เห็ดยานางิ หรือ เห็ดโคนญี่ปุ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pholiota cylindracea
ชื่อสามัญ เห็ดยานางิ / เห็ดโคนญี่ปุ่น ( Yanagi Matsutake )
การเพาะเห็ดยานางิ
ขั้นตอนการผลิตจะเป็นชนิดเดียวกับการเพาะเห็ดชนิดอื่น ที่มีขั้นตอนสำคัญทั่วไป ดังนี้
- การแยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์และเลี้ยงเส้นใยบนอาหารวุ้น
- การทำหัวเชื้อเห็ด
- การทำก้อนเชื้อ
- การทำให้เกิดดอกเห็ด และเก็บเกี่ยวผลผลิต
การทำก้อนเชื้อ
สำหรับสูตรอาหารผสมที่ใช้มีดังนี้
สูตรที่ 1
- ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม
- รำข้าวละเอียด 6 กิโลกรัม
- หินปูน ( แคลเซียมคาร์บอเนต ) 1 กิโลกรัม
- ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
- น้ำ 55 – 65 กิโลกรัม
- วัสดุเหล่านี้ผสมให้เข้ากันดีมีความชื้น 55 – 65 เปอร์เซ็นต์
- ความเป็นกรด เป็นด่าง pH 5 – 7
- ใช้บรรจุถุงได้เลย โดยไม่ต้องหมักไว้ก่อน
สูตรที่ 2
- ฟางข้าวสับขนาด 2 นิ้ว 100 กิโลกรัม
- หินปูน ( แคลเซียมคาร์บอเนต ) 2 กิโลกรัม
- รำข้าวละเอียด 5 – 8 กิโลกรัม
- น้ำ 60 – 65 กิโลกรัม
- สูตรนี้ต้องหมักไว้นาน 8 – 10 วัน โดยต้องกลับกองฟางหมักทุก 2 วัน จนไม่มีกลิ่นแอมโมเนีย
- ให้มีความชื้น 60 – 65 เปอร์เซ็นต์
ขั้นตอน
- การหมักก็ทำเช่นเดียวกับฟางหมักสำหรับเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดภูฐาน โดยใช้แบบไม้หมักในวันแรกเมื่อผสมคลุกเคล้าอาหารผสมน้ำ ( สูตรที่1 ) ให้เข้ากันแล้ว หรือหมักฟางข้าวและวัสดุอื่นๆ (สูตรที่ 2) จนเหมาะสม
- นำมาบรรจุลงถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7 X 12 นิ้ว หนา 0.12 มิลลิเมตร ให้มีน้ำหนักประมาณ 600 – 800 กรัม
- ใส่คอขวด จุกสำลีและหุ้มด้วยกระดาษ หรือใช้ฝาครอบพลาสติก+ จุกประหยัดสำลี
- นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันที่ความดัน 15 – 20 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว นาน 1 – 2 ชั่วโมง
- ถ้าเป็นหม้อนึ่งแบบลูกทุ่งใช้เวลา 2 – 3 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้เย็นใส่เชื้อจากหัวเชื้อเห็ด โดยเทเมล็ดข้างฟ่าง ซึ่งเส้นใยเห็ดเจริญคลุมอยู่ลงถุงอาหารผสม ถุงละ 15 – 20 เมล็ด ในห้องที่ไม่มีลมโกรก และสะอาดนำไปห้องบ่มเชื้อ
ห้องบ่มเชื้อ
ห้องที่มีอุณหภูมิประมาณ 25 – 30 องศาเซลเซียส จากการทดลองบ่มไว้ที่อุณหภูมิ 24 – 26 องศาเซลเซียส เส้นใยเห็ดจะเจริญเต็มถุง
อาหารผสมหนัก 800 กรัม โดยใช้เวลา 30 วัน หลังจากเส้นใยเดินเต็มแล้วให้พักถุงไว้อีก 15 วัน ก่อนนำไปห้องเปิดดอก
การทำให้เกิดดอกเห็ดและการเก็บเกี่ยว
เมื่อเส้นใยเห็ดเดินเต็มถุง สังเกตเห็นสีน้ำตาลเข้ม จึงย้ายก้อนเชื้อไปยังห้องเปิดดอกซึ่งมีอุณหภูมิประมาณ 24 – 30 องศาเซลเซียส และความชื้นต้องไม่ต่ำกว่า 75 – 80 เปอร์เซ็นต์
การเปิดดอกโดยถอดจุกสำลีออก นำถุงก้อนเชื้อมาวางเรียงไว้บนชั้นเพาะในโรงเรือนที่มีอากาศถ่ายเทได้ดีควรจะให้น้ำวันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าและบ่าย ที่ก้อนเชื้อและบริเวณภายในโรงเรือนเพื่อให้มีความชื้นสม่ำเสมอ
การเก็บดอกเห็ด
กระทำเมื่อกลุ่มดอกเห็ดโตเต็มที่ และที่สำคัญคือแผ่นเยื่อหุ้มหมวกส่วนล่างยังคงอยู่หรือยังไม่ฉีกขาด สามารถเก็บดอกเห็ดได้ 5 – 8 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 60 – 80 วัน จะได้ผลผลิตประมาณ 100 – 250 กรัมต่อถุง
รวมระยะเวลาการตั้งแต่การเตรียมเชื้อเห็ดบนอาหารวุ้นจนถึงเก็บเกี่ยวเสร็จ ประมาณ 130 – 145 วัน
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
- วิธีการเพาะเชื้อเห็ดในอาหารเหลว พี.ดี.เอ. และขยายเชื้อ
- โรงเพาะเห็ดระบบ Evaporative ( EVAP )
- วิธีการเพาะเห็ดขอนขาว
- วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า ( เห็ดนางรมอินเดีย ) เห็ดนางฟ้าภูฐาน ( เห็ดนางรมภูฐาน หรือเห็ดภูฐาน )
- วิธีการเพาะเห็ดสกุลนางรม ( เห็ดนางฟ้า ) : ม. แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดหลินจือ ม.แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดยานางิ หรือเห็ดโคนญี่ปุ่น
- วิธีการเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ
- วิธีการเพาะเห็ดแครง
- วิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟางวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง แบบ กอง, โรงเรือน และ ในตะกร้า
- วิธีการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ หรือ เห็ดร่างแห
- วิธีการเพาะเห็ดแชมปิญอง หรือ เห็ดกระดุม
- วิธีการเพาะเห็ดเข็มทอง
- วิธีการเพาะขยายพันธุ์ เห็ดเผาะ หรือ เห็ดถอบ : ม.แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะ
- วิธีเพาะเห็ดนางรมหลวง หรือเห็ดออรินจิ
- วิธีการเพาะเห็ดหูหนูขาว หรือเห็ดแม่ไก่
- วิธีเพาะเห็ดหูหนูดำหลังขาว หรือเห็ดหูช้าง