เชื้อเห็ดนางรมหลวงสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอาหารเลี้ยงเชื้อในอาหารเหลว ( วุ้น ) พี.ดี.เอ.ทั่วไป
แต่ต้องการอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็นประมาณ 25 องศาเซลเซียส และเลี้ยงขยายเชื้อได้ดีในเมล็ดข้าวฟ่างเช่นเดียวกับเห็ดชนิดอื่น ๆ
ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน ( ยางพารา ) หรือผสมกับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ซังข้าวโพดบด ต้นไมยราบบด ใช้เป็นวัสดุเพาะหลัก โดยผสมกับอาหารเสริม เช่น รำข้าว รากมอลต์ เมล็ดข้าวฟ่างบด น้ำตาลทรายแดง
วัสดุเพาะเชื้อเห็ด
- ขี้เลื่อย 100 กก.
- รำละเอียด 8 กก.
- น้ำตาลทรายแดง 1 กก.
- ปูนขาว 1 กก.
- แคลเซียมคาร์บอเนต 1 กก.
อุปกรณ์ที่ใช้เพาะเห็ด
- เครื่องผสม ( ผสมได้ครั้งละประมาณ 100 – 200 กก. ) หรือใช้แรงงานคนผสม
- เครื่องอัดถุง ( 1, 2, 8, 12 หัว ) หรือใช้แรงงานคนอัดกระแทก
- ตู้หม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง ( ขนาด นึ่ง 2,000 ก้อนต่อครั้ง ) มีหลายขนาด
- ถุงพลาสติกสำหรับบรรจุก้อนเชื้อเห็ด ขนาด 6.5 x 11.5 นิ้ว
- หรือขวดพลาสติกปากกว้างขนาดความจุ 1 ลิตร
- คอขวดพลาสติกสำหรับสวมที่ปากถุงก้อนเชื้อเห็ด
- จุกประหยัดสำลี
- หนังยางรัดถุง
- ถาดหรือโครงเหล็กสำหรับยกก้อนเพาะเห็ด ( 12 ก้อน / ถาด )
- ที่ตักวัสดุเพาะเห็ดกรอกถุง ประยุกต์จากขวดน้ำตัดก้นใส่ไม้ทำด้ามจับ
- เครื่องอัดถุงเพาะเห็ดหรือใช้แรงคนกรอก อัดกระแทกเพื่อให้แน่น
- แท่งสแตนเลส ( Stainless Steel ) ตีหัวให้แบน ขนาดสอดใส่เข้าไปแคะในขวดหัวเชื้อได้ ( ขนาดขวดประมาณขวดโซดา )
- ตะเกียงแอลกอฮอล์
- สเปรย์แอลกอฮอล์ 70% สำหรับพ่นฆ่าเชื้อมือและอุปกรณ์ ( แอลกอฮอลส์ 70% ใส่ในขวดพ่นสเปรย์ )
อุปกรณ์ระบบน้ำ
- ปั๊มพ่นหมอกแรงดันต่ำ
- เซนเซอร์อุณหภูมิ ความชื้น
วิธีเพาะเห็ด
- ขี้เลื่อยไม้ยางพาราหรือฟางข้าว ( ขี้เลื่อยไม้ใช้ได้ทุกไม้ ยกเว้นไม้สักเพราะจะมีพิษกับเห็ด )
- เห็ดสกุลนางรมชอบค่า pH 6.5 – 6.7
- เทส่วนผสมทั้งหมดลงเครื่องผสม หรือผสมด้วยแรงงานคน
- เมื่อส่วนผสมเข้ากันแล้วให้เติมน้ำผสมเพื่อให้มีความชื้น 70 – 75%
- เมื่อบีบดูต้องชื้น แต่จะไม่มีน้ำไหลออกมา ( เพราะจะแปลว่าชื้นเกิน )
- กรอกวัสดุเพาะเชื้อที่ผสมเข้ากันแล้วใส่ถุง 100 ก้อน ใช้เวลาประมาณ 40 นาที ( น.น. 0.8 – 1 กก. / ก้อน )
- ปิดฝาด้วยฝาขวดพลาสติก และจุกประหยัดสำลี
- นำเข้าตู้หม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง อบฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส
- จะใช้เวลานึ่ง 4 – 6 ชม.
