแหออกมา จึงจะเด็ดออกมาจากตะกร้า
- ในช่วงเวลานี้ที่เป็นเห็ดสดก็สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิดเช่นกัน
- เมื่อเก็บเห็ดออกมาแล้วก็จะนำไปตากแดดธรรมดา 1 แดด เพื่อลดความชื้นลง ก่อนนำไปใส่ตู้อบอีกครั้ง เพื่อให้เห็ดแห้ง ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นาน
- ในขั้นตอนการอบนี้ทางฟาร์มเห็ดจะไม่ควรใช้กำมะถันรมเพื่อให้มีสีขาวเหมือนของจากต่างประเทศ
- ซึ่งการรมกำมะถันจะเป็นอันตรายต่อการบริโภค ยกเว้นจะต้องล้างให้สะอาดด้วยน้ำหลายๆ ครั้ง
- เห็ดของฟาร์มที่เพาะด้วยวิธีนี้ จึงจะมีสีคล้ำกว่าเห็ดจากต่างประเทศ
- เพราะสาเหตุนี้ ถึงเห็ดจะเป็นสีคล้ำก็จริงเมื่อล้างและแช่น้ำแล้วก็จะขาวเหมือนปกติ
การเก็บวุ้นเห็ด
- การเก็บเอาวุ้นของเห็ด ก็จะต้องเก็บจากเห็ดก่อนที่เห็ดจะดันขึ้นมาจนเปลือกนอกแตก
- เพราะวุ้นจะเกิดระหว่างเปลือกชั้นแรกกับตัวดอก
- ซึ่งจะมีน้ำหนัก 1 ใน 3 ของน้ำหนักดอกสด
- ในธรรมชาติวุ้นจะทำหน้าที่เก็บความชื้นและป้องกันไม่ให้แมลงมากินดอก
- การเก็บจะเอามือค่อยๆ แกะเปลือกออก แล้วเอาช้อนขูดจนถึงเนื้อสีเหลือง แล้วนำไปแช่ช่องแช่แข็งรวบรวมไว้
- วุ้นนี้แหละจะนำไปทำผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีราคาค่อนข้างแพง แต่มีสรรพคุณมากมาย ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ทำจากวุ้นของเยื่อไผ่ เช่น เซรั่มเห็ดเยื่อไผ่ มีสรรพคุณป้องกันสิวฝ้า ผิวหน้าใสกระชับ สบู่ น้ำแร่เห็ดเยื่อไผ่ เจลทำความสะอาดเครื่องสำอาง
คุณค่าทางโภชนาการ
- โปรตีน 22.83 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 52.91 กรัม
- ไขมัน 1.45 กรัม
- ใยอาหาร 12.42 กรัม
กลุ่มเกลือแร่
- พบว่ามีแคลเซียม 51.05 กรัม
- เหล็ก 7.73 กรัม
- แมกนีเซียม 1.2 กรัม
- ซีลีเนียม 1.01 มิลลิกรัม
- สังกะสี 56.34 มิลลิกรัม
กลุ่มพวกวิตามิน
- วิตามินซี 23.30 มิลลิกรัม
- B2 0.63 มิลลิกรัม
- B3 0.63 มิลลิกรัม
- B5 2.61 มิลลิกรัม
- B7 0.01 มิลลิกรัม
- B9 0.02 มิลลิกรัม
- B12 0.005 มิลลิกรัม
กลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ
ได้แก่ วิตามินซี ซีลีเนียม สังกะสี มีส่วนป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งลำไส้ กลุ่มสารที่มีส่วนช่วยกระบวนการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ได้แก่ แคลเซียม และแมกนีเซียม
กลุ่มสารที่มีส่วนช่วยกระบวนการทำงานของสมองด้านการเรียนรู้ การจดจำ
ได้แก่ เหล็ก Folic ( วิตามิน B9 ) และวิตามิน B 12 อ้างอิงจาก คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย ( 2546 )
ทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน (Acute toxicity )
- ทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง ( Acute oral toxicity ) โดยสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตามหลักการของ OECD 420
- พบว่าหนูกลุ่มทดลองไม่แสดงอาการผิดปกติภายหลังได้รับตัวอย่างหนูทุกตัวมีชีวิตรอดครบกำหนด
และผลการผ่าซากชันสูตรไม่พบความผิดปกติของอวัยวะภายใน - ซึ่งอยู่ในระดับความปลอดภัยระดับที่ 5 โดยมีค่า LD 50 ที่ 5,000 mg/kg
- แสดงให้เห็นว่าเห็ดร่างแหสีขาว ไม่มีความเป็นพิษ และมีความปลอดภัยในการนำมาบริโภค
หมายเหตุ
- ราคาขายท้องตลาดเห็ดเยื่อไผ่สดเฉลี่ย 500 บาท / กก. ดอกแห้งเฉลี่ย กก.ละ 2,500 – 6,500 บาท การนำไปใช้ประโยชน์
- ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง จากการนำเมือกของเห็ดร่างแห ซึ่งมีสารพฤกษเคมี ได้แก่ คอลลาเจน และเอนไซม์ tyrosinase ซึ่งมีบทบาทช่วยกระตุ้นให้เซลล์ใต้ผิวหนังของร่างกาย ยับยั้งการผลิตเม็ดสี และคอลลาเจน เพิ่มความแข็งแรงให้แก่ผิว ซึ่งในการวิจัยนี้ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตเป็นเวชสำอาง
- ในส่วนของวัสดุที่เหมาะสมต่อการเกิดดอก เมื่อผ่านกระบวนการเก็บผลผลิตแล้ว ยังสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุปลูกให้แก่ พืชผักได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากมีอินทรียวัตถุ และสารอาหารที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
- วิธีการเพาะเชื้อเห็ดในอาหารเหลว พี.ดี.เอ. และขยายเชื้อ
- โรงเพาะเห็ดระบบ Evaporative ( EVAP )
- วิธีการเพาะเห็ดขอนขาว
- วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า ( เห็ดนางรมอินเดีย ) เห็ดนางฟ้าภูฐาน ( เห็ดนางรมภูฐาน หรือเห็ดภูฐาน )
- วิธีการเพาะเห็ดสกุลนางรม ( เห็ดนางฟ้า ) : ม. แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดหลินจือ ม.แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดยานางิ หรือเห็ดโคนญี่ปุ่น
- วิธีการเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ
- วิธีการเพาะเห็ดแครง
- วิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟางวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง แบบ กอง, โรงเรือน และ ในตะกร้า
- วิธีการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ หรือ เห็ดร่างแห
- วิธีการเพาะเห็ดแชมปิญอง หรือ เห็ดกระดุม
- วิธีการเพาะเห็ดเข็มทอง
- วิธีการเพาะขยายพันธุ์ เห็ดเผาะ หรือ เห็ดถอบ : ม.แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะ
- วิธีเพาะเห็ดนางรมหลวง หรือเห็ดออรินจิ
- วิธีการเพาะเห็ดหูหนูขาว หรือเห็ดแม่ไก่
- วิธีเพาะเห็ดหูหนูดำหลังขาว หรือเห็ดหูช้าง