ห้องปลูกเชื้อ
- เมื่ออุณหภูมิลดลงหลังจากการนึ่งแล้ว นำมาห้องปลูกเชื้อ ( ต้องไม่มีลมโกรก ไม่มีอากาศไหลผ่าน ต้องเป็นห้องปลอดเชื้อ )
- ใช้แท่งสแตนเลส ( Stainless Steel ) ตีหัวให้แบนเพื่อใช้แคะหัวเชื้อในขวด ต้องทำให้เชื้อแตกร่วน
- โดยก่อนแคะต้องชุบแอลกอฮอล์และเผาไฟ เพื่อฆ่าเชื้อแท่งสแตนเลส
- ต้องพ่นแอลกอฮอล์ที่มือ เพื่อฆ่าเชื้อที่มือให้สะอาด ต้องจับก้นขวดไว้เพื่อไม่เพื่อไม่ให้ร้อนมือ
- นำปากขวดหัวเชื้อผ่านเปลวไฟฆ่าเชื้อโดยการเปิดฝาแล้วเผาไฟวนรอบๆ ปากขวดหัวเชื้อเห็ด ( เมล็ดพันธุ์พืช ) หลายๆรอบ ทันทีที่เปิดจุกฝาหัวเชื้อ เพื่อฆ่าเชื้อโรค
- เปิดจุกถุงเพาะเห็ดหยอดหัวเชื้อแล้ว รีบปิดทันทีเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้า โดยใช้เพียงแค่ 2 นิ้วจับ สัมผัสให้น้อยที่สุด อย่าให้หัวเชื้อโดนมือ ( ต้องระวังไม่กุมครอบไว้ทั้งหมด )
- 1 ขวดหัวเชื้อเห็ด ( อยู่ในเมล็ดธัญพืช ) จะใส่ถุงก้อนเพาะเชื้อเห็ดได้ 50 – 60 ถุง
- หลังจากนั้นเปิดฝาจุกประหยัดสำลีออก ปิดกระดาษ จะต้องใช้กระดาษ Proof ไม่มีลาย ตัดสี่เหลี่ยมขนาดพอเหมาะกับการปิดฝาขวด รัดด้วยยางทันที
ห้องบ่มเชื้อเห็ด
- นำเข้าห้องบ่มเชื้อเส้นใยเห็ด อุณหภูมิ 22 – 25 องศาเซลเซียส
- ประมาณ 30 วัน เชื้อเห็ดจะเจริญเต็มขวด
- เลี้ยงเชื้อต่ออีกประมาณ 10 วัน เพื่อให้เชื้อเจริญเติบโตเต็มที่
- จึงนำเข้าโรงเปิดดอกต่อไป
- ห้องผสม + นึ่ง > ห้องปลูกเชื้อ > ห้องบ่มเชื้อ > ห้องเปิดดอก
ห้องเปิดดอกเห็ด
- รักษาอุณภูมิห้องที่เปิดดอกประมาณ 15 – 20 องศาเซลเซียส
- ความชื้น 80 – 90%
- เราจะเปิดจุกกระดาษออกก็ต่อเมื่อเห็นว่าประชากรทั้งหมด มีดอกเห็ดดันออกมาจากกระดาษ คิดเป็นอัตราส่วนประมาณ 3 – 5%
- หรืออาจจะมีดอกเห็ดเล็กๆ เกิดขึ้นที่หน้าก้อนเชื้อเห็ด ( ขนาดประมาณปลายนิ้วชี้ )
- อันนี้เป็นระยะแรกในการฟอร์มดอกเห็ด โดยเส้นใยทั้งหมดจะรวมกันเป็นดอกเห็ดเกิดขึ้น เริ่มจากดอกเล็กๆ
- หลังจากนั้นเห็ดจะมีการพัฒนาในระหว่างที่เราพ่นน้ำให้ความชื้น พ่นน้ำละอองฝอย 3 ครั้ง / วัน
- ระยะเวลาตั้งแต่เปิดขวดจนถึงเก็บเกี่ยวจะใช้เวลาประมาณ 15 วัน
- เราจะเลือกเก็บดอกที่โตเต็มที่แต่ยังไม่บาน หรือยังไม่แก่
วิธีการเก็บผลผลิต
- วิธีเก็บด้วยมือจับเข้าไปที่เห็ด โยกซ้าย – ขวา และหมุนเล็กน้อย จากนั้นดึงเห็ดออกมา เก็บไปเรื่อยๆ ทุกวัน
- จะเก็บเห็ดได้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 100 – 150 กรัมต่อขวด
- โดยทั่วไปจะทำการเก็บเห็ดเพียงรุ่นเดียว
- จะเก็บเห็ดรุ่นแรกแล้ว นำวัสดุเพาะเห็ดไปทำปุ๋ย
- เพราะเห็ดรุ่นที่สองคุณภาพไม่ดี มีขนาดเล็กและน้ำหนักน้อย ได้ผลไม่คุ้มกับเวลาและค่าใช้จ่ายที่เสียไป
ส่วนเมนูที่ได้รับความนิยม เห็ดย่าง เห็ดผัดพริกไทยดำ เห็ดผัดน้ำมัน เห็ดเป๋าฮื้อน้ำแดง เห็ดชุบแป้งทอด เป็นต้น
- แม้ว่ากำลังการผลิตจะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด
- แต่การเพิ่มกำลังการผลิต ก็คงต้องวางแผนอย่างระมัดระวัง
- เพราะการเพิ่มกำลังการผลิตต้นทุนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
- ซึ่งการที่รายอื่นๆ จะหันมาผลิต ก็คงจะต้องคิดหนัก เพราะต้นทุนที่ค่อนข้างสูง
- โดยยังไม่สามารถหาวิธีการเพาะเลี้ยงในระบบเปิดได้
- ถ้าเลี้ยงในระบบเปิดได้ คงจะมีการเลี้ยงอย่างแพร่หลาย และราคาก็จะถูกลง
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
- วิธีการเพาะเชื้อเห็ดในอาหารเหลว พี.ดี.เอ. และขยายเชื้อ
- โรงเพาะเห็ดระบบ Evaporative ( EVAP )
- วิธีการเพาะเห็ดขอนขาว
- วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า ( เห็ดนางรมอินเดีย ) เห็ดนางฟ้าภูฐาน ( เห็ดนางรมภูฐาน หรือเห็ดภูฐาน )
- วิธีการเพาะเห็ดสกุลนางรม ( เห็ดนางฟ้า ) : ม. แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดหลินจือ ม.แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดยานางิ หรือเห็ดโคนญี่ปุ่น
- วิธีการเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ
- วิธีการเพาะเห็ดแครง
- วิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟางวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง แบบ กอง, โรงเรือน และ ในตะกร้า
- วิธีการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ หรือ เห็ดร่างแห
- วิธีการเพาะเห็ดแชมปิญอง หรือ เห็ดกระดุม
- วิธีการเพาะเห็ดเข็มทอง
- วิธีการเพาะขยายพันธุ์ เห็ดเผาะ หรือ เห็ดถอบ : ม.แม่โจ้
- วิธีการเพาะเห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะ
- วิธีเพาะเห็ดนางรมหลวง หรือเห็ดออรินจิ
- วิธีการเพาะเห็ดหูหนูขาว หรือเห็ดแม่ไก่
- วิธีเพาะเห็ดหูหนูดำหลังขาว หรือเห็ดหูช้าง